จำนวนผู้เข้าชม

หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ิวิธีทำขนมตาล

วิธีทำขนมตาล นำข้าวสารมาแช่น้ำ 1 คืน แล้วโม่ให้เป็นน้ำแป้ง ใส่ถุงผ้าบีบน้ำออกหมดจนเหลือแต่เนื้อแป้งข้าวเจ้า

ขนมตาล

คุณยายวัฒนา เปลี่ยนศรีแก้ว ช่วยแม่ทำน้ำพริกและขนมไทย ขายในตลาดนางเลิ้งมานานกว่า 60 ปี คุณยายวัฒนามีโอกาสนำน้ำพริกและขนมไทย ทูลเกล้าฯถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งที่สองพระองค์เสด็จฯ วัดแคนางเลิ้ง

คุณยายวัฒนาเล่าว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีรับสั่งถามถึงวิธีการทำขนมไทย และขอให้ช่วยรักษาสูตรการทำขนมไว้เป็นมรดกของชาติด้วย เมื่อผมขอวิธีทำ ขนมตาล มาเผยแพร่ คุณยายจึงสอนดังนี้ครับ

เครื่องปรุง

1.ข้าวสารเก่า 1 กิโลกรัม
2.เนื้อลูกตาลสดจากเพชรบุรี 2 ขีด
3.กะทิสด 1.5 กิโลกรัม
4.ผงฟู 1 ช้อนชา
5.น้ำตาลทราย 7 ขีด

วิธีทำ

1.นำข้าวสารมาแช่น้ำ 1 คืน แล้วโม่ให้เป็นน้ำแป้ง ใส่ถุงผ้าบีบน้ำออกหมดจนเหลือแต่เนื้อแป้งข้าวเจ้า
2.ค่อย ๆ รินน้ำหัวกะทิใส่แป้ง แล้วนวดให้น้ำกะทิผสมกับเนื้อแป้ง
3.ยีเนื้อลูกตาลให้ละเอียด ผสมลงไปในแป้ง จึงเทน้ำหางกะทิลงไปกวนกับแป้ง
4.เติมน้ำตาลทรายลงไปกับน้ำแป้ง แล้วกวนไปเรื่อย ๆ จนน้ำแป้งเหนียวหนึบ
5.เติมผงฟูลงกวนกับแป้งจนเข้ากัน แล้วหยอดแป้งลงในกระทงที่เตรียมไว้
6.นำไปนึ่งในซึ้งร้อนจัดนาน 15 นาที จะได้ขนมตาลฟูนุ่ม หอมกลิ่นลูกตาล

ทุกวันนี้คุณยายวัฒนาใช้เวลาวันเสาร์-อังคาร จัดทำกระทง โม่แป้งข้าวเจ้า แล้วนำมาทำขนมตาล ขนมกล้วย ตะโก้ ขนมสอดไส้ ขนมข้าวโพด ขนมมันสำปะหลัง ขนมมันต่อเผือก ขนมเทียน ขายที่หน้าบ้าน ตรอกตลาดนางเลิ้ง 1 ทุกวันพุธ-ศุกร์ โทร. 0-2281-2771

25-29 พฤษภาคมนี้ ผมจะพาไปกินห่านพะโล้แต้จิ๋ว แล้วไปไหว้ตั่วเล่าเอี้ย ไต่ฮงกง ที่ซัวเถา ไหว้เจ้าแม่ทับทิมที่เกาะเหมยโจว เจ้าแม่กวนอิมที่เซี๊ยะเหมิน ชุมชนมุสลิมเฉวินโจว ชมบ้านต้นตระกูลหวั่งหลีที่งดงามสุด ๆ สอบถาม โทร. 08-1251-9122.

