จำนวนผู้เข้าชม

หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554

10 ที่เที่ยวในหน้าหนาวของไทย (ภาคเหนือ)




1. อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ชื่อนี้มักจะเป็นติดอันดับต้นๆ ของการท่องเที่ยว เดิมชื่อว่า ดอยหลวง หรือ ดอยอ่างกา ดอยหลวง หมายถึงภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่า ดอยอ่างกานั้น เพราะมีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือน
2. ดอยอ่างขาง เป็นที่ตั้งสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ภายในสถานีมีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ แปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว สวนบอนไซ มีการจำหน่ายผลิตผลพืชผักเมืองหนาวที่ปลูก ในบริเวณโครงการฯ ให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาล ในสถานีฯ มีที่พัก และมีสถานที่กางเต็นท์บริการแก่นักท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ อ่างน้ำ มีฝูงกาไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา หรือ ดอยอ่างกา
3. เขาค้อ – อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ เป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ชื่อว่าเขาค้อเป็นเพราะ ป่าบริเวณนี้มีต้นค้อขึ้นอยู่มาก เนื่องจากภูมิอากาศบนเขาค้อเย็นตลอดปี ค่อนข้างเย็นจัดในฤดูหนาว และมีทัศนียภาพสวยงาม จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่ง ของเพชรบูรณ์ สถานที่น่าสนใจบนเขาค้อได้แก่ อนุสาวรีย์จีนฮ่อ ฐานอิทธิเจดีย์ พระบรมสารีริกธาตุเขาค้อ หอสมุดนานาชาติเขาค้อ พระตำหนักเขาค้อ น้ำตกศรีดิษฐ์ สวนสัตว์เปิดเขาค้อ และเนินมหัศจรรย์ หมู่บ้านคุ้มจุดชมวิวกิ่วลม หมู่บ้านนอแล และหมู่บ้านขอบด้ง หมู่บ้านหลวง
4. อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ด้วยสภาพอากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปี มีเทือกเขาและภูเขาสูง สลับซับซ้อน ครอบคลุมอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภูเขาที่สูงที่สุด คือ ดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย ฤดูหนาวอากาศเย็น ลมแรง
5. ภูชี้ฟ้า-ผาตั้ง จ.เชียงราย ภูชี้ฟ้า เป็นจุดชมวิวทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง มีลักษณะเป็นยอดเขาที่แหลมชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้า ยิ่งตอนที่พระอาทิตย์กำลังขึ้นมาตรงระหว่างปลายยอดเขา จะดูเหมือน เสือคาบแก้วมาก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,628 เมตร ส่วนของหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว
6. อุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยมมากแห่งหนึ่ง ของเมืองไทย เพราะมีสภาพธรรมชาติสมบูรณ์ประกอบด้วยระบบนิเวศและ ภูมิประเทศหลากหลาย ทั้งทุ่งหญ้า ป่าสนเขา ป่าดิบ น้ำตกและ หน้าผาชมทิวทัศน์ ลักษณะเด่นของอุทยานฯ แห่งนี้คือเป็นภูเขาหินทราย ยอดตัด เป็นที่ราบขนาดใหญ่คล้ายใบบอนหรือรูปหัวใจ มีเนื้อที่ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร มีความสูง 400-1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จุดท่องเที่ยวประทับใจได้แก่ ผานกแอ่น ผาหล่มสัก ผาหมากดูด น้ำตกเพ็ญพบ น้ำตกถ้ำสอเหนือ-ใต้ สระอโนดาด เป็นต้น
7. อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตั้งอยู่บนรอยต่อของสามจังหวัดคือ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย ไร่ภูหินร่องกล้ามียอดเขาสูง 1,617 เมตร มีทิวทัศน์สวยงาม ปกคลุมด้วยป่าเต็งรังป่าดิบเขา และป่าสนเขา มีสนสองใบและสนสามใบ ขึ้นปะปนกัน และพบกล้วยไม้ดอกไม้ป่าหลายชนิดขึ้นอยู่ตามลานหิน เคยเป็นศูนย์กลางที่ตั้งฐานที่มั่นการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ใหญ่ และสำคัญที่สุดของภาคเหนือ จุดที่น่าสนใจ ลานหินปุ่ม ลานหินแตก น้ำตกหมันแดง เป็นต้น
8. ทุ่งบัวตองดอยแม่อูคอ – ดอยแม่เหาะ จ.แม่ฮ่องสอน ดอยแม่อูคอ เป็นทุ่งดอกบัวตองที่มีพื้นที่ครอบคลุมเป็นเขากว้าง ประมาณ 1 พันไร่ ดอกบัวตองที่นี่เมื่อบานพร้อม ๆ กันในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม จะเหลืองอร่ามปกคลุมทั่วทั้งภูเขา ดอยแม่เหาะ อยู่ริมทางหลวงหมายเลข 10-8 ตรงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 84 เขตตำบลแม่เหาะ เป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัดแม่ฮ่องสอน บริเวณนี้ มีภูมิประเทศที่งดงาม มีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง อยู่เป็นส่วนมาก ในเดือนพฤศจิกายน ถึงธันวาคม ของทุกปี ดอกบัวตอง หรือทานตะวันป่า จะบานสะพรั่ง ไปทั่วหุบเขา สวยงามมากทีเดียว
9. อุทยานแห่งชาติภูเรือ เป็นภูเขาสูงใหญ่ บนยอดเขาเป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีต้นสนขึ้นสลับซับซ้อน มีลักษณะแปลกคือ มีส่วนหนึ่งเป็นผา ชะโงกยื่นออกมาเหมือน หัวเรือสำเภาใหญ่ อุทยานแห่งชาติภูเรือ จุดที่น่าสนใจบนอุทยานได้แก่ ผาโหล่นน้อย ภูผาสาด และทะเลภูเขา ผาซับทอง หรือ ผากุหลาบขาว เป็นหน้าผาสูงชัน และแหล่งน้ำซับที่มีพืชน้ำไลเคนสีเหลืองคล้ายสีทอง ขึ้นเต็มไปทั่ว น้ำตกห้วยไผ่ เป็นน้ำตกที่ไหลจากหน้าผาสูงชัน ยอดภูเรือ เป็นจุดสูงสุดในอุทยานฯ สามารถมองเห็น แม่น้ำเหืองและแม่น้ำโขงที่กั้นพรมแดนระหว่างไทย-ลาว
10. อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงที่ป่าปกคลุมอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี การเดินทางขึ้นดอยค่อนข้างลำบาก แต่เมื่อขึ้นไปถึงแล้วจะพบดอกไม้ป่า พันธุ์ต่าง ๆ เช่น ดอกหงอนนาค ดอกไม้ดินต่าง ๆ สวยงามมาก แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่น้ำตกภูสอยดาว และลานสน


