จำนวนผู้เข้าชม

หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

น้ำท่วม

การป้องกันปัญหาน้ำท่วม คือสภาพที่มีน้ำนองขึ้นมาบนผิวดินเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดความยากลำบากในการสัญจร การอยู่อาศัย หรือ ทำให้พื้นที่ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติเมื่อเกิดน้ำท่วมขังขื้นในพื้นที่ก็แสดงว่าน้ำฝนไม่สามารถระบายออกจากพื้นที่ได้ทันท่วงที เราสามารถป้องกันการเกิดปัญหานี้ได้โดยการออกแบบสภาพทางกายภาพให้เอื้ออำนวยต่อการระบายน้ำดีออกจากพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการแก้ปัญหาดังกล่าว ทางภูมิสถาปัตยกรรมจะประเด็นหลักอยู่ 2 ประการคือ การวางระบบระบายน้ำผิวดิน และการขุดบ่อพักน้ำ
อุทกภัย น้ำท่วม

เกิดจากฝนตกหนังต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ
หมุนเขตร้อนลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศ
ต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว
เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ
อุทกภัยแยกออกเป็น
น้ำป่าหลาก เกิดจากฝนตกหนักบนภูเขา ต้นน้ำลำธารและไหลบ่าลงที่ราบอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีต้นไม้ ช่วยดูดซับ ชะลอกระแสน้ำ ความเร็วของน้ำ ของท่อนซุง และต้นไม้ ซี่งพัดมาตามกระแสน้ำจะทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน และชีวิตมนุษย์และสัตว์ได้
น้ำท่วมขัง น้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำล้นตลิง มีระดับสูงจากปกติท่วมแช่ขัง ทำให้การคมนาคมหยุดชะงัก เกิดโรคระบาดได้ ทำลายพืชผลเกษตรกร
คลื่นซัดฝั่ง เกิดจากพายุลมแรงซัดฝั่ง ทำให้น้ำท่วมบริเวณชายฝั่งทะเล บางครั้งมีคลื่นสูงถึง 10 เมตร ซัดเข้าฝั่งทำลายทรัพย์สินและชีวิตได้
การป้องกันและลดความเสียหายจากอุทกภัย
ติดตามฟังข่าวอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
เมื่อกรมอุตุนิยมวิทยาเตือนให้อพยพ ควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูง อาคารที่มั่นคงแข็งแรง ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง
ถ้าอยู่ที่ราบให้ระมัดระวังน้ำป่าหลากจากภูเขาที่ราบสูงลงมา กระแสน้ำจะรวดเร็วมาก ควรสังเกตเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกันบนภูเขาหลายๆ วัน ให้เตรียมตัวอพยพขนของไว้ที่สูง
ถ้าอยู่ริมน้ำให้เอาเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่จะใช้งานได้ เมื่อเกิดน้ำท่วม เพื่อการคมนาคม
ควรมีการวางแผนอพยพว่าจะไปอยู่ที่ใด พบกันที่ไหน อย่างไร
เมื่อมีกระแสน้ำหลาก จะทำลายวัสดุก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม ต้นไม้ พืชไร่ได้ ให้ระวังกระแสน้ำพัดพาไป
อย่าขับรถยนต์ฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก แม้บนถนนก็ตาม
อย่าลงเล่นน้ำ อาจพบอุบัติภัยอื่นๆ อีกได้
หลังจากน้ำท่วมจะมีขัง จะเกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์ ให้ระวังน้ำบริโภค ควรสะอาด ต้มสุกเสียก่อน
สารบัญ[ซ่อนสารบัญ]
1 พระราชดำรัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันอาทิตย์ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
2 ในหลวงทรงให้ ผันน้ำท่วม เข้าที่ดินส่วนพระองค์
3 ในหลวงทรงชี้แนวทางป้องกันน้ำท่วมภาคใต้
4 ”ในหลวง-พระราชินี” ทรงห่วงผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ มีรับสั่งให้ 3 เหล่าทัพระดมกำลังช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน
5 ทรงแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างอัศจรรย์
if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดงสารบัญ"; var tocHideText = "ซ่อนสารบัญ"; showTocToggle(); }