ที่มา : เดลินิวส์

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อาณาจักรสุโขทัย









อาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัย กลางพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 18 อาณาจักรเขมรเป็นศูนย์กลางอำนาจของภูมิภาคที่
เป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน อาณาจักรเขมรตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างมีเมืองพระนคร (ปัจจุบันเรียกว่า เสียมราช) เป็น
เมืองหลวง ได้ขยายอำนาจเข้ามาทั้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลางของดินแดนที่
เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เขมรได้เมืองละโว้ (ลพบุร) ไว้เป็นเมืองหน้าด่านด้านตะวันตกของเขมร แต่เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
(ครองราชย์ พ.ศ. 1725 – 1761) อาณาจักรเขมรก็เสื่อมอำนาจลง คนไทยกลุ่มต่างๆ รวมทั้งคนไทยที่สุโขทัยจึงพากันตั้งตนเป็นอิสระ
อาณาจักรสุโขทัยเป็นราชธานีอิสระ ได้มีการชิงเอาอำนาจจากผู้ครองเดิมคือ ขอม เมื่อปี พ.ศ. 1781 โดยพ่อขุนบางกลางหาว
(เดิมคือ ขุนบางกลางท่าว นัยว่ามีชื่อว่า “ร่วง”) กับขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด เชื้อสายคนไทยที่แต่งงานกับพระนางสิขรมหาเทวี พระธิดาของกษัตริย์ขอม ครั้ง
นั้นพระยาขอมได้พระราชทานพระขรรค์ชัยศรีและพระราชทานนาม “ศรีอินทราทิตย์” ให้ขุนผาเมือง ราชบุตรเขยผู้นี้ เพื่อที่จะแต่งตั้งให้มีอำนาจในอาณาจักรขอมของชาวสยาม
แต่พ่อขุนบางกลางหาว กับพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันชิงอำนาจจากขอม ซึ่งขณะนั้นมีโขลญสมาดลำพง ปกครองเมืองสุโขทัยอยู่ เมื่อทำการยึดอำนาจขอมได้สำเร็จขุนผาเมืองหรือหมรเดงอัญผาเมือง จึงตั้งพ่อขุนบางกาลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์ โดยให้ใช้นาม “ศรีอินทราทิตย์” (ศรีอินทรบดินทรทิตย์) แทนเพื่อรักษาไมตรีและทำให้พระยาขอมเข้าใจว่าราชบุตรเขยได้ครองเมืองของชาวสยามแล้ว
สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีมเหสีพระนามว่า “นางเสือง” ทรงมีพระโอรสธิดารวมห้าองค์ เป็นราชโอรสสามองค์ ราชธิดา
สององค์ ราวปี พ.ศ. 1800 ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด (อำเภอแม่สอด จ.ตาก ปัจจุบัน) ได้ยกองทัพเข้าล้อมเมืองตากไว้ เจ้าเมืองฉอดจึงขอความช่วยเหลือจาก
กรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ยกกองทัพไปช่วยและมีพระราชโอรสองค์เล็ก ชื่อ เจ้าราม ซี่งมีพระชนมายุได้ 19 ปี และได้เข้าร่วมรบจนชนะขุนสามชน
เจ้าเมืองฉอด ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า “พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชน ขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า....” “ขุนสามชนขี่ช้างศึกชื่อ
“มาศเมือง” จะเข้าชนช้างของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระราชโอรสได้เห็นเช่นนั้น ก็ไสช้างบเข้ารัรบมือไว้ และได้ชนช้างกับขุนสามชน “กูบ่หนี กูขี่ช้าง
เนกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน” และการทำยุทธหัตถีครั้งนี้ ทำให้ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดพ่ายแพ้ ยกทัพล่าถอยไป พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
จึงพระราชทานนามแก่พระราชโอรสว่า “พระรามคำแหง”
สมัยขุนปาลราช หรือ พ่อขุนบางเมือง โอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขึ้นครองในปีใดไม่ปรากฏ ประมาณว่า พ.ศ. 1800 สวรรคตปี พ.ศ. 1820
อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆ สมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดงรัก ทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดี ทิศใต้จรดแหลมมาลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกัน 6 พระองค์ อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ.1921
ลักษณะการปกครองของสุโขทัย เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตร หรือการปกครองคนในครอบครัว (Paternalism) หรือ
แบบบิตุลาธิปไตย คือ พระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการเปรียบเสมือนลูก หรือคนในครอบครัว ทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ
ศาสตราจารย์ James N.Mosel ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปกครองของไทยในสมัยสุโขทัยว่า มีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครอง
แบบพ่อปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น มีลักษณะคล้ายเจ้าผู้ครองนครกับยังได้ย้ำว่า การปกครองแบบหัวเมือง หรือเจ้าผู้ครองบของ
