จำนวนผู้เข้าชม

หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติจังหวัดชลบุรี

ประวัติจังหวัดชลบุรี


ดินแดนที่เรียกว่าจังหวัดชลบุรี มีผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ ในปี 2522 ได้มีการขุดค้นทางโบราณคดี ที่ตำบลพนมดี อ.พนัสนิคม ได้พบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์ โคกพนมดี คือ สิ่งที่นักโบราณคดี เรียกว่า เชลล์ มาวด์ (Shell Mould) ซึ่งที่โคกพนมดเป็นเชลล์ มาวด์ที่ใหญ่โตที่สุดซึ่งยังไม่เคยพบในประเทศทางเอเชียอาคเนย์อื่น ๆ เลย ("ร่องรอยของชุมชนโบราณที่ลุ่มแม่น้ำพานทอง : เมืองโบราณ 3 : 39-40, กุมพาพันธ์ - มีนาคม 2522) จากหลักฐานทางโบราณวัตถุสถาน ทำให้นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ภายในกรอบเนื้อที่ 4,363 ตารางกิโลเมตร ของเมืองชลบุรีในอดีต เคยเป็นที่ตั้งชุมชนหรือเมืองโบราณที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่

2 เมือง และนับว่าเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ปรากฏหลักฐาน คือ
เมืองศรีพะโร ตั้งอยู่บริเวณบ้านอู่ตะเภา ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมืองชลบุรี หน้าเมืองมีอาณาเขตจดที่ ตำบลบางทรายในปัจจุบัน เคยมีผู้ขุดพบโบราณวัตถุหลายอย่าง เช่น พระพุทธรูปทองคำ สัมฤทธิ์ แก้วผลึก ขันทองคำ ถ้วยชามสังคโลก คล้ายของสุโขทัย จระเข้ปูน ก้อนศิลามีรอยเท้าสุนัข เป็นต้น เมืองศรีพะโรนี้ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นเมืองในสมัยขอมยังเรืองอำนาจอยู่ในภูมิภาคนี้ อาจจะรุ่นราวคราวเดียวกับสมัยลพบุรีซึ่งอยู่หลังยุคอู่ทอง และก่อนยุคอยุธยาคือประมาณ พ.ศ.1600-1900

เมืองพระรถ เป็นเมืองโบราณยุคเดียวกันกับเมืองศรีพะโรหรือก่อนเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะปรากฏว่ามีทางเดิน โบราณติดต่อกันได้ระหว่าง 2 เมืองนี้ ในระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตรและน่าเชื่อต่อไปว่าเมืองพระรถแห่งนี้ คงอยู่ในสมัยเดียวกันกับเมืองพระรถหรือเมืองมโหสถ ที่ดงศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี ในปัจจุบันอีกด้วยเมื่อ พ.ศ.2472 ได้มีผู้ขุดพบพระพุทธรูป "พระพนัสบดี" ได้ที่บริเวณตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอ พนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นพระพุทธรูปจำหลักจากศิลาดำ เนื้อละเอียด นักโบราณคดีกำหนดว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี พระพุทธรูปที่มีลักษณะเช่นพระพนัสบดีนี้ มีอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครหลายองค์ ทุกองค์งามสู้พระพนัสบดีองค์ที่ขุดพบนี้ไม่ได้ พระพนัสบดีมีพุทธลักษณะแปลกกว่าพระพุทธรูปอื่นๆ คือ เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนบนดอกบัว ยกพระหัตถ์ทั้งสองเสมอพระอุระ จีบนิ้วพระหัตถ์ทั้งสอง เช่น พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา บนฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองมีลายธรรมจักร เบื้องพระปฤษฎางค์มีประภามณฑล ประทับยืนบนสัตว์ที่แปลกพิเศษกว่าสัตว์ทังหลาย เป็นภาพสัตว์ที่เกิดจากจินตนาการประติมากรผู้สร้างพระพุทธรูป คือ นำโค ครุฑ หงส์ มารวมเป็นสัตว์ตัวเดียวกัน สัตว์นั้นหน้าเป็นครุฑ เขาเป็นโค ปีกเป็นหงส์ โค ครุฑ หงส์ เป็นพาหนะของเทพเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวรทรงโค พระนารายณ์ทรงครุฑ พระพรหมทรงหงส์ เมื่อรวมเข้ากันจึงเป็นสัตว์พิเศษที่มีเขาเป็นโค มีจงอยปากเป็นครุฑ และมีปีกเป็นหงส์ ผู้สร้างอาจหมายถึงพระพุทธเจ้าอาศัยศาสนาพราหมณ์เป็นพาหนะ ในการประกาศพระศาสนา หรือหมายถึงพระพุทธเจ้าทรงชัยชนะแล้วซึ่งศาสนาพราหมณ์ก็ได้ พระพนัสบดีที่ขุดพบนี้ สูง 45 เซนติเมตร สมัยพระยาพิพิธอำพลเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นอกจากมีการขุดพบกรุพระพิมพ์เนื้อตะกั่ว สนิมแดง คราบไขขาว เมื่อ พ.ศ. 2460 ที่บริเวณ หน้าพระธาตุ มีพระพุทธลักษณะเช่นเดียวกับพระร่วงหลังรางปืนสวรรคโลก พระร่วงหลังลายผ้าลพบุรี เป็นพุทธศิลปสมัยทวารวดี พระเนตรโปนประหนึ่งตาตั๊กแตน ไม่ทรงเครื่องอลังการ พระเศียรไม่ทรงเทริดพระหัตถ์ขวา หงายทาบพระอุระ มีดอกจันทน์บนฝ่าพระหัตถ์ อาณาจักรพระเครื่องถวายนามว่า พระร่วงหน้าพระธาตุ มี 2 พิมพ์ คือ ชายจีวรแผ่กว้าง และชายจีวรธรรมดา องค์พระกว้าง 2 เซนติเมตร นับเป็นกรุพระที่เลื่องชื่อลือชาในอาณาจักรพระเครื่องยิ่งนัก นอกจากนั้น ยังขุดพบพระพุทธรูปอีกหลายองค์ และพระพิมพ์เนื้อดินดิบขนาดใหญ่ บริเวณหน้า พระธาตุ วัดกลางคลองหลวง ฯลฯ โบราณวัตถุที่ขุดพบส่วนใหญ่ เป็นศิลปสมัยทวารวดี
ประวัติจังหวัดชลบุรี







ภูเขา หมายถึง เขาสามมุข ซึ่งเป็นที่ตั้งศาลเจ้าแม่สามมุขอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวชลบุรี ตลอดถึงประชาชนทั่วไป ที่เคยเดินทางไปมาแถบนั้น เชื่อถือว่า ศาลเจ้าแม่สามมุข สามารถให้ความคุ้มครองชาวชลบุรี และผู้ที่เคารพกราบไหว้ให้พ้นจากภยันตรายต่างๆ ได้ โดยเฉพาะการออกไปประกอบอาชีพจับปลาในท้องทะเล เขาสามมุขจึงเป็นสถานที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของชลบุรี
พระพุทธรูปสมัยทวารวดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น