จำนวนผู้เข้าชม

หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เขื่อนอุบลรัตน

ประวัติความเป็นมาเขื่อนอุบลรัตน์
เขื่อนอุบลรัตน์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "เขื่อนพองหนีบ"นับเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ แห่งแรก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดิม ชื่อ “โครงการน้ำพอง” ปี 2503 “โครงการ น้ำพอง” ได้รับการพัฒนาก่อสร้างเป็นอัน ดับแรกที่ ต.เขื่อนอุบลรัตน์ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น โดยได้รับความร่วมมือจาก กองทุนพิเศษ แห่งสหประชาชาติ ปี 2507 เริ่มงานก่อสร้างโครงการ โดยทำพิธีวาง
ศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2507 งานก่อสร้างแล้วเสร็จในปลายปี 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่14 มีนาคม 2509กลางปี 2512 ได้รวมการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง คือ การไฟฟ้ายันฮี, การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ และการไฟฟ้าลิกไนต์ เข้าด้วยกัน ทำให้เขื่อนอุบลรัตน์ อยู่ภายใต้การดำเนินงานของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน.

ลักษณะเขื่อน

ตัวเขื่อน เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว มีความยาว 885 เมตร สูง 32 เมตร ระดับสัน เขื่อนอยู่ที่ +185 เมตร (รทก.:-ระดับน้ำทะเล ปานกลาง) สันเขื่อนกว้าง 6 เมตร ฐานเขื่อน กว้าง 120 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุ 2,263 ล้านลูกบาศก์เมตร
อาคารโรงไฟฟ้า ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายมือตัวเขื่อนติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังผลิต8,400 กิโลวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 25,200 กิโลวัตต์ ต่อมา กฟผ. ได้ทำการปรับปรุงเขื่อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเขื่อนในการบรรเทาอุทกภัยให้สูงขึ้น และเป็นการเสริมความปลอดภัยให้แก่ตัวเขื่อน โดยทำการเสริมสันเขื่อนจากระดับ +185 เมตร (รทก.) เป็นที่ระดับ+188.10 เมตร (รทก.) ส่วนฐานเขื่อนด้านท้ายน้ำขยายออกจากเดิมซึ่งกว้าง 120 เมตร เป็น125 เมตร โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปี2527 และปรับปรุงแล้วเสร็จเมื่อ ต้นปี 2530.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น