ไทยแตกต่างกับระบบเจ้าผู้ครองนครของยุโรป อย่างไรก็ดี สำหรับการปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง
ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ ได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของประชาชนทั้งปวงวิธีการ
ปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกั้นเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง
เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็นเมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่งๆ เรียกว่า ลูกขุน วิธีการปกครองของไทย
เป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทยมา จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่าปกครองแบบพ่อปกครองบุตรยังใช้หลักใน
การปกครองประเทศไทยมาจนถึงสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่าปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้ มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของ
คนไทยเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าแผ่นดินสมัยสุโขทัยตอนต้น ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่า พ่อขุน จนถึงสมัยกรุงอยุธยารุ่งเรือง และยึดครอบ
สุโขทัยได้ ก็นำเอาของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยาเสีย ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ซึ่งเดิมเปรียบ
เสมือนพ่อกับลูก ได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไป
สมัยพ่อขุนรามคำแหง ทรงเป็นแบบอย่างระบบการปกครองแบบพ่อปกครองลูก (บิตุลาธิปไตย) หลักฐานใน
หลักศิลาจารึกชี้ให้เห็นว่าในสมัยพ่อขุนรามคำแหงไม่มีคำว่า “ทาส” แต่จะเรียกเหล่าประชาชนทั้งหลายว่า “ลูกบ้าน ลูกเมือง” “ฝูงท่วย
(ทวยราษฎร์) “ไพร่ฟ้าข้าไท” “ไพร่ฟ้าหน้าปก” “ไพร่ฟ้าหน้าใส” ชาวสุโขทัยทุกคนมีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมรับฟังและแสดงความคิดเห็น
ในการออกว่าราชการงานเมืองของพ่อขุนรามคำแหง กลางป่าตาลได้อย่างเสรี ไม่แบ่งชั้นวรรณะ ดังปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า “หัวพุ่ง หัวรบ
ก็ดีบ่ฆ่า บ่ตี ในปากปูดมีกดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้
ไปลั่น กระดิ่ง อันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึงชม....”
เมื่อ พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงคิดค้นประดิษฐ์ ลายสือไท หรืออักษรไทยขึ้น แล้วโปรดให้ทำการจารึกไว้ในแท่งศิลาหินชนวนสี่เหลี่ยมสูง 111 เซนติเมตร ดังกล่าวไว้ว่า “ เมื่อก่อนลายสือไทนี้บ่มี 1205 ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจแลใส่ลายสือไทนี้ ลายสือไทนี้จึงมีเมื่อพ่อขุนผู้นั้นใส่ไว้....”
พ่อขุนรามคำแหง ทรงโปรดให้สร้ง “ขดารหินมนังษีลาบาตร” ในป่าตาลขึ้นเป็นแท่นที่ประทับในการเสด็จออกขุนนาง เมื่อว่างจากการออกขุนนาง ก็ให้ใช้เป็น “อาสน์สงฆ์” สำหรับพระภิกษุที่มีภูมิธรรมและพรรษาสูงขึ้นนั่งแสดงธรรมแก่อุบาสกอาบาสิกา ในวันศีลวันพระ และในสมัยของพระยาเลอไท ราชโอรสของพ่อขุนรามคำแหง ได้นำพระพุทธศาสนา “ลัทธิลังกาวงศ์” มาเผยแพร่เพิ่มเติม เป็นการปลูกฝังพุทธศาสนาให้กับชาวสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจอยู่ที่การเกษตรเป็นหลัก โดยมีการค้าและการทำเครื่องสังคโลกเป็นส่วนประกอบสำคัญ จากหลักฐานต่างๆ เท่าที่ได้ค้นพบและศึกษาค้รนคว้ากันมา เศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัยน่าจะมีเพียงแค่พอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้น มิได้มีความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์มากเท่ากับอาณาจักรอยุธยา ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิศาสตร์และทำเลที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัยไม่เอื้อต่อการเพาะปลูกและการเป็นศุนญืการค้ามากเท่ากับอาณาจักรศรีอยุธยา ซึ่งมีอาณาบริเวณอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง สภาพทางเศรษฐกิจที่ไม่อุดมสมบูรณ์มากนี้เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้อาณาจักรสุโขทัยไม่สามารถมีอำนาจทางการเมืองอยู่ได้ยืนนาน
ลักษณะสังคมการเกษตรของอาณาจักรสุโขทัย มีสภาพพื้นที่ราบที่ใช้ในการเพาะปลูกแบ่งอย่างกว้างๆ ได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
ที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบเชิงเขา บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำนี้มีพื้นที่ตั้งแต่อุตรดิ ศรีสัชนาลัย สุโขทัย
