จำนวนผู้เข้าชม

หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันเข้าพรรษา








วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลายๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้ ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา... อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง
วันเข้าพรรษา
นอกจากนี้ ยังมีประเพณีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ "ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา" ประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้ มีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้า – เย็น และในการนี้จะต้องมีธูป - เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบทนั้น การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่ง มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม โดยถือว่าเป็นงานประจำปีเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ "วันเข้าพรรษา" จะตรงกับวันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วันเข้าพรรษา



กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา



ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา



ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร



ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล



อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่างๆ

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จังหวัดนครศรีธรรมราช

จังหวัดนครศรีธรรมราช :: ข้อมูลทั่วไป
"นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัด มากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู"
ข้อมูลทั่วไป :
นครศรีธรรมราช เป็นเมืองเก่ามีความหมายถึง “นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม” หรือ “เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่” นครศรีธรรมราชอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ประมาณ 780 กิโลเมตร และทางรถไฟประมาณ 832 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 9,942.502 ตารางกิโลเมตร
ประวัติความเป็นมา :
เมืองคนดีนครศรีธรรมราชเป็นเมืองที่มีเสน่ห์น่าไปเยือนมากเมืองหนึ่งนอกจากจะมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และสวยงาม เช่นเขาหลวง หรือชุมชนพัฒนาตัวอย่างที่บ้านคีรีวง ที่เมืองนครฯก็ยังเป็นแหล่งศิลปะวัฒนธรรม ทั้งหนังตะลุง โนรา ที่แฝงไว้ด้วยคติธรรม และเป็นเมืองพุทธในแดนใต้ ดังมีพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มรดกทางวัฒนธรรมที่เมืองนครมีอยู่ในปัจจุบันนั้นได้รับการสะสมมาจากประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1800 ปี
“ตามพรลิงค์” คือแคว้นที่เคยตั้งอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชปัจจุบัน ได้รับการบันทึกอยู่ในเอกสารมิลินทปัญหาของอินเดียตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 5 และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่พ่อค้าจากอินเดีย จีน ตะวันออกกลาง ด้วยเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ตั้งอยู่บนคาบสมุทรที่กั้นน่านน้ำทั้งสองด้าน จึงเหมาะที่จะเป็นเส้นทางแลกเปลี่ยนสินค้าจากทั้งสองฝั่งสมุทร และประกอบกับมีอ่าวที่เป็นท่าจอดเรือได้ พร้อมกันนั้นศาสนาพราหมณ์ก็ได้แพร่เข้ามาด้วย พบหลักฐานมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-14
ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 14-16 อาณาจักรศรีวิชัยที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองครหิ ไชยา มีอำนาจปกครองเหนือดินแดนแถบคาบสมุทร พุทธศาสนานิกายมหายานจึงได้แพร่เข้ามาที่แคว้นตามพรลิงค์ด้วย
เมื่อเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 17-18 แคว้นตามพรลิงค์รุ่งเรืองสูงสุด ผู้ครองแคว้นตั้งตนเป็นกษัตริย์ทรงนามพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พร้อมกันนั้นได้สถาปนาราชวงศ์ปทุมวงศ์ และแผ่อิทธิพลรวมทั้งพุทธศาสนาไปยังเมืองต่างๆในภาคใต้ จนเป็นที่ยอมรับว่านครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยนั้น
เมืองนครศรีธรรมราช หรือ นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม รุ่งเรืองอยู่ประมาณร้อยกว่าปี และเสื่อมลงเมื่อยกทัพไปตีเมืองลังกา และโจรชวาถือโอกาสเข้าปล้นเมืองถึง 3 ครั้งประกอบกับเกิดไข้ห่าระบาด จึงเป็นเหตุให้บ้านเมืองถูกทิ้งร้าง จนกระทั่งสมัยอยุธยา ผู้คนเริ่มกลับมาตั้งบ้านเมืองใหม่อีกครั้ง และนครศรีธรรมราชได้กลายมาเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรอยุธยา
ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในช่วงรัชกาลที่ 5 ได้มีการแก้ไขการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ใหม่ นครศรีธรรมราชได้เปลี่ยนฐานะเป็นมณฑลนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2439 จนกระทั่ง พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้ยุบมณฑลนครศรีธรรมราชและเปลี่ยนมาเป็นจังหวัดนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน
การเดินทาง :
ทางรถยนต์จากกรุงเทพฯ โดยทางหลวงหมายเลข 35 (สายธนบุรี-ปากท่อ) แยกเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4 หรือจะใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์จนถึงชุมพร เปลี่ยนมาใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอทุ่งสง อำเภอร่อนพิบูลย์ จนถึงนครศรีธรรมราช หรือจะเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านนครปฐม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงอำเภอท่าฉาง จังหวัดชุมพร แล้วจากนั้นให้แยกเข้าสู่สุราษฎร์ธานีโดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 401 เลียบชายฝั่งทะเลไปจนถึงนครศรีธรรมราช
ทางรถโดยสารบริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารปรับอากาศชั้นหนึ่ง และรถโดยสารธรรมดาออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี (ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 435-1200, 434-7192
นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัทเอกชน ได้แก่กรุงสยามทัวร์ โทร. 282-0261, 280-2118 หรือ โทร. (075) 341665นครศรีทัวร์ โทร. 435-5033, 435-5025 หรือโทร. (075) 342134โสภณทัวร์ โทร. 281-2882-3 หรือ โทร. (075) 341221นครศรีร่มเย็นทัวร์ โทร. 435-7428, 435-5016, 433-0722 หรือ โทร. (075) 344373, 315390
ทางรถไฟมีขบวนรถเร็ว และรถด่วน กรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช ออกจากสถานีกรุงเทพฯ ถึงนครศรีธรรมราช ระยะทาง 832 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีขบวนรถด่วน และรถเร็วอีกหลายขบวนผ่านสถานีชุมทางทุ่งสง ซึ่งสามารถจะต่อรถไฟ หรือรถยนต์เข้าสู่นครศรีธรรมราชได้อีกต่อหนึ่ง ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร. 223-7010, 223-7020 หรือที่ สถานีรถไฟนครศรีธรรมราช โทร. (075) 356364
ทางอากาศบริษัทการบินไทย จำกัด เปิดเที่ยวกรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1.40 ชั่วโมง รายละเอียดติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ บริษัทการบินไทย จำกัด โทร. 280-0060, 628-2000 และที่นครศรีธรรมราช โทร. (075) 342491, 343874
การคมนาคมภายในตัวจังหวัดมีรถสองแถววิ่งบริการรอบเมือง ส่วนการคมนาคมจากจังหวัดนครศรีธรรม ราชไปสู่จังหวัดข้างเคียง สามารถเลือกใช้บริการได้ทั้งรถตู้ รถแท็กซี่ รถโดยสาร รถไฟ และเครื่องบิน
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอปากพนัง 36 กิโลเมตร
อำเภอทุ่งสง 55 กิโลเมตร
อำเภอฉวาง 71 กิโลเมตร
อำเภอร่อนพิบูลย์ 32 กิโลเมตร
อำเภอชะอวด 71 กิโลเมตร
อำเภอท่าศาลา 28 กิโลเมตร
อำเภอเชียรใหญ่ 52 กิโลเมตร
อำเภอสิชล 66 กิโลเมตร
อำเภอหัวไทร 66 กิโลเมตร
อำเภอลานสกา 21 กิโลเมตร
อำเภอทุ่งใหญ่ 102 กิโลเมตร
อำเภอพิปูน 93 กิโลเมตร
อำเภอพรหมคีรี 21 กิโลเมตร
อำเภอบางขัน 94 กิโลเมตร
อำเภอถ้ำพรรณรา 25 กิโลเมตร
อำเภอจุฬาภรณ์ 50 กิโลเมตร
อำเภอขนอม 100 กิโลเมตร
ระยะทางจากตัวจังหวัดไปยังจังหวัดใกล้เคียง
จังหวัดสุราษฎร์ธานี 356 กิโลเมตร
จังหวัดตรัง 131 กิโลเมตร
จังหวัดพัทลุง 193 กิโลเมตร
จังหวัดสงขลา 313 กิโลเมตร
จังหวัดกระบี่ 336 กิโลเมตร
อาณาเขต และการปกครอง :
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและอ่าวไทยทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพัทลุง สงขลา และตรังทิศตะวันออก ติดต่อกับชายทะเลฝั่งอ่าวไทยทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี และกระบี่
แบ่งการปกครองออกเป็น 19 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอชะอวด อำเภอทุ่งสง อำเภอท่าศาลา อำเภอฉวาง อำเภอสิชล อำเภอหัวไทร อำเภอลานสกา อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอพิปูน อำเภอนาบอน อำเภอพรหมคีรี อำเภอขนอม อำเภอบางขัน อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอจุฬาภรณ์ กิ่งอำเภอพระพรหม และกิ่งอำเภอนบพิตำ
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 075)
สำนักงานจังหวัด
341-204, 346-172
ศาลากลางจังหวัด
341-204, 346-172
สถานีตำรวจภูธร
356-500, 345-805
สถานีขนส่ง
341-125
สถานีรถไฟ
356-346, 346-129
การบินไทย
342-291, 343-874, 331-161
ททท. สำนักงานภาคใต้ เขต 2
346-515-6
รพ.มหาราช-นครศรีธรรมราช
342-019-20
รพ.ฉวาง
481-372 , 481-115
รพ.ทุ่งสง
411-384 , 411-785
รพ.ลานสกา
391-123
รพ.ปากพนัง
517-019
รพ.นาบอน
419-332
รพ.ขนอม
529-033
รพ.พรหมคีรี
396-123
รพ.ร่อนพิบูลย์
441-020