โครงการฝนหลวง

ประวัติ
เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ. 2498 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรและเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง"(Artificial rain) ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้วยความสำเร็จของ โครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นในปี พ.ศ. 2518 ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไป
การทำฝนเทียมหรือฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า ใช้เครื่องบินบรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของเมฆและสภาพทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อนชื้นปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม กล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้นที่ระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศจะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง หากอุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอก็จะทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว จะเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว เกิดเป็นฝนตกลงมา ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้จึงประกอบด้วย "สูตรร้อน" ใช้เพื่อกระตุ้นเร่งเร้ากลไกการหมุนเวียนของบรรยากาศ, "สูตรเย็น" ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้กระตุ้นกลไกระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น


อ้างอิง
1 โครงการพระราชดำริฝนหลวง

2 สำนักฝนหลวงและกองบินการเกษตร
3 กองการบินทหารเรือ

เศรษฐกิจพอเพียง

จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้องการต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี

พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นงคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ คือ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว แต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
เศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี



10 วิธีเลิกเหล้า

1. ตั้งใจจริง การเลิกเหล้าไม่ใช่เรื่องยาก ถ้ามีความตั้งใจความสำเร็จย่อมไม่ไกลเกินเอื้อม
2. ตั้งเป้าว่าจะเลิกเหล้าเพื่อใคร เพราะเหตุใด เช่น เพื่อพ่อแม่...เพราะการดื่มเหล้าของเราทำให้พ่อแม่ไม่สบายใจเพื่อตัวเอง... จะได้มีสุขภาพดีแถมมีเงินเก็บมากขึ้น เพื่อลูกและครอบครัว...เพราะเหล้า เข้าปากทีไร เป็นต้องทะเลาะกันทุกที ถ้าเลิกเหล้าก็คงทะเลาะกันน้อยลงครอบครัวจะได้มีความสุข มีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น...เป็นต้น
3. หยุดทันที! คนที่มีแนวคิดว่าเพียงแค่ดื่มเพื่อความสนุกสนานหรือต้องการเข้าสังคม เมื่อตั้งใจที่จะเลิกเหล้า ก็ต้องพยายามหักห้ามใจ และหยุดดื่มทันที
4. ปรับเปลี่ยนนิสัยการดื่ม สำหรับคนที่เคยดื่มเหล้าเป็นประจำอาจเลิกทันทีได้ยาก ให้ลองใช้วิธีดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจช่วยให้ดื่มเหล้าน้อยลงได้ เช่น ดื่ม เหล้าพร้อมกับการรับประทานอาหาร หรือ หมั่นดื่มน้ำเปล่าควบคู่ไปด้วยระหว่างการดื่มเหล้า เปลี่ยนขนาดของแก้ว จากแก้วใหญ่เป็นแก้วเล็กดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่ำกว่าทดแทนไปก่อนใน ระยะแรก
5. ตั้งเป้าว่าจะลดปริมาณการดื่ม เช่น จากที่เคยดื่มวันละ 8 แก้ว ก็อาจจะลดปริมาณการดื่มลงไปเรื่อยๆ จนเหลือวันละ 1 แก้ว และไม่ดื่มเลยแม้แต่แก้วเดียวในที่สุด
6.หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ ความเสี่ยงในที่นี้คือ สถานการณ์หรือสถานที่ตลอดจนปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เราดื่มเหล้าได้ง่ายขึ้น ได้แก่ ช่วงเวลาหลังเลิกงาน วันเงินเดือนออก วาระหรือโอกาสพิเศษต่างๆ การไปเที่ยวผับหรือร้านอาหาร สถานบันเทิง การชักชวนจากกลุ่มเพื่อนที่ดื่มจัด รวมถึงสาเหตุต่างๆ ที่นำไปสู่อาการเหน็ดเหนื่อย ทดท้อ เหงา เศร้า เครียด ฯลฯ
7. เมื่อมีเวลาว่าง ให้ทำกิจกรรมอื่นที่สร้างสรรค์แทนการดื่มสังสรรค์ ทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพหลังเลิกงาน เช่น ออกกำลังกาย - เล่นกีฬาฉลองวาระพิเศษต่างๆ ด้วยแนวปฏิบัติแบบใหม่ เช่น ไปทำบุญแทนการดื่มเมื่อรู้สึกเหงา เศร้าหรือเครียด ให้หากิจกรรมสร้างสรรค์และจรรโลงจิตใจทำทันที อาทิ อ่านหนังสือ ฟังเพลง ชมภาพยนตร์ ตลอดจน เล่นกีฬา ฯลฯ
8. ฝึกปฏิเสธให้เด็ดขาด เช่น ถ้าเพื่อนคะยั้นคะยอให้ดื่ม ให้บอกเค้าไปว่า " หมอห้ามดื่ม , ไม่ว่างต้องไปทำธุระ ฯลฯ..."
9. หาที่พึ่งทางใจรวมถึงหากำลังใจจากคนรอบข้าง เช่น พ่อแม่ คนรัก ลูก หรือเพื่อนสนิท ที่สามารถปรึกษาหารือให้คำแนะนำดีๆ แก่เราได้ และพร้อมให้ความช่วยเหลือเมื่อเราต้องการ นอกจากนี้การพูดคุยหรืออ่านประสบการณ์ของคนที่เลิกเหล้าสำเร็จ ก่อนจะพบกับความสวยงามของชีวิตย่อมช่วยสร้างกำลังใจให้กับเราได้มากอย่างที เดียว
10.ปรึกษาหน่วยงานช่วยเหลือ หากไม่สามารถเลิกเหล้าด้วยตัวเองควรปรึกษาหน่วยงานช่วยเหลือดังต่อไปนี้

วิธีเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง

1. สร้างแรงจูงใจ
· คิดถึงโทษของบุหรี่ในระยะสั้น และยาว
· คิดถึงผลดีต่อสุขภาพเมื่อหยุดบุหรี่
· คิดถึงครอบครัว โดยเฉพาะบุตรธิดา หรือบิดามารดา
2. กำหนดวันงดบุหรี่
ควรหาวันสำคัญของศาสนา หรือของครอบครัว ควรเป็นระยะ 1-2 สัปดาห์แรกของการเริ่มมีความคิดตั้งใจมั่น
3. ปฏิบัติการฉับไว
: งดบุหรี่แบบหักดิบ ได้ผลสำเร็จมากกว่าแบบค่อยๆ ลด
4. การเตรียมตัว
เตรียมสิ่งแวดล้อมในบ้านให้มีบรรยากาศปลอดบุหรี่ ได้แก่ให้เก็บบุหรี่และภาชนะหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ ( ไม้ขีดหรือไฟแช็ก, ถาดรองขี้เถ้าบุหรี่)ไม่ให้อยู่ในสายตาทำความสะอาดบ้านและห้องทำงานให้ปลอดจากกลิ่นบุหรี่
· การเตรียมใจและกายให้พร้อมสำหรับอาการถอนที่จะเกิดขึ้น มักมีใน 2 สัปดาห์แรกแล้วจะลดลงและหายไป ได้แก่อาการหงุดหงิด คอแห้ง
- ให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นเวลานานอย่างน้อยวันละ 30 นาที ได้แก่การวิ่ง เดินเร็ว ๆถีบจักรยาน เป็นต้น การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยลดความเครียดได้ดีที่สุด
· ควรบอกความตั้งใจให้ครอบครัวและเพื่อนสนิทเพื่อการเป็นกำลังใจและเข้าใจสำหรับเพื่อนสนิทที่สูบบุหรี่ ควรชักจูงให้เลิกพร้อมกัน ขอร้องให้เพื่อนที่ยังเลิกไม่ได้หยุดสูบบุหรี่ช่วงที่พบปะหรือติดต่อทางโทรศัพท์แทนในระยะแรก
· ผู้ที่เคยเลิกแล้วไม่ประสบผลสำเร็จไม่ควรท้อถอย เพราะบางครั้งความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นจากความพยายามเพียงครั้งเดียว และไม่ควรอายในการพูดความจริง เพราะการพยายามงดสูบบุหรี่มีแต่คนที่ปรารถนาดีต่อเราจะให้กำลังใจ การเลิกไม่สำเร็จในครั้งเดียวไม่ได้แปลว่าจะเป็นคนที่ไม่ประสบความสำเร็จในการทำงาน ให้ทบทวนว่ามีจุดบอดอะไรที่เป็นอุปสรรค์หรือกิจกรรมร่วมทำให้กลับมาสูบบุหรี่ใหม่เพื่อหากลยุทธ์แก้ไขใหม่ในโอกาสต่อไป อาจพูดคุยกับผู้ที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จเพื่อเป็นกลยุทธ์ ให้ตนเอง
5. การปฏิบัติตนช่วงที่งดบุหรี่
· ให้หยิบภาพคนที่เป็นกำลังใจสูงสุดติดกระเป๋าเงินมาดู เพื่อเตือนสติให้ยึดมั่นต่อความตั้งใจและ เพื่อเป็นกำลังใจ
· ให้ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ เมื่อเกิดอาการเปรี้ยวปาก อยากบุหรี่
· งดกิจกรรมร่วมที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ เช่นการดื่มเหล้า ชา กาแฟและเปลี่ยนอิริยาบถด้วยการเดินออกจากโต๊ะทันทีหลังอาหารถ้ามักสูบบุหรี่หลังอาหาร
· หลีกเลี่ยงกลุ่มเพื่อนที่สูบบุหรี่ไประยะหนึ่ง ถ้าจำเป็นต้องติดต่อให้ใช้โทรศัพท์การรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรเลือกมุมปลอดบุหรี่
· ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยทำให้น้ำหนักคงที่หรือกระชับขึ้นเมื่องดบุหรี่ ควรเริ่มตอนเช้าหลังตื่นนอน และแปรงฟัน เพราะเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถที่ดีที่สุดสำหรับผู้ติดบุหรี่ซึ่งมักสูบบุหรี่หลังจากตื่นนอนเช้า
· หาวิธีอื่น ๆ ในการลดเครียด นอกจากการออกกำลังกาย
- ในระยะสั้นได้แก่ อ่านหนังสือชวนหัว อาบน้ำ
- ในระยะยาว หาสาเหตุหลักของความเครียด และแก้ที่สาเหตุ

ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับกลุ่มวัยรุ่น
ควรหากิจกรรมเสริมหลักสูตร เรียนวิชาสันทนาการอื่น ๆที่น่าสนใจ เพิ่มความรู้รอบตัวมีทักษะในสังคมปัจจุบันและอนาคตนอกจากช่วยผ่อนคลาย พบเพื่อนใหม่มากกว่าการไปจับกลุ่มคุยเรื่องทั่วไปที่บางครั้งหาสาระได้น้อย ได้แก่ การเรียนและซ้อมดนตรี เล่นกีฬา ( เทนนิส ว่ายน้ำฟุตบอล ปิงปอง ตะกร้อ ฟันดาบ เปตอง กอล์ฟ ขี่ม้า สควอช เป็นต้น) เรียนนาฏศิลป์ เต้นรำเข้าร่วมกิจกรรมสนุกสนานสร้างทักษะภาวะผู้นำ กล้าแสดงออก ของ YMCA, YWCAอาจเรียนวิชาชีพชั่วโมงละบาทของศูนย์ฝึกวิชาชีพหลวงประธานราษฎร์นิกรที่หาดใหญ่ได้ความบันเทิงและความรู้ หรือสถาบันบันเทิงประเทืองสติปัญญาท้องถิ่นอื่น ๆ ซึ่งมีให้เรียนรู้สนุกสนานมากมาย
ควรหลีกเลี่ยงสถานบันเทิงที่มีควันบุหรี่มากเช่น ผับ ไนท์คลับ เข้าวงสนุกเกอร์ สถานบันเทิงคาราโอเกะ ประเภทมีผู้สูบบุหรี่จำนวนมากเพราะจะทำให้ได้ควันพิษโดยไม่จำเป็น นอกจากการไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล


**การงดสูบบุหรี่แบบหักดิบ ไม่สูบเลย ดีกว่าการลดจำนวนลง**
สูบบุหรี่วันนี้อาจนำพาให้สูบกัญชา ติดเฮโรอินในวันข้างหน้า
สถิติวัยรุ่นที่ไม่สูบบุหรี่ เรียนดีกว่าผู้ที่ติดบุหรี่