[แก้ไข] พระราชดำรัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันอาทิตย์ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ
คัดมาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับน้ำท่วม น้ำป่า
โครงการอะไรอย่างอื่นที่พูด อย่างฝายแม้ว กับฝ่ายนายกฯ ฝ่ายนายกฯ นายกฯ ไปดูฝายแม้ว คราวนี้ฝายเรานี่ เราทำก็ฝายแม้ว ฝายแม้วนี่เดี๋ยวนี้ซาบซึ้งรึเปล่ามีประโยชนอะไร คือ มีประโยชน์ทำให้ไม่มีน้ำท่วม ไม่มีน้ำแล้ง ตอนนี้น้ำท่วมเชียงใหม่ นายกฯ เดือดร้อน โกรธมาก ทำไมมีฝายแม้ว ทำไมน้ำยังท่วม ก็เพราะฝายแม้วทำไม่ถูกต้อง ทำไม่ดี ปล่อยน้ำลงมาผิดทาง
ที่จริงที่ไปดูที่กุยบุรี นั่นน่ะ ก็ไปขยายเขื่อนที่กุยบุรีที่ยังชุ่ม นั่นนะเคราะห์ดีไปทำ แล้วก็โครงการพระราชดำริอันนี้ ถ้าไม่ได้ทำ ถ้าทำตามชลประทานทำ ป่านนี้ก็ไม่เสร็จ ถ้าไม่เสร็จน้ำท่วมแล้ว ปีนี้ที่ไม่ท่วมกุยบุรี และประจวบคีรีขันธ์ท่วมบ้าง แต่ไม่ขึ้นมาถึงหัวหิน เพราะเขื่อนกุยบุรี เขื่อนกุยบุรีทำไมขยายได้ ขยายเก็บน้ำได้เก้าล้านลูกบาศก์เมตร
เพราะว่าเดี๋ยวนี้มีโครงการพระราชดำริ เราบอกทำเลย อธิบดีชลประทาน ทำยังไงต้องของงบประมาณ งบประมาณไม่มี ก็มีโครงการพระราชดำริ ก็เลยทำทันที แทนที่จะใช้เวลาสามปีก็เหลือใช้เวลาสองปี ทำงานได้ ที่เราไปดู ทำงานได้จริงๆ ถ้าไม่มีน้ำเก้าล้านลูกบาศก์เมตรเต็มแล้ว แต่น้ำมันก็ล้นมาปกติ ตามจำนวนปกติ เลยทำให้น้ำไม่ท่วม ถ้าเก้าล้านลูกบาศก์เมตร ฝนลงซู่ๆ มีหวังท่วม ท่วมทั้งด้านบน ท่วมทั้งด้านล่าง ก็ท่วมแล้ว
น้ำก็ทำลาย ถ้าเราทำโครงการที่ใช้งานได้เร็วๆ ประหยัดการท่วมของพื้นดิน และถ้าว่าไปประหยัดทรัพย์ ความจริงที่ใช้เงินตอนนั้น ใช้เงินร้อยล้านกว่าๆ เดี๋ยวนี้ก็กลับคืนมาแล้ว ถ้าไม่ได้ ไม่ได้ทำ น้ำที่มาท่วม ก็ทำลายร้อล้าน ร้อยล้าน สำหรับคนที่พยักหน้า เขาไม่ร้อยล้านไม่ใช่อะไร ต้องพันล้าน หมื่นล้าน แสนล้าน แต่ร้อยล้านชาวบ้านเขารู้สึก ก็หมายความว่าร้อยล้านที่เอาจากโครงการ พระราชดำริ กลับคืนมาแล้ว กลับมาไหน มาที่ประชาชน
ประชาชนเขาได้ ถ้าไม่ได้ใช้เงินนี้ ปีหน้าต้องใช้สองร้อยล้าน เพราะถ้าไม่ได้ใช้เงินทันที เงินมีอยู่ คนก็บอก บางทีไม่มี แต่เงินนะมี ในงบประมาณมี ถ้าไม่มี ก็หมายความว่างบประมาณทำไม่ถูก แต่อันนี้ร้อยล้านใช้ไป ใช้ดีแล้ว ใช้ถูกต้อง ไม่เสียหาย ทำให้ประชาชนได้กำไร ถ้าไม่ได้ใช้ไป ก็ไม่รู้ว่าใครใส่กระเป๋าไปไหน แต่ว่าประชาชนไม่ได้ เพราะฉะนั้น ที่ทำโครงการประหยัดไปหนึ่งปี ที่ไปดูเห็นประจักษ์ น้ำไหลออกมาจากเขื่อน ไม่ใช่พูดหลอก น้ำจริงๆ มันลงมาเต็มเขื่อน แทนที่จะเป็น 38 ล้านลูกบาศก์เมตร มันเป็น 40 กว่าล้านที่ลงมา
ทำให้น้ำลงมาเก็บ และล้นมาได้ เพราะน้ำนี่ได้ใช้ เวลาแล่นรถไป ข้างล่างก็เห็นก็ทำนาได้ นามีประโยชน์ เพราะข้าวไม่เสีย ข้าวได้ใช้ และถ้าจะเอาข้าวนี่ไปไปส่งนอก เราก็ได้เงิน ของแลกเปลี่ยนได้ ฉะนั้นโครงการร้อยล้านนี้ ทำดี และก็ช่างชลประทานมีความรู้พอที่จะทำ อันนี้ไม่ต้องอาศัยช่างจากต่างประเทศ ช่างในเมืองไทยนี่เอง และก็ใช้เครื่องมือในเมืองไทยนี่ได้
ก็เลยรู้สึกว่าปีนี้ ที่ได้เห็นการขยายโครงการกุยบุรีได้ผลจริงๆ ได้ไปดูก็ดีใจ พอใจ นี่ต้องรอที่ได้ไปดูโครงการชลประทานที่กุยบุรี ที่หมู่บ้านยางชุม เป็นโครงการที่ใช้งานได้ แล้วไม่ใช่ที่ยางชุมเท่านั้นเอง ข้างๆ มีการสร้างน้ำ เขื่อนที่กักน้ำ ได้ผลดี ยังต้องทำอีกมาก แต่เวลามาพูดกับสมาคมนี้ก็พูดถึงชลประทาน ก็ได้ผลดี แต่ค่อยๆ ทำ เพราะว่าไม่ใช่ไม่มีเงินเท่านั้นเอง เงินมันมีไม่พอ แต่ที่ที่จะทำไม่มี ถ้าจะทำต้องศึกษาให้ดี เพราะพระเจ้าอยู่หัวฯ บอกให้ทำอย่างนั้นๆ เสร็จแล้วก็ไม่มีหลักวิชาที่ดี อาจจะเสียก็ได้
แต่ว่าการที่จะทำ ต้องพยายามหาที่ทำ และใช้ความรู้ที่ถูกต้อง โครงการอย่างอื่นมีที่ต้องทำ ไม่เฉพาะชลประทาน แต่ว่า โดยที่เราเป็นผู้ที่เขาเรียกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ ชลประทาน กล้าบอกที่จะทำ รู้สึก ใครคงง่วง เดี๋ยวนี้ชักมืดเร็ว ถ้าง่วงเดี๋ยวไปนอนได้ ก็รู้สึกว่าสมควรแก่เวลา ก็ขอขอบใจที่ท่านมาให้พร และก็ให้พรนี่ดี ถ้าไม่ให้พรก็ไม่รู้ว่าเราทำอะไร ถ้ามาให้พร เราก็มีกำลังใจที่จะทำงานต่างๆ แล้วก็ต้องให้พรทุกฝ่าย
พระราชดำรัสในหลวง เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2549
คัดมาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับน้ำท่วม น้ำป่า

มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า มารับตำแหน่งในเวลาที่เป็นระยะที่เดือดร้อน ไม่ใช่เรื่องการเมือง การเมืองเบื่อแล้ว แต่ว่าน้ำมันท่วม แล้วที่บอกว่าน้ำท่วม เพราะว่าน้ำมันลงมามาก แล้ววันนี้ก็บอกว่า ความจริงไม่มากเท่าที่เคย น้ำลงมา น้ำไม่น้อย แต่ไม่มากเท่าที่เคย มา 2 -3 วัน ปีนี้น้ำที่หล่นมาจากฟ้า น้อยกว่าปี 38 น้อยกว่าจริงๆ เราก็พูดพอมีประสบการณ์ จำได้ว่า น้ำปี 38 มีมากจริงๆ แต่น้ำลงมาไม่มากเท่า น้ำมันน้อยกว่า แต่ว่าปีนี้ร้ายแรงกว่า เพราะว่าบริหารน้ำไม่ดี หมายถึงว่าถึงเวลาจะปล่อยน้ำลงไป ถึงเวลาที่จะต้องกักน้ำไว้ ไม่ทัน ปีนี้ถ้ากักเอาไว้นิดหน่อย ในเวลาที่ถูกหลักถูกจังหวะ ก็เชื่อว่าไม่ท่วมเท่าที่เป็นอยู่นี้ แต่ไม่ช้าเกินไป อีก 2 -3 วันข้างหน้านี้ จะเป็นเวลาที่ต้องบริหารน้ำให้ดี เริ่มจะขึ้น-ลง มากกว่าปี 38 แต่ดูในปีนี้ แก้ไขได้ คือบริหารน้ำให้ไม่ท่วมได้ เพราะว่าเรามีอุปกรณ์ที่สมัยใหม่ ที่ทำให้น้ำลดลงไป หายไปได้ดีกว่าปี 38 ปีนี้หลายแห่งที่ทำได้ โดยเฉพาะที่แม่น้ำเจ้าพระยา ตรงปลายแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงเวลาน้ำขึ้น ก็กั้นเอาไว้ ไม่ให้น้ำมันขึ้นมาท่วม
นี่พูดถึงเฉพาะกรุงเทพฯ ถึงเวลาปล่อย ก็ปล่อยได้ และโดยเฉพาะเป็นอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว คือที่พระประแดง ที่มีอุปกรณ์ที่เวลาน้ำขึ้น กักเอาไว้ แล้วเวลาน้ำลง ปล่อยให้ลง คือที่คลอง คนแก่จำไม่ได้แล้ว และได้ทำโครงการที่จะปล่อยน้ำไปได้ เวลาน้ำลง แล้วก็เวลาน้ำขึ้นก็ปิดเอาไว้ ดังนั้นคลอง 600 เมตร ถ้าเปิด มันก็ทะลักเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา ถ้าปิด น้ำจะอ้อมไป นี่วิธีที่จะบริหารน้ำให้ดี ก็คือวิธีการให้ทราบว่าเวลาไหนน้ำกำลังขึ้น ปล่อยให้ออกไป พอไปทางคลองเตย กว่าจะถึงตรงปลาย น้ำก็ลง พอน้ำขึ้นเป็นเวลา แล้วเวลาลงเป็นเวลา แต่ว่าเวลาน้ำขึ้น เขียนเอาไว้ว่าขึ้นเวลานั้นๆ สูง 2 เมตร 2 เมตรกว่า เวลาน้ำลง น้ำก็จะลง ลงไป ทำให้เป็นจังหวะ ถ้าไม่ได้จังหวะ เปิดประตูน้ำเวลาน้ำขึ้น มันก็ทะลักเข้ามา ก็เข้ามาอาจจะท่วมได้ น้ำอาจจะขึ้นไปสูงกว่า 2 เมตร น้ำมันขึ้น 2 เมตร 20 - 2 เมตร 30 แต่ว่าถ้าเราปิดในเวลานั้น น้ำก็ไม่ทะลักมาในถนนในกรุงเทพฯ เวลาน้ำลงก็ปล่อย หมายความว่าต้องให้ตรง มันเป็นเวลา ถ้าทำเป็นเวลาแล้วน้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯ เดี๋ยวนี้กรุงเทพฯ ก็ต้องท่วม แต่ว่าถ้าไม่ทำให้ถูกต้อง ถูกเวลา ถ้าฝนตกด้วย ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่น่าจะฝนตกแต่ว่ามีฝนตกน้ำท่วม ถ้าน้ำท่วมรถแล่นไปก็จมน้ำ
ฉะนั้นผู้ที่มีหน้าที่ไม่ได้ทำ แต่ตอนนี้เขาต้องทำ บอกเขา เขาทำให้ ปล่อยน้ำเวลาน้ำมันลง น้ำขึ้นก็กักเอาไว้ มีทุกอย่าง มีแห่งเดียวที่มีอุปกรณ์ ที่อื่นก็ควรจะทำ รอมาหลายปีแล้ว ควรจะทำได้ แต่ต้องลงทุนไม่ใช่น้อย ข้อสำคัญต้องลงแรง ตามคลองชายทะเลก็เคยมี เมื่อ 9 ปี เมื่อปี 38 ส่งองครักษ์ไปดู ไปดูส่วนมากเป็นตอนกลางคืน เห็นคนนอนหลับสบายที่ชายทะเล ปกติไปทางใต้เพราะว่า จะเปิดไหม เพราะว่าเขาไม่ได้บอกให้เปิดก็ไม่ปิด ปิดหรือเปล่า เขาไม่ได้บอกให้ปิด น้ำทะลักเข้ามาก็ท่วมในคลอง คลองก็มาท่วม จากชายทะเลแต่ถ้าทำถูกจังหวะน้ำไม่เกิด ตอนที่ทำทางฝ่ายรัฐบาลก็จะไม่รู้เรื่องว่าจะเป็นอย่างไร คนที่ชายทะเล ที่นอนสบายเขาบอก คุณมาจากไหน รู้ได้อย่างไร น้ำขึ้นจริงๆ นะ เขานึกว่า ทำไมมาบอก รู้ว่าขึ้นทำไมไม่ปิด รู้ว่าลงไม่เปิด แล้วเขาถาม เป็นนายพล นายพลมาจากไหน มาจากในวัง ก็เลยเข้าใจว่ารู้เรื่อง ทำไมรู้เรื่อง เขาก็เชื่อ แต่ว่านายไม่เชื่อ นายผู้ใหญ่ต่างๆ เขาไม่ได้สั่งว่าเวลานั้นเวลานั้นต้องเปิดต้องปิด ที่ต้องเปิดต้องปิดเวลานี้เพราะว่าน้ำไม่คอยใคร น้ำขึ้นน้ำลง ท่านเป็นทหารเรือ ก็รู้เรื่องว่าน้ำขึ้นลงเวลาไหน ต้องรู้ น้ำขึ้น น้ำลง แล้วช่วยป้องกันไม่ให้น้ำท่วม ตัวเขานอนสบายแต่ว่าคนที่อยู่ข้างในทุกข์
ฉะนั้นเดี๋ยวนี้ยังมีเวลาที่จะแก้ไข ไม่อย่างนั้นถึงปีใหม่น้ำก็ท่วมอีก ก็เลยบอกว่าท่านที่มีหน้าที่ไปดู เราต้องไป เขาไม่เห็นแต่อย่างไร ก็น่าจะไป 2 วัน 3 วันนี้ ก็จะไปดู เพราะว่ายังจำเป็นที่จะดู แต่ว่าเห็นเป็นอย่างนี้ อาจจะไปไม่ได้ ปวดหลัง ก็เลยไม่ได้ไป แต่ที่สมเด็จพระบรมฯ กับสมเด็จพระเทพฯ ไป มันต้องมีเรื่องเวลาให้เหมาะสม ให้ถูกต้อง ทางกรมชลประทานบอกว่า ปลายปีก็หมดแล้ว ปลายปีนี้ยังมีอีกเดือน แล้วฝนก็ยังไม่หมด ต้องทำให้ถูกต้อง เพราะเชื่อว่า มันจะไม่ช้าเกินไป จวนจะหมดฤดูกาลแล้ว แต่ว่ามาพูดเพราะว่าที่ผ่านมาพูดไม่มีใครได้ยิน เสียงมันแหบ วันนี้เสียงนับว่าดี ได้แจ้งให้ทราบว่าจะต้องทำอย่างไรสำหรับในน้ำท่วม

[แก้ไข] ในหลวงทรงให้ ผันน้ำท่วม เข้าที่ดินส่วนพระองค์
กทม.โล่ง-น้ำหนุน ไม่สูงอย่างที่คิด แต่เขื่อนป่าสักฯ ล้นเกินรับได้แล้ว ครม.ใหม่ถกหนัก

พระมหากรุณา- สภาพน้ำบริเวณทุ่งภูเขาทอง ซึ่งอยู่ใกล้กับทุ่งมะขามหย่อง จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ดินส่วนพระองค์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ผันน้ำเข้าไปกักเก็บไว้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหาน้ำท่วม
ในหลวงพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้กรมชลประทานผันน้ำท่วมเข้าสู่พื้นที่แก้มลิงส่วนพระองค์ ที่ทุ่งมะขามหย่อง ใกล้อนุสาวรีย์ศรีสุริโยทัย อธิบดีกรมชลประทานตีขลุม อ้างชาวบ้านต้องยอมให้ผันน้ำเข้าพื้นที่ตามในหลวงเช่นกัน เจอส.อบจ.อยุธยารวมตัวต้านทันควัน วิ่งโร่พบพ่อเมืองเพื่อยื่นคัดค้าน ยันความเสียหายจะเกิดกับไร่นามหาศาล โวยทำไมต้องให้คนอยุธยาเดือดร้อนแทนคนกทม. ผู้ว่าฯ กทม.โล่งอก วันน้ำทะเลหนุนสูง ระดับน้ำในเจ้าพระยากลับไม่ขึ้นสูงจนท่วม แต่มีข่าวร้ายจากลพบุรี ระดับน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์สูงเกินปริมาตรที่จะกักเก็บได้แล้ว ต้องเร่งปล่อยเต็มที่ สำหรับเหตุการณ์น้ำป่าถล่มดอยอ่างขาง สรุปยอดตาย 6 ศพ สูญหายอีก 1 ค้นหาเจอแต่ซากจยย.ยับเยิน ยังไม่เจอตัวคน ส่วนอีกคนที่คิดว่าตาย กลับฟื้นปาฏิหาริย์
กทม.โล่งน้ำทะเลหนุนไม่ล้น
เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 10 ต.ค. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. และคณะ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมสถานการณ์น้ำท่วม ที่ชุมชนสันติสงเคราะห์ เขตบางกอกน้อย และชุมชนวัดราชผาฯทับทิมร่วมใจ เขตดุสิต ซึ่งเป็นหนึ่งใน 33 ชุมชน ที่รุกล้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา และอยู่นอกแนวเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงที่มีน้ำทะเลหนุนสูง โดยระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 50 ซ.ม. และบางจุดท่วมสูงถึงช่วงเอว
โดยนายอภิรักษ์ เปิดเผยภายหลังว่า กทม. น้อมรับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงรับสั่งให้ทุกหน่วยงาน บูรณาการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมร่วมกัน ซึ่งเมื่อคืนวันที่ 9 ต.ค. ที่ผ่านมา มีฝนตกหนักในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะพื้นที่ฝั่งตะวันออก เช่น คลองสามวา สะพานสูง วังทองหลาง บางกะปิ และพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ วัดปริมาณฝนที่ตกลงมาได้เฉลี่ย 100 ม.ม./ช.ม. ส่งผลให้หลายพื้นที่มีปัญหาน้ำท่วมขังตามตรอก ซอก ซอย โดยรอการระบายน้ำจนถึงช่วงเที่ยงของวันนี้ จึงจะสามารถระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้
เนื่องจากในช่วงระหว่างเวลา 09.00-10.00 น. เป็นช่วงที่เกิดน้ำทะเลหนุนสูง ซึ่งกทม.ได้หยุดระบายน้ำจากพื้นที่ต่างๆ ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาตามที่กรมชลประทานกำชับ เพราะหากยังระบายน้ำในช่วงดังกล่าวจะทำให้ปริมาณน้ำล้นเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยาได้ ทั้งนี้ ได้กำชับให้ผู้อำนวยการเขตทั้ง 17 เขต ที่มีชุมชนบุกรุกริมแม่น้ำเจ้าพระยา ลงพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งในอนาคตต้องเร่งทำความเข้าใจประชาชนเหล่านี้ให้ออกจากพื้นที่รุกล้ำต่อไป
นายอภิรักษ์กล่าวว่า ส่วนปริมาณน้ำทะเลหนุนสูงสุดของวันนี้ คือ เวลา 09.00 น. สูง 2.07 ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ปริมาณน้ำท้ายเขื่อนอยู่ที่ 3,473 ลบ.ม./วินาที ถือว่าสถานการณ์ไม่วิกฤตตามที่คาดการณ์ไว้ และไม่มีปัญหาน้ำล้นเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยาแต่อย่างใด
2กระทรวงนัดถกแก้น้ำท่วม

นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงกรณีปัญหาน้ำท่วมว่า จะพบและหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องดูแลและจัดการน้ำ คือ กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และกรมทรัพยากรธรณีวิทยา ที่ถือเป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องน้ำ หน่วยงานต่างๆ ต้องผสมผสานการทำงานให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น เพื่อบรรจุเป็นแผนงาน แก้ปัญหาน้ำในระยะยาว เพราะขณะนี้ตัวเลขต่างๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงไป อุณหภูมิโลกสูงขึ้น อาจกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในหลายอย่าง ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้น ต้องดูการฟื้นฟู และชดเชยความเสียหายต่างๆ ให้เป็นธรรมที่สุด
เมื่อเวลา 15.30 น. นายสามารถ โชคคณาพิทักษ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวก่อนเข้าพบและรายงานสถานการณ์น้ำท่วม ต่อรมว.เกษตรฯ ว่า น้ำที่สะพานพุทธ วันที่ 10 ต.ค.นี้ มีระดับต่ำกว่าที่คาดไว้ และในวันที่ 11 ต.ค.ไม่น่าจะถึงระดับ 2.40 ม. ตามที่หวั่นเกรงกัน ซึ่งถือเป็นระดับที่ควบคุมได้ โดยภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชานุญาตให้ผันน้ำเหนือ เข้าที่ดินส่วนพระองค์ ป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ กรมชลประทานได้ดำเนินการปล่อยน้ำไปแล้วประมาณ 2-3 ล้านลูกบาศก์เมตร ในพื้นที่ 1,200 ไร่ ส่งผลให้ประชาชนเดือดร้อนเล็กน้อย ส่วนพื้นที่ทุ่งเสนา อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ประมาณ 1 แสนไร่ สามารถรับน้ำได้ถึง 20-30 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนกรณียังมีน้ำก้อนใหญ่พร้อมจะไหลลงมาอีกนั้น หากประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย กรมชลฯก็ยังไม่ผันน้ำเข้าไป ส่วนความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน ก็ต้องช่วยเหลือไปตามระเบียบข้อบังคับ
ครม.นัดแรกหารือแก้อุทกภัย
เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.อ.น.พ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม คณะรัฐมนตรีนัดแรก ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงปัญหาอุทกภัยอย่างกว้างขวาง นายกรัฐมนตรีกำชับให้ส่วนราชการต่างๆ ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะสถานการณ์เฉพาะหน้า โดยนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เสนอให้แต่ละกระทรวงนำระบบการสื่อสารเคลื่อนที่ หรือ EECV โดยทางเน็กเทค ได้วิจัยและพัฒนาขึ้นมา เพื่อดำเนินการติดตั้งระบบโทรศัพท์ไร้สาย สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต และนำไปใช้ในพื้นที่ที่มีปัญหาอุทกภัยได้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีต้องการให้ส่วนราชการนำระบบนี้ไปใช้ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์ และมอบหมายให้นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม ไปพิจารณาถึงแนวทางนโยบาย เรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่รัฐบาลชุดก่อนๆ ทำมา เพื่อที่จะพิจารณาปรับตามความจำเป็น
ยันมีงบฯให้เบิกด่วนไปกู้ภัย
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นอกจากนี้ทางสำนักงบประมาณได้ชี้แจงเรื่องการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยว่าจะสามารถเบิกเป็นเงินทดรองราชการได้ในกรณีเร่งด่วน มีความรุนแรงและเสียหายในวงกว้าง และรมว.คลังสามารถเพิ่มวงเงินให้ความช่วยเหลือแก่จังหวัดต่างๆ ได้ตามความจำเป็น นอกจากนี้ยังมีงบฯจากหน่วยงานต่างๆ ประมาณ 370 ล้านบาท ถ้าต้องใช้งบประมาณมากกว่าที่กล่าวมาก็สามารถเบิกจากงบฯกลางได้ ซึ่งเรื่องงบประมาณไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมครม. ว่า ที่ประชุม ครม.ได้หารือถึงปัญหาน้ำท่วม ซึ่งมีหลายกระทรวงเข้าไปเกี่ยวข้อง และตนยังเสนอว่ารัฐบาลน่าจะมีนโยบาย หรือวางยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องของน้ำ เพราะประเทศไทยมักจะเกิดปัญหาฝนตกมักมีน้ำท่วม แต่หน้าแล้ง ก็เกิดภาวะแห้งแล้งมาก แม้จะมีเวลาทำงานเพียงแค่ 1 ปี แต่ถ้าได้วางยุทธศาสตร์เอาไว้ก็จะช่วยให้ปัญหาวิกฤตการณ์น้ำลดน้อยลงได้
ทรงให้ผันน้ำเข้าที่ดินส่วนพระองค์