เรื่อยลงมาจนถึงนครสวรรค์พื้นที่แถบนี้มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำกว้างใหญ่และเนื่องจากลำน้ำยมและน้ำน่านมีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลบ่ามาจาก
ภูเขาทางภาคเหนือ ทำให้การระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างไม่ทัน ยังผลให้มีน้ำท่วมที่ราบลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านนี้ ซึ่งบริเวณนี้ควรจะทำ
การเพาะปลูกได้ดีกลับได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร และทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร เป็นพื้นที่ดอน ดินไม่ใคร่อุดมสมบูรณ์ จึงทำ
ให้การเพาะปลูกไม่ได้ผลดีนัก จากสภาพภูมิศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้การเกษตรในอาณาจักรสุโขทัยต้องใช้ระบบชลประทานเข้ามาช่วยด้วย จึงมีการ
สร้างเขื่อนสรีดภงค์ หรือทำนบพระร่วง ซึ่งเป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่ สร้างอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองสุโขทัย นอกจากทำนบเก็บกักน้ำแล้วยัง
มีการสร้างเหมืองฝายและขุดคูคลองส่งน้ำเป็นแนวยาวตั้งแต่ศรีสัชนาลัย ผ่านสุโขทัยออกไปถึงกำแพงเพชรด้วย
พืชสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย คือ ข้าว รองลงมาได้แก่ มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน หมากพลู พืชไรและไม้ผลอื่นๆ ผลผลิตที่ได้คงมีปริมาณเพียงแค่บริโภคภายในอาณาจักรเท่านั้น และคงจะไม่อุดมสมบูรณ์ถึงขั้นที่จะเลี้ยงประชากรจำนวนมากๆ ได้ สุโขทัยได้สนับสนุนให้มีการเพาะปลูกด้วยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินแก่ผู้บุกเบิกหักร้างถางพงทำการเกษตรด้วย ดังปรากฏในความตอนหนึ่งของศิลาจารึหลักที่ 1 ว่า “สร้างป่าหมากผ่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้....ใครสร้างได้ไว้แก่มัน” “ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ล้มตายหายหว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมันช้างขอ ลูกเมียเยียข้าวไพร่ฟ้าข้าไทป่าหมากป่าพลูพ่อเชี้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น”
แม้กรุงสุโขทัยจะมีอายุยืนนานถึง 20 0 ปี มีพระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงสืบต่อกันมา 9 รัชกาล แต่สุโขทัยก็มีอิสระ
เฉพาะ 120 ปีแรก ช่วงที่เจริญทึ่สุดคือ สมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ดังในศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า “กลางเมืองสุโขทัย มีตระพังโพย
สีใสกินดีดังกินโขงเมื่อแล้ง มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฎฐารศ มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอัน
ราม มีเถร มหาเถร...” ส่วนภายนอกเมืองสุโขทัยก็มีความเจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกับภายในเมืองสุโขทัย เช่น “มีพิหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมาก
ป่าพลู มีไร่ มีนา มีถิ่น มีฐาน มีบ้านใหญ่ บ้านราม มีป่าม่วง ป่าขาม ดูงามดังแกล้ง...” สุโขทัยได้มีการก่อสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์หลายอย่าง
เช่น ระบบชลประทาน คือ สรีดภงส์ พร้อมกับขุคคลองธรรมชาติ แล้วนำน้ำไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำนอกเมือง และในเมือง และตามวัดวาอาราม
รวมทั้งสิ้น 7 สรีดภงส์
มีการค้นพบเตาทุเรียงเป็นจำนวนมาก ตั้งเรียงรายอยู่เป็นกลุ่ม กำแพงเมืองเก่าถึงบ 3 กลุ่ม รวม 49 เตา คือ ทางด้านทิศเหนือนอกตัวเมือง ข้างกำแพงเมืองด้านทิศใต้ และทางทิศตะวันออก จนอาจเรียกได้ว่า เป็นนิคมอุตสาหกรรม แสดงว่าสุโขทัยยุคพ่อขุนรามคำแหง เป็นศูนย์การค้าและการผลิตที่ใหญ่ ในการผลิต ถ้วยชามสังคโลก ซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลาย มีชื่อเสียงมาก มีการส่งสินค้าออกไปขายยังต่างประเทศ เช่น หมู่เกาะบอร์เนียว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย (ชวา) แม้ประเทศญี่ปุ่นก็มีเครื่องปั้นดินเผาสังคโลกตกทอดเป็นมรดกจนถึงปัจจุบัน
ในด้านการค้า สุโขทัยเปิดศูนย์การค้าประจำเมืองสุโขทัยขึ้นเรียกว่า “ตลาดปสาน” เพื่อชักจูงให้พ่อค้าต่างเมืองทั้งใกล้และไกล
นำสินค้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยน โดยไม่เรียกเก็บค่าภาษีอากร ทำให้มีชาวต่างประเทศสนใจนำสินค้ามาขายที่เมืองสุโขทัยกันมาก ดังศิลาจารึกหลักที่ 1
กล่าวว่า “ เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า คาจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า...” นอกจากการ
ติดต่อค้าขายแล้ว “ตลาดปสาน” ยังเป็นจุดแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชนต่างชาติด้วย
