จำนวนผู้เข้าชม

หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จังหวัดนครศรีธรรมราช

จังหวัดนครศรีธรรมราช :: ข้อมูลทั่วไป
"นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัด มากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู"
ข้อมูลทั่วไป :
นครศรีธรรมราช เป็นเมืองเก่ามีความหมายถึง “นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม” หรือ “เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่” นครศรีธรรมราชอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ประมาณ 780 กิโลเมตร และทางรถไฟประมาณ 832 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 9,942.502 ตารางกิโลเมตร
ประวัติความเป็นมา :
เมืองคนดีนครศรีธรรมราชเป็นเมืองที่มีเสน่ห์น่าไปเยือนมากเมืองหนึ่งนอกจากจะมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และสวยงาม เช่นเขาหลวง หรือชุมชนพัฒนาตัวอย่างที่บ้านคีรีวง ที่เมืองนครฯก็ยังเป็นแหล่งศิลปะวัฒนธรรม ทั้งหนังตะลุง โนรา ที่แฝงไว้ด้วยคติธรรม และเป็นเมืองพุทธในแดนใต้ ดังมีพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มรดกทางวัฒนธรรมที่เมืองนครมีอยู่ในปัจจุบันนั้นได้รับการสะสมมาจากประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1800 ปี
“ตามพรลิงค์” คือแคว้นที่เคยตั้งอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชปัจจุบัน ได้รับการบันทึกอยู่ในเอกสารมิลินทปัญหาของอินเดียตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 5 และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่พ่อค้าจากอินเดีย จีน ตะวันออกกลาง ด้วยเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ตั้งอยู่บนคาบสมุทรที่กั้นน่านน้ำทั้งสองด้าน จึงเหมาะที่จะเป็นเส้นทางแลกเปลี่ยนสินค้าจากทั้งสองฝั่งสมุทร และประกอบกับมีอ่าวที่เป็นท่าจอดเรือได้ พร้อมกันนั้นศาสนาพราหมณ์ก็ได้แพร่เข้ามาด้วย พบหลักฐานมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-14
ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 14-16 อาณาจักรศรีวิชัยที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองครหิ ไชยา มีอำนาจปกครองเหนือดินแดนแถบคาบสมุทร พุทธศาสนานิกายมหายานจึงได้แพร่เข้ามาที่แคว้นตามพรลิงค์ด้วย
เมื่อเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 17-18 แคว้นตามพรลิงค์รุ่งเรืองสูงสุด ผู้ครองแคว้นตั้งตนเป็นกษัตริย์ทรงนามพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พร้อมกันนั้นได้สถาปนาราชวงศ์ปทุมวงศ์ และแผ่อิทธิพลรวมทั้งพุทธศาสนาไปยังเมืองต่างๆในภาคใต้ จนเป็นที่ยอมรับว่านครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยนั้น
เมืองนครศรีธรรมราช หรือ นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม รุ่งเรืองอยู่ประมาณร้อยกว่าปี และเสื่อมลงเมื่อยกทัพไปตีเมืองลังกา และโจรชวาถือโอกาสเข้าปล้นเมืองถึง 3 ครั้งประกอบกับเกิดไข้ห่าระบาด จึงเป็นเหตุให้บ้านเมืองถูกทิ้งร้าง จนกระทั่งสมัยอยุธยา ผู้คนเริ่มกลับมาตั้งบ้านเมืองใหม่อีกครั้ง และนครศรีธรรมราชได้กลายมาเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรอยุธยา
ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในช่วงรัชกาลที่ 5 ได้มีการแก้ไขการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ใหม่ นครศรีธรรมราชได้เปลี่ยนฐานะเป็นมณฑลนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2439 จนกระทั่ง พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้ยุบมณฑลนครศรีธรรมราชและเปลี่ยนมาเป็นจังหวัดนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน
การเดินทาง :
ทางรถยนต์จากกรุงเทพฯ โดยทางหลวงหมายเลข 35 (สายธนบุรี-ปากท่อ) แยกเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4 หรือจะใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์จนถึงชุมพร เปลี่ยนมาใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอทุ่งสง อำเภอร่อนพิบูลย์ จนถึงนครศรีธรรมราช หรือจะเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านนครปฐม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงอำเภอท่าฉาง จังหวัดชุมพร แล้วจากนั้นให้แยกเข้าสู่สุราษฎร์ธานีโดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 401 เลียบชายฝั่งทะเลไปจนถึงนครศรีธรรมราช
ทางรถโดยสารบริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารปรับอากาศชั้นหนึ่ง และรถโดยสารธรรมดาออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี (ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 435-1200, 434-7192
นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัทเอกชน ได้แก่กรุงสยามทัวร์ โทร. 282-0261, 280-2118 หรือ โทร. (075) 341665นครศรีทัวร์ โทร. 435-5033, 435-5025 หรือโทร. (075) 342134โสภณทัวร์ โทร. 281-2882-3 หรือ โทร. (075) 341221นครศรีร่มเย็นทัวร์ โทร. 435-7428, 435-5016, 433-0722 หรือ โทร. (075) 344373, 315390
ทางรถไฟมีขบวนรถเร็ว และรถด่วน กรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช ออกจากสถานีกรุงเทพฯ ถึงนครศรีธรรมราช ระยะทาง 832 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีขบวนรถด่วน และรถเร็วอีกหลายขบวนผ่านสถานีชุมทางทุ่งสง ซึ่งสามารถจะต่อรถไฟ หรือรถยนต์เข้าสู่นครศรีธรรมราชได้อีกต่อหนึ่ง ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร. 223-7010, 223-7020 หรือที่ สถานีรถไฟนครศรีธรรมราช โทร. (075) 356364
ทางอากาศบริษัทการบินไทย จำกัด เปิดเที่ยวกรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1.40 ชั่วโมง รายละเอียดติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ บริษัทการบินไทย จำกัด โทร. 280-0060, 628-2000 และที่นครศรีธรรมราช โทร. (075) 342491, 343874
การคมนาคมภายในตัวจังหวัดมีรถสองแถววิ่งบริการรอบเมือง ส่วนการคมนาคมจากจังหวัดนครศรีธรรม ราชไปสู่จังหวัดข้างเคียง สามารถเลือกใช้บริการได้ทั้งรถตู้ รถแท็กซี่ รถโดยสาร รถไฟ และเครื่องบิน
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอปากพนัง 36 กิโลเมตร
อำเภอทุ่งสง 55 กิโลเมตร
อำเภอฉวาง 71 กิโลเมตร
อำเภอร่อนพิบูลย์ 32 กิโลเมตร
อำเภอชะอวด 71 กิโลเมตร
อำเภอท่าศาลา 28 กิโลเมตร
อำเภอเชียรใหญ่ 52 กิโลเมตร
อำเภอสิชล 66 กิโลเมตร
อำเภอหัวไทร 66 กิโลเมตร
อำเภอลานสกา 21 กิโลเมตร
อำเภอทุ่งใหญ่ 102 กิโลเมตร
อำเภอพิปูน 93 กิโลเมตร
อำเภอพรหมคีรี 21 กิโลเมตร
อำเภอบางขัน 94 กิโลเมตร
อำเภอถ้ำพรรณรา 25 กิโลเมตร
อำเภอจุฬาภรณ์ 50 กิโลเมตร
อำเภอขนอม 100 กิโลเมตร
ระยะทางจากตัวจังหวัดไปยังจังหวัดใกล้เคียง
จังหวัดสุราษฎร์ธานี 356 กิโลเมตร
จังหวัดตรัง 131 กิโลเมตร
จังหวัดพัทลุง 193 กิโลเมตร
จังหวัดสงขลา 313 กิโลเมตร
จังหวัดกระบี่ 336 กิโลเมตร
อาณาเขต และการปกครอง :
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและอ่าวไทยทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพัทลุง สงขลา และตรังทิศตะวันออก ติดต่อกับชายทะเลฝั่งอ่าวไทยทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี และกระบี่
แบ่งการปกครองออกเป็น 19 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอชะอวด อำเภอทุ่งสง อำเภอท่าศาลา อำเภอฉวาง อำเภอสิชล อำเภอหัวไทร อำเภอลานสกา อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอพิปูน อำเภอนาบอน อำเภอพรหมคีรี อำเภอขนอม อำเภอบางขัน อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอจุฬาภรณ์ กิ่งอำเภอพระพรหม และกิ่งอำเภอนบพิตำ
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 075)
สำนักงานจังหวัด
341-204, 346-172
ศาลากลางจังหวัด
341-204, 346-172
สถานีตำรวจภูธร
356-500, 345-805
สถานีขนส่ง
341-125
สถานีรถไฟ
356-346, 346-129
การบินไทย
342-291, 343-874, 331-161
ททท. สำนักงานภาคใต้ เขต 2
346-515-6
รพ.มหาราช-นครศรีธรรมราช
342-019-20
รพ.ฉวาง
481-372 , 481-115
รพ.ทุ่งสง
411-384 , 411-785
รพ.ลานสกา
391-123
รพ.ปากพนัง
517-019
รพ.นาบอน
419-332
รพ.ขนอม
529-033
รพ.พรหมคีรี
396-123
รพ.ร่อนพิบูลย์
441-020

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น