จังหวัดนครราชสีมา

จังหวัดนครราชสีมา :: ข้อมูลทั่วไป
" เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหินดินด่านเกวียน "
นครราชสีมา หรือที่เรียกว่า “โคราช” เปรียบเสมือนประตูสู่ภาคอีสาน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 259 กิโลเมตร เป็นเมืองใหญ่บนดินแดนที่ราบสูง ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว ผู้มาเยือนจะเพลิดเพลินกับกิจกรรมท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งเดินป่าศึกษาธรรมชาติ พักผ่อนหย่อนใจริมอ่างเก็บน้ำ ชื่นชมความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมขอมโบราณ และเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน ทั้งยังได้อิ่มอร่อยกับอาหารอีสานต้นตำรับ ก่อนกลับยังได้ซื้อหาสินค้าเกษตรหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีให้เลือกอีกมากมาย
คำว่า นครราชสีมา เกิดจากการรวมชื่อเมืองโบราณสองเมือง คือ เมืองโคราชและเมืองเสมา ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโนนสูง นครราชสีมาเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณหลายแห่งตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยที่มีการเผยแพร่ของวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมแบบขอมเข้ามาในดินแดนแถบนี้ เคยมีฐานะเป็นเมือง “เจ้าพระยามหานคร” เช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราชทางภาคใต้ มีอำนาจปกครองหัวเมืองน้อยใหญ่ในอีสานหลายแห่ง จนมาถึงปัจจุบันก็ยังคงความสำคัญอย่างต่อเนื่องในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านคมนาคม เศรษฐกิจของภาคอีสาน
จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ประมาณ 20,494 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 26 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครราชสีมา ปากช่อง สีคิ้ว สูงเนิน ขามทะเลสอ ด่านขุนทด โนนไทย โนนสูง ขามสะแกแสง พิมาย คงโนนแดง ประทาย ชุมพวง บัวใหญ่ แก้งสนามนาง บ้านเหลื่อม จักราช ห้วยแถลง ปักธงชัย โชคชัย ครบุรี เสิงสาง หนองบุนนาก วังน้ำเขียว เฉลิมพระเกียรติ และอีก 6 กิ่งอำเภอ คือ กิ่งอำเภอเมืองยาง เทพารักษ์ ลำทะเมนชัย พระทองคำ บัวลายและสีดา