ด้วยกรุงสุโขทัยเป็นแคว้นใหญ่ มั่นคง และเข้มแข็ง เป็นที่รับรู้กันในแผ่นดินไทยและชาวต่างชาติ เช่น จีน และแคว้นอื่นๆ ในเอเซีย
ตะวันออกเฉียงใต้ ดังมีหลักฐานตามเอกสารจีนบันทึกไว้ว่า ในระหว่างปี พ.ศ.1835 ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง และปี พ.ศ. 1866 สมัยพระเจ้าเลอไท
สุโขทัยได้ส่งทูตติดต่อกับจีนหลายครั้งด้วยกัน โดยได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิ์จีน รวมทั้งได้ขอม้าขาว และของอื่นๆ จากจีนเป็นการตอบแทนด้วย
ในพ.ศ. 1829 สมัยพ่อขุนรามคำแหง พระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) ได้เป็นกษัตริย์มอญนั้น และมีฐานะเป้นราชบุตรเขตของพ่อขุนรามคำแหง โดยได้อภิเษกสมรสกับพระธิดาของพ่อขุนรามคำแหง ครั้งเมื่อเป็นมะกะโท เข้ามารัรบราชการเป็นตะพุ่นหญ้าช้าง จึงทำให้อาณาจักรสุโขทัยได้อาศัยเมืองเมาะตะมะเป็นเมืองท่าสำหรับค้าขายกับพ่อค้าชาวอินเดีย เปอร์เซีย และอาหรับ โดยใช้เส้นทางเดินบกผ่านเมืองกำแพงเพชรและเมืองตาก ทางด้านแม่ละเมาที่เมืองฉอด (อำเภอแม่สอด)
ในหลักฐานของจีนในราชวงศ์หงวน สมัยจักรพรรดิหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ (กุ๊ปไลข่าน) ได้ระบุไว้ว่า อาณาจักรเสียนหรือสุโขทัย (เสียมก๊ก) สมัยพ่อขุนรามคำแหง ได้ส่งทูตไปติดต่อกับจีนรวม 10 ครั้ง ส่วนจีนได้ส่งฑูตมา 3 ครั้ง นอกจากนั้นยังมีปรากฏในรายงานว่า ในฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เรือสำเภาจากจีนจะมาจอดที่สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช ปัตตานี และเมื่อถึงฤดูลมมารสุมตะวันตกเฉียงใต้มาถึง เรือสำเภาก็จะแล่นใบกลับไปเมืองจีน
สมัยพญาเลอไทย โอรสของพ่อขุนรามคำแหง ในจารึกขอมเรียกว่า “หฤทัยชัยเชษฐสุริวงศ์” และในชินกาลมาลินีเรียกว่า
“อุทกโชตถตราช” (พระยาจมน้ำ) ครองราชประมาณ พ.ศ. 1860 ปรากฏว่าในสมัยนี้เมืองรามัญเป็นกบฎ หลังจากพระเจ้าแสนเมืองมิ่งสิ้นพระชนม์
พระเจ้าหฤทัยชัยเชษฐฯ ได้ยกกองทัพไปปราบปรามไม่สำเร็จ จนเป็นเหตุให้เมืองรามัญแข็งเมืองตั้งแต่นั้นมา และชาวสยามทางภาคกลาง พวกเมือง
ละโว้ และเมืองสุพรรณบุรี ภายใต้การนำของพระเจ้าอู่ทอง ได้อพยพมาตั้งอาณาจักรใหม่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเรียกว่า “กรุงศรีอยุธยา”
สมัยพญาลิไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1 โอรสของพระยาเลอไทยในจารึกว่า “พระธรรมราชา” ทรงทำนุบำรุงบ้านเมือง
โดยการทำการขุดคลอง ทำถนนจากกรุงสุโขทัยไปจนถึงเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองน้อยใหญ่ เป็นการถวายเป็นพระราชกุศลต่อพระบิดา ถนนนี้เรียกว่า
“ถนนพระร่วง” มีความยาวจากเมืองกำแพงเพชรไปเมืองสุโขทัยต่อไปจนถึงเมืองสวรรคโลก ในปี พ.ศ. 1902 พระองค์ทรงสร้างพระพุทธรูปสำริด
ขนาดใหญ่หลายองค์ เช่น พระศรีศากยมุนี (เดิมเป็นพระประธานอยู่ในวิหารหลวงวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย ปัจจุบันได้อัญเชิญมาไว้ที่พระอุโบสถ
วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพฯ) และทรงโปรดให้แต่งหนังสือเรื่อง “ไตรภูมิพระร่วง” ซึ่งถือเป็นหนังสือสำคัญทางประวัติศาสตร์และวรรณคดีไทย
เล่มหนึ่ง
สมัยพญาลือไท หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 โอรสของพญาลิไทย ครองราชย์ พ.ศ. 1812 ได้ยกทัพปราบปรามเมืองเหนือที่แข็งเมืองจนยอมแพ้อ่อนน้อมต่อกรุงสุโขทัย จนถึง พ.ศ. 1914 กรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพมาตีสุโขทัย รบกันอยู่ 6 ปี กรุงศรีอยุธยาสามารถยึดครองเมืองต่างๆ โดยรอบสุโขทัยไว้ได้
สมัยพญาไสเลอไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 3 โอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 2 ในสมัยนี้พระองค์ทำสงครามกับสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว) กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งได้ตีหัวเมืองฝ่ายเหนือไว้ในอำนาจขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา ราชธานีจึงย้ายมาอยู่ที่เมืองสองแคว (เมืองพิษณุโลก)
สมัยพญาปาลราช หรือพระมหาธรรมราชาที่ 4 โอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 3 ครองราชย์อยู่ที่เมืองสองแคว (เมืองพิษณุโลก) ใน พ.ศ. 1962 – 1981 เป็นสมัยที่กรุงสุโขทัยตกเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาแล้ว จึงไม่มีเหตุการณ์อะไรสำคัญ และเมื่อสิ้นสมัยพญาปาลราช กรุงสุโขทัยก็ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา
นับเป็นการสิ้นสุดของอาณาสุโขทัย อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่อาณาจักรหนึ่งของชนชาติไทย