นายสามารถ โชคคณาพิทักษ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สำหรับปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ไหลผ่านกรุงเทพฯ 3,465 ลบ.ม.ต่อวินาที ยังคงอยู่ในระดับควบคุมได้ ทั้งนี้เนื่องจากการประชุมคณะที่ปรึกษา และกรรมการประสานการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตามแนวพระราชดำริ ครั้งที่ 1/2549 มีมติให้เจรจาขอผันน้ำเข้าทุ่งหลายแห่งในจ.พระนครศรีอยุธยา อาทิ ทุ่งบางบาล ทุ่งเจ้าเจ็ด นอกจากการขอผันน้ำเข้าทุ่งแล้ว ยังได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ผันน้ำเข้าไปในที่ดินส่วนพระองค์นับพันไร่ ที่พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย(ทุ่งมะขามหย่อง) ต.บ้านใหม่ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจและยินยอมให้ผันน้ำเข้าทุ่ง ที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ตั้งแต่ 9 ต.ค.ที่ผ่านมา เพื่อช่วยลดปริมาณน้ำที่ไหลมากรุงเทพฯ อย่างเห็นได้ชัด และเชื่อว่าจะผ่านพ้นวิกฤตช่วงน้ำทะเลหนุนสูงนี้ไปได้ พระมหากรุณาฯ- สภาพน้ำบริเวณทุ่งภูเขาทอง อยู่ใกล้กับทุ่งมะขามหย่อง จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ผันน้ำเข้าไปกักเก็บไว้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหาน้ำท่วม
"คงให้ชาวบ้านได้เห็นว่า ที่ดินของพระเจ้าอยู่หัวก็ยังมีพระบรมราชานุญาตให้ผันน้ำเข้าได้ ซึ่งคงจะสามารถตัดยอดน้ำ ช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูงใน กทม.อย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังมีบางจุดที่คันกั้นน้ำขาดทำให้น้ำไหลเข้าไปเอง เช่น ที่ประตูระบายน้ำบางแก้ว จ.สิงห์บุรี ทำให้น้ำเข้าไปท่วมขังอยู่ในทุ่งมหาราชส่วนหนึ่งด้วย เมื่อมาตรวจสอบระดับน้ำวันนี้ก็ต่ำกว่าที่เราคาด" นายสามารถ กล่าว
นายสามารถ กล่าวว่า จากที่ทาง กทม.ก็ได้ดำเนินการเต็มที่ด้วย โดยเสริมกระสอบทรายขึ้นเป็น 2.70 เมตร และประสานให้หน่วยทหารไปเฝ้าระวังตลอดแนวเจ้าพระยา ก็ทำให้น่าจะเบาใจและมั่นใจได้ ว่าไม่น่าจะเกิดน้ำท่วมรุนแรงในกทม. อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านนครสวรรค์ยังเพิ่มสูงขึ้นเป็น 4,595 ลบ.ม. ต่อวินาที คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกไป เท่ากับสถิติสูงสุดเมื่อปี 2538 คือเป็น 4,800 ลบ.ม.ต่อวินาที ส่วนที่เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,901 ลบ.ม.ต่อวินาที ยังถือว่าเป็นปริมาณน้ำที่ควบคุมได้
คลองประปาคันกันน้ำสูงพอ
ที่ห้องประชุมการประปานครหลวง(กปน.) นายวุฒิชัย รังสิยะวัฒน์ รองผู้ว่าการ (ฝ่ายผลิตและส่งน้ำ) เปิดแถลงข่าว เรื่องสถานการณ์น้ำกับการป้องกันน้ำท่วมเข้าคลองประปา พร้อมนายวีรชาติ โอฬาพิริยะกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ(ระบบการผลิต) นายวิโรจน์ วงศ์วิวัฒไชย ผู้อำนวยการฝ่ายคลองส่งน้ำ และนายเสนอ ศรีแก้ว หัวหน้าส่วนบำรุงรักษาคลองส่งน้ำ ก่อนพาผู้สื่อข่าวตรวจดูแนวป้องกันน้ำท่วมเข้าคลองประปา บริเวณสถานีสูบน้ำดิบสำแล ต.สำแล จ.ปทุมธานี
นายวุฒิชัยกล่าวว่า เมื่อวันที่ 9 ต.ค. ที่ผ่านมา นายวิทิต อาวุชานนท์ ผู้ว่ากปน. ออกตรวจจุดที่เคยมีปัญหาน้ำ จากทุ่งบางพูนและนิคมอุตสาหกรรมบางกระดี่ ไหลเข้าคลองประปาเมื่อปี 2538 บริเวณไซฟอน (อุโมงค์ส่งน้ำดิบลอดใต้คลอง) รังสิตเหนือ ถึงไซฟอนบางหลวง พบว่าเขื่อนดินป้องกันน้ำท่วมที่สร้างไว้หลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งก่อน ซึ่งสร้างไว้สูงกว่าระดับน้ำทะเล มาตรฐาน 3.17 เมตร มีสภาพที่สมบูรณ์อยู่ นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากนิคมอุสาหกรรมบางกระดี่ ที่สร้างคันดินป้องกันน้ำท่วม ขนานไปกับเขื่อนดินของคลองประปา และการก่อสร้างถนนเลียบคลองบางหลวง-เชียงราก มีความสูงกว่าระดับน้ำท่วม จึงเป็นแนวป้องกันน้ำท่วมอย่างดี
รองผู้ว่าการกปน. กล่าวอีกว่า บริเวณสถานีสูบน้ำดิบสำแล เมื่อปี 2538 มีปัญหาน้ำท่วมขังมาก กปน. จึงสร้างคันดินเสริมโดยใช้ความสูงของระดับน้ำท่วมเป็นเกณฑ์ สำหรับบ้านเรือนชุมชน ที่มีทางเข้าออกเชื่อมต่อกับสถานีสูบน้ำ ได้เสริมกระสอบทราย และหินคลุกบดอัด ปิดกั้นทางน้ำไม่ให้ไหลเข้าสู่สถานีสูบน้ำได้ ในส่วนของสถานีสูบน้ำดิบสำแล ก่ออิฐบล็อกป้องกันน้ำท่วมสูง 3.77 เมตร จากระดับน้ำทะเล เพื่อป้องกันน้ำล้นตลิ่งเข้าสู่พื้นที่ภายในสถานีสูบน้ำ และวางกระสอบทรายในระดับความสูงที่เหนือกว่าระดับน้ำไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร ในจุดที่เสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วม ตลอดระยะแนวคลองประปา 30 กิโลเมตร จากสถานีสูบน้ำดิบสำแล ถึงโรงงานผลิตน้ำสามเสน จึงขอให้มั่นใจว่าคลองประปาจะไม่มีปัญหาถูกน้ำท่วมทะลักลงไป
นาข้าวอ่างทองจม3แสนไร่

ที่จ.อ่างทอง หลังจากเขื่อนดินแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ตั้งอยู่ในคลองบางแก้ว หมู่ 10 ต.บ้านอิฐ อ.เมืองอ่างทอง พังทลาย กระแสน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่สูง 9 เมตรเศษ ได้ไหลบ่าลงคลองบางแก้วและคลองชลประทานจนเอ่อล้นท่วมวัดบ้านอิฐและโรงเรียน บ้านเรือน ถนน รวมทั้งพื้นที่เกษตรใน ต.บ้านอิฐ ต.บ้านรี อ.เมืองอ่างทอง อย่างรวดเร็วและรุนแรง ระดับน้ำสูง 1 เมตร พัดพาสิ่งของสูญหาย ซึ่ง อบต.บ้านอิฐแจ้งให้ชาวบ้านอพยพขนย้ายสิ่งของไปยังที่ปลอดภัยและเฝ้าระวังเหตุร้ายตลอดทั้งคืน รวมทั้งให้การช่วยเหลือชาวบ้านที่ติดอยู่ในบ้านพักอาศัย
ขณะเดียวกัน น้ำยังไหลทะลักเข้าท่วมถนนสายเอเชียขาล่องหลัก ก.ม.ที่ 104-105 ต.บ้านรี ไปจนถึงสะพานบางแก้ว ระยะทางยาวประมาณ 1 ก.ม. ส่งผลให้การจราจรติดขัดอย่างมาก ต้องใช้ความระมัดระวังสูงเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้กระแสน้ำได้ไหลทะลักท่วมพื้นที่อ.มหาราช อ.บางปะหัน อ.บ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธยา และอ.ไชโย จ.อ่างทอง ส่งผลให้ทุ่งข้าวนาปีและนาปรังใน 2 จังหวัดถูกน้ำท่วมกว่า 3 แสนไร่ เวลา 06.40 น. ร.ต.ต.จิระโชติ กันทะเนตร ร้อยเวร สภ.อ.เมือง อ่างทอง รุดไปตรวจสอบผู้เสียชีวิตบริเวณหลังโรงงานไทยเรย่อน จำกัด หมู่ที่ 2 ต.โพสะ อ.เมืองอ่างทอง ที่เกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องใช้เรือพายเข้าไปเนื่องจากระดับน้ำสูง 2 เมตร ห่างจากถนนสายอ่างทอง-อยุธยา ประมาณ 100 เมตร พบศพนายปิยะ วิภา อายุ 19 ปี อยู่บ้านเลขที่ 54 หมู่ 5 ต.ยางตลาด อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ สอบสวนทราบว่านายปิยะเป็นคนงานก่อสร้างโรงงานกระดาษใกล้ที่เกิดเหตุ ก่อนเสียชีวิตได้ลุยน้ำเข้าไปในหอพัก ซึ่งถูกน้ำท่วมสูงและไหลแรงจึงพัดจมน้ำเสียชีวิต
เผยเขื่อนป่าสักน้ำล้นแล้ว