อาณาเขต :
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่น
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนครนายก และปราจีนบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดชัยภูมิ และสระบุรี

ข้อมูลทั่วไป จังหวัด นครปฐม

ข้อมูลทั่วไป จังหวัด นครปฐม
คำขวัญ ประจำจังหวัดส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า
นครปฐม จังหวัดเล็กๆ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ด้วยระยะทางประมาณ 56 กิโลเมตร เป็นเมืองแห่งปูชนียสถานเก่าแก่ที่สำคัญคือ“พระปฐมเจดีย์” ซึ่งนับเป็นร่องรอยแห่งแรกของการเผยแพร่อารยธรรมพุทธศาสนาเข้ามาในประเทศไทย ทั้งยังเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์มากมายไปด้วยผลไม้และอาหารขึ้นชื่อนานาชนิด เมืองนครปฐมเดิมตั้งอยู่ริมทะเลเคยเป็นเมืองเก่าแห่งหนึ่งซึ่งเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยทวาราวดีเพราะเป็นราชธานีที่สำคัญ มีหลักฐานเชื่อว่าศาสนาพุทธและอารยธรรมจากประเทศอินเดียเผยแพร่เข้ามาที่นครปฐมเป็นแห่งแรก โดยสันนิษฐานจากองค์พระปฐมเจดีย์และซากโบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบที่จังหวัดนครปฐม นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญ มีชนชาติต่างๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาเกิดความแห้งแล้งขึ้นในเมืองนครปฐม เพราะกระแสน้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ริมน้ำ และสร้างเมืองใหม่ขึ้น ชื่อว่า “นครชัยศรี” หรือ “ศิริชัย” นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาหลายร้อยปี จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ยังทรงผนวชได้เสด็จธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์และ ทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ไหนจะเทียบเท่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองเจดีย์บูชา เพื่อให้การคมนาคมสะดวกขึ้น ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เริ่มทำทางรถไฟสายใต้แต่ตอนนั้นเมืองนครปฐมยังเป็นป่ารกอยู่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองจากตำบลท่านา อำเภอนครชัยศรี มาตั้งที่บริเวณพระปฐมเจดีย์เหมือนที่เคยตั้งมาแล้วในสมัยโบราณ เมืองนครปฐมจึงอยู่ต่อมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้นที่ตำบลสนามจันทร์เป็นที่เสด็จแปรพระราชฐาน และโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย ให้สร้างสะพานใหญ่ข้ามคลองเจดีย์บูชาขึ้น ทรงพระราชทานนามว่า “สะพานเจริญศรัทธา” ต่อมาให้เปลี่ยนชื่อเมือง “นครชัยศรี” เป็น “นครปฐม” แต่ชื่อมณฑลยังคงเรียกว่า “มณฑลนครชัยศรี” อยู่ จนกระทั่งยุบเลิกในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปัจจุบันนครชัยศรีมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นอยู่กับจังหวัดนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ประมาณ 2,168.327 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,355,204 ไร่
แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนครปฐม อำเภอพุทธมณฑล อำเภอสามพราน อำเภอนครชัยศรี อำเภอบางเลน อำเภอกำแพงแสน และอำเภอดอนตูม พื้นที่ทั่วไปของจังหวัดนครปฐมเป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีภูเขา มีที่ดอนเฉพาะทางตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเมืองและอำเภอกำแพงแสนเท่านั้น ส่วนที่ราบลุ่มบริเวณลุ่มน้ำท่าจีน (แม่น้ำนครชัยศรี) ได้แก่ ท้องที่อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน และอำเภอบางเลน เป็นที่อุดมสมบูรณ์ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรรม การทำสวน ทำไร่ และสวนผลไม้ โดยเฉพาะการปลูกส้มโอ ซึ่งนำชื่อเสียงมาสู่จังหวัดนครปฐมจนได้ชื่อว่าเป็นเมืองส้มโอหวาน
ข้อมูลการเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายเก่า สายถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ สามพราน ไปจนถึงจังหวัดนครปฐม หรือ เส้นทางสายใหม่ จากกรุงเทพฯ ถนนบรมราชชนนี ผ่านพุทธมณฑล นครชัยศรี ไปจนถึงตัวจังหวัดนครปฐม รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการรถไฟไปจังหวัดนครปฐมทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. 1690, 0 2220 4334, 0 2220 4444 และที่สถานีรถไฟธนบุรี โทร. 0 2411 3102 หรือ www.railway.co.thรถโดยสารประจำทาง การเดินทางไปจังหวัดนครปฐม สามารถเดินทางได้จากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ตั้งแต่เวลา 05.30-23.15 น. ซึ่งมีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศวิ่ง 2 เส้นทาง คือ สายเก่า (กรุงเทพฯ-อ้อมใหญ่-สามพราน-นครปฐม) มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศชั้น 2 สายกรุงเทพฯ-นครปฐม, กรุงเทพฯ-ราชบุรี, กรุงเทพฯ-บางลี่ สายใหม่ (กรุงเทพฯ-พุทธมณฑล-นครชัยศรี-นครปฐม) สามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางปรับอากาศชั้น 1 สายกรุงเทพฯ-นครปฐม, กรุงเทพฯ-ด่านช้าง(สีน้ำเงิน) หรือ รถโดยสารปรับอากาศชั้น 2 สายกรุงเทพฯ-นครปฐม, สายกรุงเทพฯ-ดำเนินสะดวก, กรุงเทพฯ-เพชรบุรี ตั้งแต่เวลา 05.30-23.00 น. รถอกทุก 15 นาที สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี โทร. 0 2435 1199, 0 2435 5605, 0 2434 7192 และ นครปฐมทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2435 4971 นครปฐม โทร. 0 3424 3113 หรือที่เว็บไซต์ www.transport.co.th