อาณาจักร อยุธยา



เป็นอาณาจักรของไทยในอดีต มีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะตำนาน พงศาวดารไปจนถึงศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ว่าก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ. 1893 นั้น ได้มีบ้านเมืองตั้งอยู่ก่อนแล้ว มีชื่อเรียกว่า เมืองอโยธยา หรือ อโยธยาศรีรามเทพนคร หรือ เมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะ เมืองอยุธยาเป็นเมืองที่มีความเจริญทางการเมืองการปกครอง และมีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครอง 3 ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะทาส และพระอัยการลักษณะกู้หนี้ประวัติการสถาปนากรุงศรีอยุธยา
ชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18แล้ว มีเมืองสำคัญหลายเมือง อาทิ ละโว้, อยุธยา, สุพรรณบุรี, นครปฐม เป็นต้น ต่อมาราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอม และสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทอง เจ้าเมืองอู่ทองซึ่งขณะนั้นเกิดโรคห่าระบาดและขาดแคลนน้ำ จึงทรงดำริจะย้ายเมืองและพิจารณาชัยภูมิเพื่อตั้งอาณาจักรใหม่ พร้อมกันนั้นต้องเป็นเมืองที่มีนำไหลเวียนอยู่ตลอด ครั้งแรกพระองค์ทรงประทับที่ตำบลเวียงเหล็กเพื่อดูชั้นเชิงเป็นเวลากว่า 3 ปี และตัดสินพระทัยสร้างราชธานีแห่งใหม่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม) และสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 712[1] ตรงกับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893[2] มีชื่อตามพงศาวดารว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศน์มหาสถาน ด้วยบริเวณนั้นมีแม่น้ำล้อมรอบถึง 3 สาย อันได้แก่ แม่น้ำลพบุรีทางทิศเหนือ, แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตก และทิศใต้, แม่น้ำป่าสักทางทิศตะวันออก เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ ต่อมาพระองค์ทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้ง 3 สาย กรุงศรีอยุธยาจึงมีน้ำเป็นปราการธรรมชาติให้ปลอดภัยจากข้าศึก นอกจากนี้ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังห่างจากปากแม่น้ำไม่มาก เมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ๆอีกหลายเมืองในบริเวณเดียวกัน ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าสู่ภูมิภาคอื่นๆในอาณาจักร รวมทั้งอาณาจักรใกล้เคียงอีกด้วยการขยายตัวของอาณาจักร
กรุงศรีอยุธยาดำเนินนโยบายขยายอาณาจักด้วย 2 วิธีคือ ใช้กำลังปราบปราม ซึ่งเห็นได้จากชัยชนะในการยึดครองเมืองนครธมได้อย่างเด็ดขาดในสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 และอีกวิธีหนึ่งคือ การสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติ อันเห็นได้จากการผนวกกรุงสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรหลักฐานทางโบราณคดี
หลักฐานที่แสดงให้เห็นชัดที่สุดว่าพระเจ้าอู่ทองควรจะสืบเชื้อสายมาจากลพบุรี คือ งานศิลปกรรมในสมัยอยุธยาตอนตันที่มีอิทธิพลของศิลปะลพบุรีอยู่มาก เช่น เจดีย์ทรงปรางค์ที่วัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะซึ่งมีลักษณะแผนผังของวัดและตัวปรางค์ คล้ายกับปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี พระพุทธรูปมีพระพักตร์คล้ายกับประติมากรรมขอม และระบบการปกครองก็มีอิทธิพลของวัฒนธรรมเขมรอย่างเห็นได้ชัด เช่น ระบบเทวราชา
นอกจากนี้บริเวณเมืองอยุธยา ยังมีแม่น้ำป่าสักที่มีไหลผ่านเมืองศรีเทพที่เป็นแหล่งวัฒนธรรมสมัยทวารวดีที่สำคัญ และแม่น้ำลพบุรี แม่น้ำทั้ง 3 สายนี้สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมกับเมืองที่มีความเจริญซึ่งอยู่ทางเหนือขึ้นไป เช่น อาณาจักรสุโขทัย หริภุญไชย ล้านนา และเมืองเล็กเมืองน้อยอีกมากมาย จึงสันนิษฐานได้ว่าพื้นที่บริเวณเมืองอยุธยานี้คงเคยเจริญภายใต้วัฒนธรรมทวารวดีมาก่อน
เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์พื้นที่บริเวณเมืองอยุธยาเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ และจะมีน้ำจากทางเหนือท่วมไหลลงมาท่วมทุกปีซึ่งน้ำจะได้พัดเอาตะกอนอันอุดมสมบูรณ์ลงมาด้วย พื้นที่บริเวณเมืองอยุธยาจึงเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และพื้นที่บริเวณเมืองอยุธยาคงเป็นเมืองท่าและจุดแวะพักสินค้าด้วย เนื่องจากมีแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลลงสู่อ่าวไทยไหลผ่าน จึงทำให้ต่อมาได้มีพัฒนาการความเจริญจนเริ่มมีความเป็นเมือง สันนิษฐานว่าคงเมืองอยุธยาอาจเจริญขึ้นในช่วงทวารวดีตอนปลายแล้วดังพบหลักฐานทางศิลปกรรมคือเจดีย์วัดขุนใจเมือง ซึ่งมีลักษณะศิลปะและการก่อสร้างแบบศิลปะทวารวดี คือ เป็นเจดีย์ก่ออิฐไม่สอปูนองค์สูงใหญ่ เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่บริเวณถนนใหญ่ในตัวเกาะอยุธยา
และเมืองอยุธยาในช่วงแรกคงเจริญภายใต้อิทธิพลอำนาจของเมืองลพบุรี โดยอาจเป็นเมืองลูกหลวงดังมีข้อความปรากฏในตำนานมูลศาสนาว่า ?เมืองรามเป็นเมืองลูกหลวงของเมืองละโว้? เมืองรามนี้สันนิษฐานว่าคงเป็นเมืองอโยธยาหรืออยุธยานั่นเอง ต่อมาเมืองลพบุรีได้รับอิทธิพลทางการเมืองจากอาณาจักรเขมร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่างยิ่งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หรือ พศว.ที่ 16-17 เมืองอยุธยาก็คงต้องได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมเขมรด้วยแน่นอน ถึงแม้ว่าใน พศว.ที่ 18 จะมีการกำเนิดของอาณาจักรสุโขทัย กษัตริย์และผู้คนบริเวณเมืองลพบุรีก็คงมิได้หายไปไหน จึงอาจเป็นไปได้ว่ากษัตริย์จากเมืองลพบุรี อาจย้ายศูนย์กลางเมืองจากลพบุรีมาอยู่บริเวณเมืองอยุธยาในปัจจุบัน โดยสันนิษฐานว่าอาจเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับอำนาจของอาณาจักรสุโขทัยและอยากได้เมืองใหม่ที่มีชัยภูมิที่ดีกว่านี้
กษัตริย์ลพบุรีองค์ที่คิดย้ายนี้ก็อาจเป็นต้นวงศ์พระเจ้าอู่ทอง โดยเมืองที่ย้ายมาระยะแรกกระจายตัวอยู่สองข้างของแม่น้ำเจ้าพระยา ดังพบหลักฐานการอยู่อาศัยที่มีอายุก่อน พ.ศ. 1893 เช่น มีการสร้างพระเจ้าพนัญเชิงซึ่งพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในปีพ.ศ. 1867 สามารถวิเคราะห์ได้ว่าวัดที่พระเจ้าพนัญเชิงประดิษฐานอยู่คงเป็นวัดขนาดใหญ่ จึงสะท้อนให้เห็นถึงการมีชุมชนขนาดใหญ่ในบริเวณนี้และคงเป็นชุมชนที่มีการอยู่อาศัยก่อน ปี พ.ศ. 1893 แต่พื้นที่รอบบริเวณสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาในหน้าน้ำ จะเกิดน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ทำให้กษัตริย์พระองค์หนึ่งมีการคิดที่จะสร้างศูนย์กลางของเมืองใหม่ กษัตริย์พระองค์นั้นอาจเป็นสมัยพระเจ้าอู่ทอง ซึ่งพระองค์ก็ได้เลือกพื้นที่บริเวณเมืองอยุธยานี้มาสร้างกรุงศรีอยุธยาแล้วสถาปนาตัวเองในชื่อว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 อาณาจักรอยุธยาหรืออโยธยาศรีรามเทพนคร หากพิจารณาจากพื้นที่บริเวณที่เป็นเกาะเมืองอยุธยาที่พระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเลือกสร้างอาณาจักรอยุธยาที่มีความมั่นคงและใหญ่โต
ในส่วนของการขุดค้นทางโบราณคดีเห็นว่า ควรมีการขุดค้นที่บริเวณสองข้างของแม่น้ำทั้ง 3 สายที่ไหลผ่านเมืองอยุธยา และบริเวณพื้นที่จุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสักไหลมาบรรจบกัน เนื่องจากบริเวณนี้มีงานศิลปกรรมคือพระประธานที่วัดพนัญเชิงที่มีอายุการก่อสร้างปี พ.ศ. 1867 ซึ่งเก่ากว่าปีพ.ศ.ที่สถาปนากรุงศรีอยุธยา เพื่อหาข้อมูลการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเพื่อมาสนับสนุนข้อสันนิษฐานข้างต้นที่กล่าวมานี้
จึงอาจสรุปได้ว่า กรุงศรีอยุธยาคงมีพัฒนาการทางสังคมความเจริญถึงระดับความเป็นเมืองก่อนปี พ.ศ. 1893 แน่นอน และเป็นเมืองที่อยู่ภายใต้อิทธพลทางการเมืองของเมืองลพบุรีด้วย ในช่วงแรกสันนิษฐานว่าศูนย์กลางเมืองอาจอยู่บริเวณวัดพนัญเชิง หรือพุทไธสวรรค์ แล้วต่อมาในปี พ.ศ. 1893 คงเป็นเพียงปีที่พระเจ้าอู่ทองย้ายศูนย์กลางของเมืองหรือย้ายพระราชวังดังความเห็นของอ.ศรีศักร วัลิโภดม ก็เป็นได้ พระมหา