วันเดียวกัน นายวิชัย ศรีขวัญ ผวจ.ลพบุรี เดินทางไปสำรวจตัวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่ต.หนองบัว อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี หลังปริมาณน้ำเหนือไหลลงเขื่อนจนเกินระดับที่จะเก็บกักน้ำไว้ใช้ในด้านอุปโภคและบริโภคในหน้าแล้ง ขณะนี้ระดับน้ำในเขื่อนป่าสักฯ มีน้ำกว่าพันล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่เขื่อนสามารถจะเก็บกักน้ำได้เพียง 960 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ผลการสำรวจตัวเขื่อนยังมีความมั่นคงแข็งแรง มั่นใจจะไม่มีผลกระทบต่อตัวเขื่อนเนื่องจากเขื่อนป่าสักฯ ต้องรีบระบายน้ำออกลงสู่ท้ายเขื่อน ซึ่งจะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา 721 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เพื่อไม่ให้แรงดันของน้ำในเขื่อนมีปริมาณน้ำมาก จำต้องปล่อยน้ำเพิ่มมากขึ้น สาเหตุมาจากน้ำเหนือไหลลงเขื่อน 726 ล้านลูกบาศก์เมตร/วินาที หรือน้ำจะเข้าเขื่อนป่าสักฯ 62.78 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน แต่เขื่อนป่าสักฯ เคยรับน้ำในระดับนี้มาแล้วเมื่อปี 2538
ทางหลวง68สาย22จว.วิกฤต
นายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า จากการสำรวจของกรมทางหลวง พบว่า สถานการณ์ขณะนี้มีถนนหลวงรวม 68 เส้นทาง ใน 22 จังหวัดอยู่ในภาวะวิกฤต โดยล่าสุดในจำนวนดังกล่าวมีเส้นทางถนนหลวงรวม 32 เส้นทาง ที่ขณะนี้อยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง โดยจังหวัดที่ถือว่ามีผลกระทบหนักที่สุดขณะนี้ประกอบด้วยถนนหลวงในจังหวัดพิจิตร 6 เส้นทาง จังหวัดนครสวรรค์ 6 เส้นทาง อ่างทอง 3 เส้นทาง และพระนครศรีอยุธยา 2 เส้นทาง ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำถือว่าสูงมากและยังไม่สามารถใช้เส้นทางสัญจรได้ โดยสภาพทั่วไปภาวะน้ำท่วมในปีนี้แม้ระดับน้ำจะสูง แต่ก็ไม่ได้พัดพาเขตทางให้เสียหายมากนัก ส่วนใหญ่มีลักษณะน้ำที่ท่วมเอ่อจากแม่น้ำเข้าสู่เขตเมือง
สำหรับการซ่อมแซมเส้นทางถนนหลวงที่วิกฤตเหล่านี้ ในเบื้องต้นจะสามารถสำรวจความเสียหายได้ชัดเจนภายหลังน้ำลด อย่างไรก็ตาม กรมทางหลวงมีงบประมาณประจำปีที่ไว้ซ่อมแซมเขตทาง สำหรับปัญหาน้ำท่วม ประมาณปีละ 300-500 ล้านบาท และหากมีเขตทางเสียหายกว่าปกติ กรมทางหลวงก็พร้อมของบฯกลางในการซ่อมแซมจากกระทรวงคมนาคม และสำนักงบประมาณทันที นอกจากนี้ ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย กรมทางหลวงได้มีการจัดตั้งศูนย์อุบัติภัยขึ้นใน 3 ระดับ คือ ระดับแขวงการทาง เขตการทางและประจำกรมทางหลวงขึ้นสามารถส่งกำลังเจ้าหน้าที่พร้อมอุปกรณ์เครื่องมือให้ความช่วยเหลือประชาชนได้ทันที ทั้งการช่วยขนย้ายสิ่งของ การจัดหากระสอบทรายกันน้ำ จนถึงการนำรถขุดเข้าเปิดทาง โดยได้วางภารกิจไว้ว่าจะต้องเปิดเส้นทางให้เร็วที่สุดภายหลังน้ำลด เพื่อให้ความช่วยเหลือส่วนอื่นๆ เข้าถึงประชาชน

[แก้ไข] ในหลวงทรงชี้แนวทางป้องกันน้ำท่วมภาคใต้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราช ดำรัสถึงสถานการณ์น้ำท่วมหนักทางภาคใต้ โดยเฉพาะที่หาดใหญ่ และภายในไม่กี่วันได้รับ ข่าว โดยตรงจากผู้ที่ไปและมารายงาน ทำให้ได้ทราบว่าควร จะได้ทำอะไร ที่ใช้คำว่าได้ทำอะไร ได้ หมายความว่าเป็น การเตรียมมาก่อนที่น้ำท่วม ที่ควรจะทำก่อนน้ำท่วมคือ การมีภัยธรรมชาติหรือภัยอะไรก็ตาม มีปัญหาอะไรก็ตาม ถ้าไม่ได้เตรียมการในการแก้ไขมาก่อน ภัยธรรมชาติหรือ ภัยอื่น ๆ ก็จะดูรุนแรง เพราะพูดถึงว่ามีความเสียหายถึง 1,000 ล้าน ความจริงคะเนว่ามากกว่า 1,000 ล้าน มากกว่ามาก แต่คะเนว่า ถ้าได้ทำมาก่อนคือการ ป้องกันมาก่อน ในการป้องกันนั้น ไม่ถึง 1,000 ล้านแน่ อาจจะเป็นประมาณ 500 ล้าน ที่ท่วมครั้งก่อน ที่รุนแรงที่สุดเป็นปี 2531 และครั้งนั้นก็เสียหายมาก ได้เคยไปที่นั่นและได้ศึกษาทั้งในพื้นที่และทั้งในแผนที่ ว่าควร จะทำอย่างไร แต่ว่าไม่ทราบเพราะอะไร เหมือนว่า บอก ว่ามันแพง ก็อย่างที่ว่ามันแพงจริง แต่คุ้ม อย่างไร ก็ตาม มาเมื่อไม่กี่วัน ได้พบท่านผู้ใหญ่ แล้วท่านผู้ใหญ่ บอกว่า ทำแน่ ควรจะทำ ก็ดีใจ เพราะว่า ในอนาคตอาจ จะมีความเสียหายน้อยลง โครงการที่วางมาไว้แล้ว 12 ปีก่อน ควรจะได้ทำ เหมือนตามที่ได้แจ้งว่าควรจะทำ ที่เขาทำในครั้งเมื่อ 12 ปีก็ทำนิด ๆ หน่อย ๆ มิหนำซ้ำยังไปสร้างอะไรที่ทำให้น้ำท่วมนั้นร้ายขึ้น ทำให้หาดใหญ่ท่วมในตัวเมือง ทีแรกไม่เชื่อ แต่ว่าก็เห็น ในรายงานท่วมถึง 3 เมตรก็มี เป็นความจริง ทำไมจึง ท่วมอย่างนั้น ก็เพราะว่าจากแรงคน แทนที่จะไป ทำเขื่อนที่อื่นเพื่อที่จะเก็บน้ำเอาไว้ หรือป้องกันน้ำ ท่วมหรือเก็บน้ำสำหรับมาทำการเพาะปลูกในหน้าแล้งไป ทำเขื่อนกั้นน้ำ ทำให้เมืองหาดใหญ่จมลงไปในน้ำ เวลาสร้างเขื่อนที่ไหนเขาก็ร้องโวยวายว่าทำให้ท่วม ทำให้เสียหาย ขอชดเชยต่าง ๆ ตอนนี้เอาแล้ว เป็นความ จริงแล้ว ต้องชดใช้เป็นพันล้าน เพราะว่าไปสร้างถนน ให้น้ำลงไม่ได้ จนกระทั่งเมื่อน้ำลงมาแล้ว น้ำก็เอ่อขึ้น มานอกจากนี้ ควรจะได้ทำพนัง ก็ใช้ถนนเหมือน กันอีกสายหนึ่ง ก็ไม่ได้ทำ ถนนที่ควรจะเป็นพนังนั้น ก็ทำเตี้ย ถนนที่เขื่อนนั้นทำสูง และไม่ทำช่องให้น้ำผ่าน แสดงให้เห็นว่า หลักวิชาไม่ได้อยู่ในสมองของผู้ปฏิบัติ ก็เลยทำให้นึกว่าถ้าคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือแม้แต่ไม่ได้เป็น ผู้เชี่ยวชาญทุกคนควร จะมีความรู้ความคิดที่จะป้องกันได้และสามารถที่จะแจ้งให้ผู้ที่มีความคิดควรจะมี ความคิด หรือผู้ที่มีหน้าที่ได้ทำ