สถานที่ท่องเที่ยวเจษฎาเทคนิคมิวเซี่ยม อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวมรวบและจัดแสดงยานยนต์ เครื่องกล ยานพาหนะ หลากหลายชนิด จากทั่วทุกมุมโลก มีทั้ง ยานพาหนะทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ เช่น รถเล็ก รถการ์ตูน เรือดำน้ำสัญชาติรัสเซีย เครื่องบินโบอิ้ง 747 เครื่องบินไทรสตาร์ ฯลฯ สวนสมุนไพรสิรีรุกขชาติ อำเภอพุทธมณฑล จ.นครปฐม มีพื้นที่ 38 ไร่ รวบรวมพันธุ์สมุนไพรกว่า 1,200 ชนิด พร้อมแสดงป้ายชื่อและสรรพคุณที่ชัดเจน จึงเหมาะที่จะเป็นห้องเรียนธรรมชาติสำหรับนักเรียน นักศึกษา นักวิชาการรวมทั้งผู้สนใจทั่วไป พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว (พระราชวังสนามจันทร์) อำเภอเมือง จ.นครปฐม พระราชวังแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2450 พุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จ.นครปฐม เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา ตั้งอยู่ที่ตำบลศาลายา มีพื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ พุทธมณฑลเป็นสถานที่ซึ่งรัฐบาลและประชาชนชาวไทยร่วมใจกันจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2500 เนื่องในโอกาสที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาได้ถึง 2,500 ปี วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรวิหาร อำเภอเมือง จ.นครปฐม เป็นพระสถูปเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จังหวัดนครปฐมได้ใช้พระปฐมเจดีย์เป็นตราประจำจังหวัด พระปฐมเจดีย์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นองค์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2396 โดยโปรดเกล้าฯให้สร้างครอบพระเจดีย์องค์เดิมซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่มีฐานแบบโอคว่ำและมียอดปรางค์อยู่ข้างบน สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 4 ตลาดน้ำวัดลำพญา อำเภอบางเลน จ.นครปฐม ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดลำพญา ริมแม่น้ำนครชัยศรี(ท่าจีน) ลำพระยา เดิมเป็นชื่อของหมู่บ้าน ในสมัยที่ยังเป็นอำเภอบางปลา มณฑลนครชัยศรี มีประวัติเล่าว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 หมู่บ้านไทยโซ่ง อำเภอบางเลน จ.นครปฐม ตั้งอยู่ที่บ้านเกาะแรต ตำบลบางปลา อยู่ห่างจากอำเภอบางเลนมาทางทิศใต้ ตามเส้นทางสายบางเลน-ดอนตูม ประมาณ 9 กิโลเมตร แอร์ออร์คิด อำเภอบางเลน จ.นครปฐม สวนกล้วยไม้หลากหลายพันธุ์บนพื้นที่ 120 ไร่ ที่นี่มีห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ ที่อนุบาลกล้วยไม้ พันธุ์กล้วยไม้ที่นี่ทั้งส่งออกต่างประเทศและจำหน่ายในประเทศในราคาย่อมเยา สวนป่าสมุนไพรวัดปลักไม้ลาย อำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐม ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งขวาง ห่างจากตัวเมืองนครปฐมไปตามถนนสายมาลัยแมน ประมาณ 20 กิโลเมตร ทางเข้าวัดจะอยู่ด้านซ้ายมือ เข้าไปประมาณ 6 กิโลเมตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (สวนพฤกษศาสตร์) อำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐม ตั้งอยู่ที่ถนนมาลัยแมน ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 21 กิโลเมตร ภายในมหาวิทยาลัยมีโครงการต่าง ๆ ที่ให้ความรู้แก่เกษตรกร เมืองเก่ากำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐม ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งขวาง เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี มีอายุเท่ากับเมืองนครชัยศรี แต่มีขนาดเล็กกว่า อยู่ห่างจากอำเภอเมืองไปทางทิศเหนือ ประมาณ 24 กิโลเมตร โรงเรียนการบินกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐม กองบัญชาการยุทธทางอากาศ ตั้งอยู่ที่ตำบลกระตีบ ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 100 กิโลเมตร เป็นสถาบันผลิตนักบินประจำการกองทัพอากาศ ตลาดดอนหวาย อำเภอสามพราน จ.นครปฐม ตั้งอยู่ที่ตำบลบางกระทึก หลังวัดดอนหวาย เป็นตลาดที่ยังเหลือสภาพตลาดเก่าในอดีตสมัยรัชกาลที่ 6 ให้เห็นลักษณะตัวอาคารเป็นอาคารไม้เก่า ๆ ลานแสดงช้างและฟาร์มจระเข้สามพราน อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษมกิโลเมตรที่ 30 ห่างจากสวนสามพราน 1 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ เป็นสวนสัตว์นานาชนิด สวนสามพราน อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม เป็นสถานที่พักผ่อนตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 32 กิโลเมตร อยู่ติดแม่น้ำนครชัยศรี มีเนื้อที่ประมาณ 137.5 ไร่ วัดไร่ขิง อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม ตั้งอยู่ที่ตำบลไร่ขิง บนฝั่งแม่น้ำท่าจีนหรือแม่น้ำนครชัยศรี ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 32 กิโลเมตร วัดไร่ขิงนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร พระอนุสาวรีย์พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรณ์เกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จ.นครปฐม ณ กลางสระน้ำ หน้าอาคารบังคับการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ตำบลศาลายา ห่างจากพุทธมณฑลประมาณ 5 กิโลเมตร ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (วิทยาลัยในวัง) อำเภอพุทธมณฑล จ.นครปฐม ตั้งอยู่ริมถนนศาลายา-บางภาษี ตำบลศาลายา เป็นงานศิลปะไทยโบราณ “ช่างสิบหมู่” เป็นศิลปะไทยที่ล้วนถูกสร้างสรรค์มาจากภูมิปัญญา สวนศิลป์ มีเซียม ยิบอินซอย อำเภอพุทธมณฑล จ.นครปฐม ตั้งอยู่เลขที่ 38/1-9 ถนนพุทธมณฑลสาย 7 ตำบลท่าตลาด ทางเข้าอยู่ตรงข้ามโรงเรียน ภปร. เข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสำโรง อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม ตั้งอยู่ในวัดสำโรง ตำบลวัดสำโรง เริ่มดำเนินการโดยพระครูสิริ ปุญญาภิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดสำโรง เมื่อปี พ.