1. สร้างแรงจูงใจ
· คิดถึงโทษของบุหรี่ในระยะสั้น และยาว
· คิดถึงผลดีต่อสุขภาพเมื่อหยุดบุหรี่
· คิดถึงครอบครัว โดยเฉพาะบุตรธิดา หรือบิดามารดา
2. กำหนดวันงดบุหรี่
ควรหาวันสำคัญของศาสนา หรือของครอบครัว ควรเป็นระยะ 1-2 สัปดาห์แรกของการเริ่มมีความคิดตั้งใจมั่น
3. ปฏิบัติการฉับไว
: งดบุหรี่แบบหักดิบ ได้ผลสำเร็จมากกว่าแบบค่อยๆ ลด
4. การเตรียมตัว
เตรียมสิ่งแวดล้อมในบ้านให้มีบรรยากาศปลอดบุหรี่ ได้แก่ให้เก็บบุหรี่และภาชนะหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ ( ไม้ขีดหรือไฟแช็ก, ถาดรองขี้เถ้าบุหรี่)ไม่ให้อยู่ในสายตาทำความสะอาดบ้านและห้องทำงานให้ปลอดจากกลิ่นบุหรี่
· การเตรียมใจและกายให้พร้อมสำหรับอาการถอนที่จะเกิดขึ้น มักมีใน 2 สัปดาห์แรกแล้วจะลดลงและหายไป ได้แก่อาการหงุดหงิด คอแห้ง
- ให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นเวลานานอย่างน้อยวันละ 30 นาที ได้แก่การวิ่ง เดินเร็ว ๆถีบจักรยาน เป็นต้น การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยลดความเครียดได้ดีที่สุด
· ควรบอกความตั้งใจให้ครอบครัวและเพื่อนสนิทเพื่อการเป็นกำลังใจและเข้าใจสำหรับเพื่อนสนิทที่สูบบุหรี่ ควรชักจูงให้เลิกพร้อมกัน ขอร้องให้เพื่อนที่ยังเลิกไม่ได้หยุดสูบบุหรี่ช่วงที่พบปะหรือติดต่อทางโทรศัพท์แทนในระยะแรก
· ผู้ที่เคยเลิกแล้วไม่ประสบผลสำเร็จไม่ควรท้อถอย เพราะบางครั้งความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นจากความพยายามเพียงครั้งเดียว และไม่ควรอายในการพูดความจริง เพราะการพยายามงดสูบบุหรี่มีแต่คนที่ปรารถนาดีต่อเราจะให้กำลังใจ การเลิกไม่สำเร็จในครั้งเดียวไม่ได้แปลว่าจะเป็นคนที่ไม่ประสบความสำเร็จในการทำงาน ให้ทบทวนว่ามีจุดบอดอะไรที่เป็นอุปสรรค์หรือกิจกรรมร่วมทำให้กลับมาสูบบุหรี่ใหม่เพื่อหากลยุทธ์แก้ไขใหม่ในโอกาสต่อไป อาจพูดคุยกับผู้ที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จเพื่อเป็นกลยุทธ์ ให้ตนเอง
5. การปฏิบัติตนช่วงที่งดบุหรี่
· ให้หยิบภาพคนที่เป็นกำลังใจสูงสุดติดกระเป๋าเงินมาดู เพื่อเตือนสติให้ยึดมั่นต่อความตั้งใจและ เพื่อเป็นกำลังใจ
· ให้ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ เมื่อเกิดอาการเปรี้ยวปาก อยากบุหรี่
· งดกิจกรรมร่วมที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ เช่นการดื่มเหล้า ชา กาแฟและเปลี่ยนอิริยาบถด้วยการเดินออกจากโต๊ะทันทีหลังอาหารถ้ามักสูบบุหรี่หลังอาหาร
· หลีกเลี่ยงกลุ่มเพื่อนที่สูบบุหรี่ไประยะหนึ่ง ถ้าจำเป็นต้องติดต่อให้ใช้โทรศัพท์การรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรเลือกมุมปลอดบุหรี่
· ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยทำให้น้ำหนักคงที่หรือกระชับขึ้นเมื่องดบุหรี่ ควรเริ่มตอนเช้าหลังตื่นนอน และแปรงฟัน เพราะเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถที่ดีที่สุดสำหรับผู้ติดบุหรี่ซึ่งมักสูบบุหรี่หลังจากตื่นนอนเช้า
· หาวิธีอื่น ๆ ในการลดเครียด นอกจากการออกกำลังกาย
- ในระยะสั้นได้แก่ อ่านหนังสือชวนหัว อาบน้ำ
- ในระยะยาว หาสาเหตุหลักของความเครียด และแก้ที่สาเหตุ
ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับกลุ่มวัยรุ่น
ควรหากิจกรรมเสริมหลักสูตร เรียนวิชาสันทนาการอื่น ๆที่น่าสนใจ เพิ่มความรู้รอบตัวมีทักษะในสังคมปัจจุบันและอนาคตนอกจากช่วยผ่อนคลาย พบเพื่อนใหม่มากกว่าการไปจับกลุ่มคุยเรื่องทั่วไปที่บางครั้งหาสาระได้น้อย ได้แก่ การเรียนและซ้อมดนตรี เล่นกีฬา ( เทนนิส ว่ายน้ำฟุตบอล ปิงปอง ตะกร้อ ฟันดาบ เปตอง กอล์ฟ ขี่ม้า สควอช เป็นต้น) เรียนนาฏศิลป์ เต้นรำเข้าร่วมกิจกรรมสนุกสนานสร้างทักษะภาวะผู้นำ กล้าแสดงออก ของ YMCA, YWCAอาจเรียนวิชาชีพชั่วโมงละบาทของศูนย์ฝึกวิชาชีพหลวงประธานราษฎร์นิกรที่หาดใหญ่ได้ความบันเทิงและความรู้ หรือสถาบันบันเทิงประเทืองสติปัญญาท้องถิ่นอื่น ๆ ซึ่งมีให้เรียนรู้สนุกสนานมากมาย
ควรหลีกเลี่ยงสถานบันเทิงที่มีควันบุหรี่มากเช่น ผับ ไนท์คลับ เข้าวงสนุกเกอร์ สถานบันเทิงคาราโอเกะ ประเภทมีผู้สูบบุหรี่จำนวนมากเพราะจะทำให้ได้ควันพิษโดยไม่จำเป็น นอกจากการไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล
**การงดสูบบุหรี่แบบหักดิบ ไม่สูบเลย ดีกว่าการลดจำนวนลง**
สูบบุหรี่วันนี้อาจนำพาให้สูบกัญชา ติดเฮโรอินในวันข้างหน้า
สถิติวัยรุ่นที่ไม่สูบบุหรี่ เรียนดีกว่าผู้ที่ติดบุหรี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น