[แก้ไข] ”ในหลวง-พระราชินี” ทรงห่วงผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ มีรับสั่งให้ 3 เหล่าทัพระดมกำลังช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน

สำนักราชเลขาธิการได้ออกแถลงข่าวด่วน ความว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีความห่วงใยอย่างมากกรณีราษฎรประสบอุทกภัยน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคเหนือตอนกลาง เนื่องจากอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ลำปาง และน่าน
ในคำแถลงของสำนักราชเลขาธิการฯ ระบุอีกว่า เมื่อเย็นวานนี้ (23 พ.ค.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีกระแสรับสั่งให้กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ร่วมมือกันดำเนินการเข้าไปช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัยร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ อย่างเร่งด่วน โดยทั้ง 3 เหล่าทัพได้รับสนองพระแสพระราชดำรัสในการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครั้งนี้อย่างเร่งด่วนต่อไปแล้ว อันนี้วิธีที่จะบริหารน้ำให้ดีก็วิธีที่ทำจะให้ทราบว่าเวลาไหนน้ำกำลังขึ้น ปล่อยให้ออกไป พร่องไปก่อนเปิด ซึ่งกว่าจะถึงตรงปลายน้ำก็ลง เพราะน้ำขึ้นเป็นเวลา น้ำลงเป็นเวลา แต่ว่าเวลาน้ำขึ้นมันมีเวลาของเขา จำเอาไว้ว่าขึ้นเวลานั้น สูงบางทีถึง 2 เมตรกว่า เวลาน้ำลงเขาก็ลงไป ทำให้เป็นจังหวะ ถ้าไม่ได้จังหวะ เปิดประตูน้ำเวลาน้ำขึ้นมันก็ทะลักเข้ามา ก็เข้ามาอาจจะท่วมได้น้ำอาจจะขึ้นไปสูงกว่า 2 เมตร น้ำขึ้นๆ 2 เมตร 20, 2 เมตร 30 แต่ถ้าเราปิดในเวลานั้นน้ำก็ไม่ทะลักมาในถนนในกรุงเทพฯ เวลาน้ำลงก็ปล่อยมา ก็หมายความต้องทำให้ถูกต้อง มันเป็นเวลา ถ้าทำเป็นเวลาแล้วน้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯ แต่ถ้าไม่ทำให้ถูกต้อง ถูกเวลา ถ้าฝนตกลงมาด้วย ซึ่งเดี๋ยวนี้ฝนตกไม่มาก แต่ถ้าฝนตกน้ำท่วม ถ้าน้ำท่วมรถแล่นไปก็จมน้ำ ฉะนั้น ผู้ที่มีหน้าที่ไม่ได้ทำ แต่ตอนนี้ก็ต้องทำต้องบอกเขาให้ปล่อยน้ำเวลาน้ำลง น้ำขึ้นก็กักเอาไว้ มีทุกอย่างมีแห่งเดียวที่มีอุปกรณ์อยู่แล้วที่อื่นก็ควรจะทำ รอมาหลายปีแล้วให้ทำแถวสมุทรสาครควรจะทำได้ แต่ก็ต้องลงทุนไม่ใช่น้อย
ข้อสำคัญต้องลงแรง ตามคลอง ชายทะเลก็เคยมี ในปี 38 นั้นส่งราชองครักษ์ไปดูโดยมากเป็นตอนกลางคืนไปเห็นคนนอนหลับสบายมีชายทะเล บางทีไป ไปทักทาย เพราะว่าได้ไปพบว่าจะเปิด ไม่เปิดแน่ เพราะว่าเขาไม่ได้บอกให้เปิดก็ไม่เปิด เขาไม่ได้บอกให้ปิดก็ไม่ปิด น้ำก็ทะลักท่วมในคลองท่วมหมดจากชายทะเล แต่ถ้าทำถูกจังหวะน้ำไม่ท่วม
ตอนที่ทำทางโน้น ทางฝ่าย กทม.นั้นก็ไม่รู้เรื่องว่ามันเป็นยังไง ไอ้คนที่ติดชายทะเลนอนสบาย เขาบอกว่า คุณมาจากไหน รู้เรื่องได้อย่างไร น้ำมันท่วมจริงๆ นะ เขานึกว่าทำไมมาบอก รู้ว่าขึ้นก็ไม่ปิด ทำไมรู้ว่ามันลงก็ไม่เปิด เขาก็ถามว่า อยู่ตำแหน่งอะไร เขาบอกว่าเป็นนายพล เป็นนายพลมาจากไหน มาจากในวังก็เลยชัดเจนรู้ ก็เลยเข้าใจว่าทำไมรู้เรื่องนี้เขาก็เชื่อ แต่ว่านายไม่เชื่อ นายผู้ใหญ่ต่างๆ เขาไม่ได้สั่งว่าเวลานั้นเวลานั้นต้องเปิดต้องปิด ที่ต้องเปิดต้องปิดเวลานี้เพราะเขาว่าน้ำมันไม่คอยใคร น้ำขึ้นน้ำลง ท่านเป็นทหารเรือ ผู้ที่เป็นทหารเรือต้องรู้เรื่องน้ำขึ้นน้ำลงเวลาไหน แล้วก็ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำท่วม
อันนี้ไม่กระทบตัวเขานอนสบาย ไม่ท่วม แต่ว่าคนที่อยู่ข้างในท่วม ฉะนั้น เดี๋ยวนี้ยังมีเวลาแก้ไข ไม่งั้นเดี๋ยวปีใหม่น้ำก็ท่วมอีกก็เลยบอกว่า ท่านที่มีหน้าที่ให้ไปดู ที่ไปเมื่ออาทิตย์ 2 อาทิตย์สมเด็จพระเทพฯไปดูตอนมืด มืดแล้วเราต้องไป เพราะเขาไม่เห็น แต่ยังไงก็น่าจะไป หรืองานข้าพเจ้าหมดแล้ว 2-3 นี้ก็จะน่าจะหมดก็จะไปดู พระเทพฯท่านก็ไป ไปดูเพราะว่ายังจำเป็นที่จะดู แต่ว่าจนถึงวันนี้ข้าพเจ้าไปไม่ได้ ไม่ไหวปวดหลังก็เลยไม่ได้ไป ที่ไปดูตรงนี้สมเด็จพระบรมฯ สมเด็จพระเทพฯก็ไป แต่ว่าบอกว่ายังไม่รู้เรื่องว่าควรจะเปิด ปิดยังไง เพราะมันต้องมีการตั้งเวลาให้เหมาะสม ให้ถูกต้อง แต่ตอนนี้ก็เปิด ทางชลประทานเขาว่า เขาไล่ที่ไปหมดแล้ว ปลายปียังมีอีกเดือนที่จะสกัดแม่น้ำเพราะน้ำฝนก็ยังลง เลยให้ทำให้ถูกต้องเพราะเชื่อว่าจะดีไม่ช้าเกินไป นี่ทำไมจวนจะหมดฤดูกาลแล้วถึงมาพูด
แต่ว่ามาพูดเพราะว่าที่ผ่านมาพูดไม่ค่อยได้ยิน เพราะเสียงมันแหบ วันนี้ได้ใช้อย่างที่บอก ยาที่บอกนี่มีคนให้ก็จะกินต่อไป ต้องจิบทีละนิด วันนี้เสียงนับว่าดี ได้แจ้งให้ทราบว่าต้องทำอย่างไรสำหรับน้ำท่วม แต่ว่าการที่พูดเราก็ไม่ได้พูดมากเพราะว่าคนพูดมากเกินไปน้ำท่วมทุ่ง กลัวเดี๋ยวน้ำท่วมทุ่ง ท่วมตลอดจากอ่างทองเลยมาถึงนนทบุรี น้ำท่วมทุ่งก็คือคนพูดมากเกินไป คนพูดมากเกินไปทำน้ำท่วมทุ่ง ท่วมที่นาเขาท่วมหมด ก็เลยไม่ค่อยอยากพูดมากเกินไป พูดมากแล้ว คนอื่นๆ ก็ไม่สำคัญ คนอื่นๆ ที่ไม่ได้พูด เรื่องอื่นๆ ที่พูดเราเอาไว้ปีหน้า ปีหน้าน้ำไม่ต้องท่วม เพราะว่านายกฯไม่อยู่แล้ว ไม่รู้ว่าปีหน้าจะไม่อยู่ อาจจะอยู่ก็ได้ พูดอย่างนี้เดี๋ยวฝรั่งเขาหาว่า เดอะ คิง นั้นสั่งนายกฯ ไม่ ไม่สั่ง สั่งไม่ได้ พลเอกสุรยุทธ์ใครจะมาสั่งให้ทำอะไรสั่งไม่ได้ เพราะว่าท่านแข็ง เพราะท่านก็ไม่ได้ทำอะไรสุ่มสี่สุ่มห้า อยู่ในหลักในเกณฑ์ ฉะนั้น ก็ปีหน้าสั่งอะไรไม่ได้แล้ว ปีหน้าท่านก็สบาย แสดงให้เห็นว่า ทำอะไรที่ดี เรียบร้อย ก็เชื่อว่าจะสำเร็จ ก็มีบางอย่างที่ทำแล้วรู้สึกไม่แน่ใจว่าทำถูกหรือไม่ถูก แต่ยังไงก็เชื่อว่าทำด้วยความตั้งใจดี ทำด้วยความตั้งใจแน่วแน่ ก็คงต้องผ่านอีกปี ข้ามปี แล้วก็ไม่ต้องพูดมาก เชื่อว่าถ้าทำต่อไปการปกครองก็จะได้ทำประโยชน์ ได้ทำตัวอย่างแล้ว แต่ถ้าคนไม่เอา ไม่ต้องการตัวอย่างก็ช่างหัวเขา คนที่ตำหนิติเตียนไม่เชื่อคนที่ทำด้วยความตั้งใจดี ไม่มีผลประโยชน์ของตัว เป็นของสำคัญ แต่ยังไงก็ตาม เชื่อว่าถ้าหากทุกคนที่มีตำแหน่งที่สำคัญ ต้องทำด้วยความตั้งใจดี ทำด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ก็เชื่อว่าบ้านเมืองจะผ่านพ้นอันตรายได้