ศ. 2542 พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม ตั้งอยู่เลขที่ 43/2 หมู่ 1 ถนนบรมราชชนนี (ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) กิโลเมตรที่ 31 ตำบลขุนแก้ว เป็นสถานที่จัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาสซึ่งมีความสวยงามและเหมือนจริงให้ความรู้สึกนุ่มนวล พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวนาไทย อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม ตั้งอยู่เลขที่ 9/1 หมู่ 4 บ้านลานแหลม ถนนนครชัยศรี-ดอนตูม กิโลเมตรที่ 14–15 ตำบลวัดละมุด ในบริเวณบ้านของอาจารย์เริงชัยและคุณป้าพยอม ตลาดน้ำวัดกลางคูเวียง อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม ตั้งอยู่ที่ตำบลสัมปทวน มีจำหน่ายอาหาร ผลไม้นานาชนิดและแพปลา ทั้งยังมีบริการล่องเรือชมทิวทัศน์แม่น้ำนครชัยศรี ชมวิถีชีวิตชุมชนและเที่ยวชมวัดต่างๆ ติดต่อเรือศรีสุขสันต์ สามารถล่องไปทางทิศเหนือไปวัดลำพญา หรือ ทางทิศใต้ไปวัดไร่ขิง โทร. 0 3429 9036, 0 1829 8035 ล่องเรือแม่น้ำนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม ดินแดนแห่ง ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวสวย เอกลักษณ์เหล่านี้แม้จะมีมานานแต่ก็ยังคงความเด่นอันเป็นลักษณะเฉพาะไว้ได้ที่นครชัยศรี อุทยานปลา อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยพลู จะมีปลามาอยู่รวมกันโดยธรรมชาติในแม่น้ำนครชัยศรี(ท่าจีน) เช่น ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาตะเพียน ปลาหางแดง บริเวณท่าน้ำหน้าวัดเกือบทุกแห่งที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนครชัยศรี เช่น วัดไร่ขิง วัดห้วยพลู วัดกลางคูเวียง สนามแข่งรถไทยแลนด์เซอร์กิต อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม ตั้งอยู่ที่ตำบลวัดละมุด ไปตามทางหลวงหมายเลข 3233 กิโลเมตรที่ 13-14 เป็นสนามแข่งรถระดับนานาชาติ บนพื้นที่ 20–30 ไร่ วัดบางพระ อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม ตั้งอยู่ที่ตำบลบางแก้วฟ้า ไปตามทางหลวงหมายเลข 3233 กิโลเมตรที่ 10-11 ชาวบ้านเรียกกันว่าวัดปากคลองบางพระ วัดศีรษะทอง อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยตะโก สร้างจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น วัดกลางบางแก้ว และพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม เป็นวัดโบราณริมแม่น้ำท่าจีน แต่เดิมชื่อวัดคงคาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลนครชัยศรี ภายในมีโบสถ์ วิหาร และพระประธานเก่าแก่ โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น อำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม ตั้งอยู่ที่ตำบลบางแก้วฟ้า จัดรายการพิเศษทุกวันเสาร์ อาทิตย์ ในรูปของ “ทัวร์สุขภาพ” มีการตรวจสุขภาพพร้อมจัดรายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จ.นครปฐม ตั้งอยู่ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ด้านทิศใต้เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น โบราณวัตถุที่รวบรวมได้ในระยะแรกได้ถูกนำมาเก็บรักษาไว้ที่ระเบียงคตรอบองค์พระปฐมเจดีย์ พระประโทณเจดีย์ อำเภอเมือง จ.นครปฐม เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในวัดพระประโทณเจดีย์ ตำบลพระประโทน อยู่ห่างจากพระปฐมเจดีย์ไปตามถนนเพชรเกษมทางทิศตะวันออกเป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร พระราชวังนครปฐม อำเภอเมือง จ.นครปฐม อยู่ทางทิศตะวันออกไม่ห่างจากวัดพระปฐมเจดีย์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานเทศบาลนครนครปฐม สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สถาบันวัฒนธรรมภูมิภาคตะวันตก อำเภอเมือง จ.นครปฐม ตั้งอยู่ที่ตำหนักทับเจริญ พระราชวังสนามจันทร์ จัดเป็นสถาบันที่รวบรวมผลงานด้านวัฒนธรรมเชิดชูปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่นในภูมิภาค เนินพระ หรือ เนินยายหอม อำเภอเมือง จ.นครปฐม อยู่ที่วัดดอนยายหอม ตำบลดอนยายหอม จากจังหวัดนครปฐมไปตามถนนเพชรเกษมมุ่งเข้ากรุงเทพฯ ประมาณ 5 กิโลเมตร เนินธรรมศาลา อำเภอเมือง จ.นครปฐม อยู่ที่วัดธรรมศาลา ตำบลธรรมศาลา ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางตะวันออกประมาณ 6 กิโลเมตร อยู่ทางด้านใต้ของถนนสายเพชรเกษม เนินวัดพระงาม อำเภอเมือง จ.นครปฐม ตั้งอยู่ที่วัดพระงาม(วัดโสดาพุทธาราม) ตำบลนครปฐม ไม่ไกลจากสถานีรถไฟนครปฐม เป็นสถานที่ที่ค้นพบพระเจดีย์ขนาดสูงใหญ่สมัยทวาราวดีและยังขุดค้นพบโบราณวัตถุต่างๆ สถานที่พักแรม ที่พัก โรงแรม ขออภัยกำลังปรับปรุงข้อมูลครับ ( ผู้ประกอบต้องการลงประกาศข้อมูลของท่านติดต่อ 06 -3732838 คุณ เบน ) ร้านอาหาร ขออภัยกำลังปรับปรุงข้อมูลครับ ( ผู้ประกอบต้องการลงประกาศข้อมูลของท่านติดต่อ 06 -3732838 คุณ เบน ) ร้านจำหน่ายของที่ระลึกขออภัยกำลังปรับปรุงข้อมูลครับ ( ผู้ประกอบต้องการลงประกาศข้อมูลของท่านติดต่อ 06 -3732838 คุณ เบน ) สินค้าพื้นเมืองขออภัยกำลังปรับปรุงข้อมูลครับ ( ผู้ประกอบต้องการลงประกาศข้อมูลของท่านติดต่อ 06 -3732838 คุณ เบน ) วัฒนธรรมประเพณี ล่องแก่งเขื่อนคลองท่าด่าน เขื่อนคลองท่าด่าน เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ซึ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย โดยจัดให้มีกิจกรรมล่องแก่งที่สนุกสนานท้าทาย งานประเพณีนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 12 ค่ำ ถึงแรม 4 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองต่าง ๆ และกลางคืนมีมหรสพ งานนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิงจัดขึ้นที่วัดไร่ขิง อำเภอสามพราน ระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 5 ถึงวันแรม 4 