กษัตริย์และพระราชวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์
พระราชวงศ์ 1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) 1893 - 1912 (19 ปี)
อู่ทอง 2 สมเด็จพระราเมศวร (โอรสพระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ครั้งที่ 1 1912 - 1913 (1 ปี)
อู่ทอง 3 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) 1913 - 1931 (18 ปี)
สุพรรณภูมิ 4 สมเด็จพระเจ้าทองลัน (โอรสขุนหลวงพะงั่ว) 1931 (7 วัน) สุพรรณภูมิ สมเด็จพระรา เม ศวร ครองราชย์ครั้งที่ 2 1931 - 1938 (7 ปี)
อู่ทอง 5 สมเด็จพระรามราชาธิราช (โอรสพระราเมศวร) 1938 - 1952 (14 ปี)
อู่ทอง 6 สมเด็จพระนครินทราธิราช (เจ้านครอินทร์) โอรสพระอนุชาของขุนหลวงพระงั่ว 1952 - 1967 (16 ปี)
สุพรรณภูมิ 7 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โอรสเจ้านครอินทร์ 1967 - 1991 (16 ปี)
สุพรรณภูมิ 8 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (โอรสเจ้าสามพระยา) 1991 - 2031 (40 ปี)
สุพรรณภูมิ 9 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2031 - 2034 (3 ปี) สุพรรณถูมิ
10 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2034 - 2072 (38 ปี)
สุพรรณภูมิ 11 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระอนุชาต่างมารดาพระรามาธิบดีที่ 2) 2072 - 2076 (4 ปี)
สุพรรณภูมิ 12 สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร (โอรสพระบรมราชาธิราชที่ 4) 2076 - 2077 (1 ปี)
สุพรรณภูมิ 13 สมเด็จพระไชยราชาธิราช (โอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2077 - 2089 (12 ปี)
สุพรรณภูมิ 14 สมเด็จพระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) (โอรสพระไชยราชาธิราช) 2089 - 2091 (2 ปี)
สุพรรณภูมิ 15 ขุนวรวงศาธิราช (สำนักประวัติศาสตร์บางแห่งไม่ยอมรับว่าเป็นกษัตริย์) 2091 (42 วัน)
อู่ทอง 16 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา) 2091 - 2111 (20 ปี)
สุพรรณภูมิ 17 สมเด็จพระมหินทราธิราช (โอรสพระมหาจักรพรรดิ) 2111 - 2112 (1 ปี)
สุพรรณภูมิ 18 สมเด็จพระมหาธรรมราชา (ราชบุตรเขยในพระมหาจักรพรรดิ์) 2112 - 2133 (21 ปี)
สุโขทัย 19 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (โอรสพระมหาธรรมราชา) 2133 - 2148 (15 ปี)
สุโขทัย 20 สมเด็จพระเอกาทศรถ (โอรสพระมหาธรรมราชา) 2148 - 2153 (5 ปี)
สุโขทัย 21 สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ (โอรสพระเอกาทศรถ) 2153 - 2154 (1 ปี)
สุโขทัย 22 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (โอรสพระเอกาทศรถ) 2154 - 2171 (17 ปี)
สุโขทัย 23 สมเด็จพระเชษฐาธิราช (โอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2172 (8 เดือน)
สุโขทัย 24 สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (โอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2172 (28 วัน) สุโขทัย
25 สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ออกญากลาโหมสุริยวงค์) 2172 - 2199 (27 ปี)
ปราสาททอง 26 สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (โอรสพระเจ้าปราสาททอง) 2199 (3 - 4 วัน)
ปราสาททอง 27 สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (อนุชาพระเจ้าปราสาททอง) 2199 (3 เดือน)
ปราสาททอง 28 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (โอรสพระเจ้าปราสาททอง) 2199 - 2231 (32 ปี)
ปราสาททอง 29 สมเด็จพระเพทราชา 2231 - 2246 (15 ปี)
บ้านพลูหลวง 30 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) 2246 - 2251 (6 ปี)
บ้านพลูหลวง 31 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (โอรสพระเจ้าเสือ) 2251 - 2275 (24 ปี)
บ้านพลูหลวง 32 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (โอรสพระเจ้าเสือ) 2275 - 2301 (26 ปี)
บ้านพลูหลวง 33 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (โอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 (2 เดือน)
บ้านพลูหลวง 34 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) (โอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 - 2310 (9 ปี) บ้านพลูหลวง