[แก้ไข] ทรงแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างอัศจรรย์
เป็นที่น่าพิศวงกันในหมู่ประชาชนทั่วไปว่า เหตุใดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงทราบความเป็นไปของปัญหาความเดือดร้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองได้อย่างรวดเร็วฉับไวนัก โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วม ซึ่งไม่เพียงทรงทราบข้อมูลอย่างลึกซึ้งทุกซอกทุกมุมของพื้นที่ที่กำลังเดือดร้อน แต่ยังทรงพระปรีชาสามารถพระราชทานแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้อย่างน่าอัศจรรย์ เล่ากันว่าผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำของเนเธอร์แลนด์ที่เคยมาขอดูแผนที่ป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครตามพระราชดำริหลายปีมาแล้ว เห็นแผนที่แล้วไม่อยากเชื่อว่าเป็นฝีมือของพระองค์ บอกว่าเป็นแผนที่ที่วางโดยผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำจริงๆ ทั้งทิศทางการระบายน้ำ การไหลเวียน การอ้างถึงตัวเลขต่างๆครบถ้วน เรียกได้ว่าเป็นแผนที่มีประสิธิภาพสูงสุด
กระแสพระราชดำรัสในหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ที่ทรงให้ประทานสัมภาษณ์ ทำให้ประชาชนได้ทราบว่าทำไมพระองค์ถึงทรงรู้จริง พูดเรื่องคลองแสนแสบที่สมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ ไปดูมานั้น ความจริงเราไปสำรวจ ไปดูก่อนพระเทพเสียอีก ก็ไปเงียบๆ นั่งเรือจากวังสระปทุม ล่องไปตามคลองแสนแสบ ซึ่งตอนนั้นน้ำเน่าเหม็นมาก ตอนที่ไประดับน้ำค่อนข้างสูง ต้องนั่งเรือลอดใต้สะพานต่างๆ ซึ่งสกปรกรกรุงรัง ราชองค์รักษ์ต้องคอยบอกให้ก้ม ไม่งั้นก็จะชนสะพาน ซึ่งก็เป็นประโยชน์มาก ได้เห็นสภาพคลองแท้จริง ได้เห็นชีวิตใต้สะพานว่าเป็นอย่างไร ก็เดินทางไปไกล ไปจนสุดคลองแสนแสบเข้าคลองบางกะปิ ได้รวบรวมข้อมูลและสภาพความเป็นจริงนำมาพิจารณาแก้ไข
หรืออย่างฝั่งธนบุรี ก็ได้นั่งรถไปสำรวจหลายครั้ง ทั้งด้วยเรื่องปัญหาจราจรและเรื่องน้ำท่วม บางครั้งไปถึงท่าเรือ ไปถึงสถานีรถไฟด้านนอกๆ ออกไป ก็ได้คุยกับประชาชนว่าเป็นอย่างไร เดือดร้อนอย่างไร ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก
เมื่อตอนน้ำท่วมใหญ่ก็เคยนั่งรถสเตชั่นวากอนไปดูระดับน้ำ ตอนนั้นระดับน้ำค่อนข้างสูงมาก รถก็วิ่งตามถนนที่กลายเป็นคลองไปเรื่อยๆ รถเมล์วิ่งสวนมาเร็วๆ ทำให้เกิดคลื่นใหญ่กระแทกรถสเตชั่นแวกอนที่นั่งจนเซไปเซมา ต้องนับว่าเป็นประสบการณ์ที่แปลก ไม่น่าเกิดขึ้น เพราะนั่งรถยนต์แท้ๆ แต่เจอคลื่นจากรถเมล์กระแทกเอาได้
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาเล่าว่า นอกจากทรงลงพื้นที่จริงเพื่อทรงรับทราบปัญหาด้วยพระองค์เองแล้ว ยังศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดลึกซึ้ง ขณะที่หากเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิชาการ อาจเรียกแผนที่เก่าย้อนหลังหนึ่งหรือสองสามฉบับมาดูเท่านั้น แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกแผนที่ที่มีการจัดทำมาตั้งแต่รัชกาลที่5 มาทอดพระเนตร ทำให้ทรงทราบว่า ใต้ถนนสุขุมวิทมีท่อฝังมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ได้กลับมาใช้ประโยชน์ซึ่งเป็นเรื่องมหัศจรรย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น