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากหน่วยงานต่าง ๆ และเกษตรกรผู้ผลิต มีการประกวดผลไม้ และมีมหรสพในเวลากลางคืนงานเลี้ยงบุฟเฟ่ต์ช้าง และประกวดราชินีช้าง จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันแรงงานแห่งชาติ วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี ที่ลานแสดงช้างและฟาร์มจระเข้สามพราน เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณแก่ช้างภายในฟาร์ม มีการการประกวดราชินีช้างของสาวหุ่นตุ้ยนุ้ย เพื่อหาผู้ที่สามารถถ่ายทอดบุคลิก ความน่ารักอ่อนโยน นุ่มนวลแบบช้าง งานเทศกาลอาหาร และผลไม้นครปฐมจัดขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน ประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ เพื่อเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ผลไม้ที่นิยมปลูกในจังหวัดนครปฐม ได้แก่ ส้มโอ มะพร้าวน้ำหอม ฝรั่ง กล้วย เป็นต้น ส่วนผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ ได้แก่ กุนเชียง หมูแผ่น หมูหยอง ฯลฯ ในงานมีการประกวดโต๊ะจีน และผลไม้ต่าง ๆ งานประเพณีสงกรานต์จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-17 เมษายน ของทุกปี บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์มีกิจกรรม ได้แก่ การจัดตกแต่งขบวนแห่สงกรานต์ ขบวนมังกร และสิงห์โต การทำบุญสรงน้ำพระพุทธรูปพระร่วง โรจนฤทธิ์ ก่อพระเจดีย์ทราย มีมหรสพ และการละเล่นพื้นเมือง กิจกรรมท่องเที่ยวล่องเรือชมสวน จังหวัดนครปฐมล่องเรือเที่ยวคลองมหาสวัสดิ์เป็นกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรล่องเรือเพื่อเที่ยวชมวิถีชีวิตชาวสวนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งคลอง ลงเรือที่วัดสุวรรณาราม ตำบลศาลายา แวะสวนกล้วยไม้ได้รับความรู้เรื่องการเลี้ยงกล้วยไม้ เที่ยวชมนาบัว สวนผลไม้ ไร่นาสวนผสม ส้มโอ ขนุนและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมหาสวัสดิ์ ชมการแปรรูปผลผลิตการเกษตร เช่นไข่เค็มรสไอโอดีน ข้าวตังข้าวกล้องหอมมะลิ เรือนั่งได้ 6 คน ใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ที่ว่าการอำเภอพุทธมณฑล โทร. 08 1743 5850 คุณมนูญ นราสดใส โทร. 0 3429 7152, 08 1495 9091, 08 9551 4623 ค่าเช่าเรือลำละ 300 บาท ค่าเที่ยวชม 4.70 บาท/คนล่องเรือเที่ยวคลองจินดา ชมสวนกล้วยไม้ ชมสวนบางช้าง ล่องเรือเที่ยวชมสวนผลไม้ แม่น้ำท่าจีน แวะวัดจินดารามใช้เวลา 1-4 ชั่วโมงครึ่ง ติดต่อที่ อบต.คลองจินดา โทร. 0 3430 7988, 08 1409 5683 ค่าเช่าเรือลำละ 600 บาท (กรุณาติดต่อล่วงหน้า)ล่องเรือเที่ยวคลองบางช้าง อยู่ในเขตตำบลบางช้าง ตำบลคลองจินดาและตลาดจินดา เป็นเขตพื้นที่ที่มีการทำสวนผลไม้ที่มีรสชาติดีและขึ้นชื่อ เช่น องุ่น มะม่วง มะพร้าวน้ำหอม ชมพู่ และสวนไม้ดอก ไม้ประดับ นักท่องเที่ยวที่สนใจซื้อพันธุ์ไม้และผลผลิตต่างๆ สามารถซื้อได้โดยตรงที่เกษตรกรโดยผ่านคลองจินดา คลองบางช้าง สวนชมพู่ สวนมะพร้าว สวนกล้วยไม้ วัดปรีดาราม โดยจะล่องเรือทุกวันเวลา 08.00-17.00 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ ชมรมล่องเรือทางน้ำคลองบางช้าง โทร. 0 3432 7346 หรือ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสามพราน โทร. 0 3432 2785 ล่องเรือแม่น้ำท่าจีน จากวัดดอนหวายด้วยเรือเอี้ยมจุ๊นและเรือกระแชง ชมธรรมชาติสองฝั่งคลอง มีให้เลือก 2 เส้นทาง เส้นทางแรก จากวัดดอนหวาย ผ่านวัดท่าพูด วัดไร่ขิงและวังปลา เฉพาะวันธรรมดา ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00 น. ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง อัตราค่าโดยสาร ผู้ใหญ่ 60 บาท เด็ก 30 บาท เส้นทางที่สอง จากวัดดอนหวาย ผ่านวัดไร่ขิง วังปลา ลอดใต้สะพานโพธิ์แก้ว ร.ร.ภปร.ราชวิทยาลัย วัดสรรเพชร วัดเดชาและสวนสามพราน เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ มีเรือออกทุกชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 10.00 น.- 15.30 น. ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง อัตราค่าโดยสาร ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท สอบถามรายละเอียดได้ที่ อาจารย์สวัสดิ์ โทร. 08 1448 8876, 08 1659 5805 หรือ www.tsnakhonpathom.cjb.netสนามกอล์ฟ จ.นครปฐมกฤษดา ซิตี้ กอล์ฟ ฮิลล์ ถ.ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี อ.นครชัยศรี โทร. 0 3423 1101-7 หยุดทุกวันจันทร์ (18 หลุม) เดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ต คลับ อ.พุทธมณฑล โทร. 0 2429 8066 (วันจันทร์ เปิดบริการ 09.00-18.00 น., วันธรรมดา เปิดบริการ 06.00-18.00 น.)ไดนาสตี้ กอล์ฟ แอนด์ คันทรี่ คลับ 99 หมู่ 3 ต.ไผ่หูช้างถ.พลดำริห์ อ.บางเลน โทร. 0 3439 1005, 0 3439 1084, 0 3439 1076-9 โทรสาร 0 3429 1111, 0 3493 1080 www.dynastygolf.co.th (วันธรรมดายกเว้นวันจันทร์ เปิดบริการ 06.00-17.00 น.,วันเสาร์-อาทิตย์ 05.30-17.00 น. (18 หลุม)ยูนิแลนด์ กอล์ฟ & คันทรี่ คลับ 9/4 ม.3 ต.วังเย็น อ.เมือง โทร. 0 3427 1351-3 โทรสาร 0 3434 8287 www.unilandgolf.com E-mail : info@unilandgolf.com (เปิดบริการ 06.00-18.00 น. (27 หลุม)สนามกอล์ฟ ทองใหญ่การบิน 1 ม.7 ต.กระติบ ถ.มาลัยแมน อ.กำแพงแสน โทร. 0 3435 1601-3 (เปิดบริการ 07.00-18.00 น. (18 หลุม)สนามกอล์ฟสวนสามพราน 53/1 ม.4 ถ.เพชรเกษม ต.ท่าตลาด โทร. 0 3432 2770-1, 0 3432 2769-71 โทรสาร 0 3432 2768 (เปิดบริการ 06.00-18.00 น. (18 หลุม)สนามกอล์ฟ เอ็น ซี อาร์ โฮม 105 ม.14 ต.บางหลวง อ.บางเลน โทร. 0 3439 9012, 0 3439 9014, 0 2267 2806 โทรสาร 0 3439 9015 www.ncrgolf.com E-mail : info@ncrgolf.com (เปิดบริการ 06.30-16.30 น. (18 หลุม)สนามสุวรรณกอล์ฟ แอนด์ คันทรี คลับ อ.นครชัยศรี โทร. 0 3433 9333 โทรสาร 0 3433 9451 (เปิดบริการ 06.00-20.00 น.) (18 หลุม) มุมดาวน์โหลดขออภัยกำลังปรับปรุงข้อมูลครับ

ประวัติจังหวัดชลบุรี

ประวัติจังหวัดชลบุรี


ดินแดนที่เรียกว่าจังหวัดชลบุรี มีผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ ในปี 2522 ได้มีการขุดค้นทางโบราณคดี ที่ตำบลพนมดี อ.พนัสนิคม ได้พบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์ โคกพนมดี คือ สิ่งที่นักโบราณคดี เรียกว่า เชลล์ มาวด์ (Shell Mould) ซึ่งที่โคกพนมดเป็นเชลล์ มาวด์ที่ใหญ่โตที่สุดซึ่งยังไม่เคยพบในประเทศทางเอเชียอาคเนย์อื่น ๆ เลย ("ร่องรอยของชุมชนโบราณที่ลุ่มแม่น้ำพานทอง : เมืองโบราณ 3 : 39-40, กุมพาพันธ์ - มีนาคม 2522) จากหลักฐานทางโบราณวัตถุสถาน ทำให้นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ภายในกรอบเนื้อที่ 4,363 ตารางกิโลเมตร ของเมืองชลบุรีในอดีต เคยเป็นที่ตั้งชุมชนหรือเมืองโบราณที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่

2 เมือง และนับว่าเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ปรากฏหลักฐาน คือ
เมืองศรีพะโร ตั้งอยู่บริเวณบ้านอู่ตะเภา ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมืองชลบุรี หน้าเมืองมีอาณาเขตจดที่ ตำบลบางทรายในปัจจุบัน เคยมีผู้ขุดพบโบราณวัตถุหลายอย่าง เช่น พระพุทธรูปทองคำ สัมฤทธิ์ แก้วผลึก ขันทองคำ ถ้วยชามสังคโลก คล้ายของสุโขทัย จระเข้ปูน ก้อนศิลามีรอยเท้าสุนัข เป็นต้น เมืองศรีพะโรนี้ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นเมืองในสมัยขอมยังเรืองอำนาจอยู่ในภูมิภาคนี้ อาจจะรุ่นราวคราวเดียวกับสมัยลพบุรีซึ่งอยู่หลังยุคอู่ทอง และก่อนยุคอยุธยาคือประมาณ พ.ศ.1600-1900

เมืองพระรถ เป็นเมืองโบราณยุคเดียวกันกับเมืองศรีพะโรหรือก่อนเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะปรากฏว่ามีทางเดิน โบราณติดต่อกันได้ระหว่าง 2 เมืองนี้ ในระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตรและน่าเชื่อต่อไปว่าเมืองพระรถแห่งนี้ คงอยู่ในสมัยเดียวกันกับเมืองพระรถหรือเมืองมโหสถ ที่ดงศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี ในปัจจุบันอีกด้วยเมื่อ พ.ศ.2472 ได้มีผู้ขุดพบพระพุทธรูป "พระพนัสบดี" ได้ที่บริเวณตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอ พนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นพระพุทธรูปจำหลักจากศิลาดำ เนื้อละเอียด นักโบราณคดีกำหนดว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี พระพุทธรูปที่มีลักษณะเช่นพระพนัสบดีนี้ มีอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครหลายองค์ ทุกองค์งามสู้พระพนัสบดีองค์ที่ขุดพบนี้ไม่ได้ พระพนัสบดีมีพุทธลักษณะแปลกกว่าพระพุทธรูปอื่นๆ คือ เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนบนดอกบัว ยกพระหัตถ์ทั้งสองเสมอพระอุระ จีบนิ้วพระหัตถ์ทั้งสอง เช่น พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา บนฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองมีลายธรรมจักร เบื้องพระปฤษฎางค์มีประภามณฑล ประทับยืนบนสัตว์ที่แปลกพิเศษกว่าสัตว์ทังหลาย เป็นภาพสัตว์ที่เกิดจากจินตนาการประติมากรผู้สร้างพระพุทธรูป คือ นำโค ครุฑ หงส์ มารวมเป็นสัตว์ตัวเดียวกัน สัตว์นั้นหน้าเป็นครุฑ เขาเป็นโค ปีกเป็นหงส์ โค ครุฑ หงส์ เป็นพาหนะของเทพเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวรทรงโค พระนารายณ์ทรงครุฑ พระพรหมทรงหงส์ เมื่อรวมเข้ากันจึงเป็นสัตว์พิเศษที่มีเขาเป็นโค มีจงอยปากเป็นครุฑ และมีปีกเป็นหงส์ ผู้สร้างอาจหมายถึงพระพุทธเจ้าอาศัยศาสนาพราหมณ์เป็นพาหนะ ในการประกาศพระศาสนา หรือหมายถึงพระพุทธเจ้าทรงชัยชนะแล้วซึ่งศาสนาพราหมณ์ก็ได้ พระพนัสบดีที่ขุดพบนี้ สูง 45 เซนติเมตร สมัยพระยาพิพิธอำพลเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นอกจากมีการขุดพบกรุพระพิมพ์เนื้อตะกั่ว สนิมแดง คราบไขขาว เมื่อ พ.ศ. 2460 ที่บริเวณ หน้าพระธาตุ มีพระพุทธลักษณะเช่นเดียวกับพระร่วงหลังรางปืนสวรรคโลก พระร่วงหลังลายผ้าลพบุรี เป็นพุทธศิลปสมัยทวารวดี พระเนตรโปนประหนึ่งตาตั๊กแตน ไม่ทรงเครื่องอลังการ พระเศียรไม่ทรงเทริดพระหัตถ์ขวา หงายทาบพระอุระ มีดอกจันทน์บนฝ่าพระหัตถ์ อาณาจักรพระเครื่องถวายนามว่า พระร่วงหน้าพระธาตุ มี 2 พิมพ์ คือ ชายจีวรแผ่กว้าง และชายจีวรธรรมดา องค์พระกว้าง 2 เซนติเมตร นับเป็นกรุพระที่เลื่องชื่อลือชาในอาณาจักรพระเครื่องยิ่งนัก นอกจากนั้น ยังขุดพบพระพุทธรูปอีกหลายองค์ และพระพิมพ์เนื้อดินดิบขนาดใหญ่ บริเวณหน้า พระธาตุ วัดกลางคลองหลวง ฯลฯ โบราณวัตถุที่ขุดพบส่วนใหญ่ เป็นศิลปสมัยทวารวดี
ประวัติจังหวัดชลบุรี







ภูเขา หมายถึง เขาสามมุข ซึ่งเป็นที่ตั้งศาลเจ้าแม่สามมุขอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวชลบุรี ตลอดถึงประชาชนทั่วไป ที่เคยเดินทางไปมาแถบนั้น เชื่อถือว่า ศาลเจ้าแม่สามมุข สามารถให้ความคุ้มครองชาวชลบุรี และผู้ที่เคารพกราบไหว้ให้พ้นจากภยันตรายต่างๆ ได้ โดยเฉพาะการออกไปประกอบอาชีพจับปลาในท้องทะเล เขาสามมุขจึงเป็นสถานที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของชลบุรี
พระพุทธรูปสมัยทวารวดี

ประวัติ จังหวัดหนองคาย

เมืองหนองคายสมัยก่อนกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์

เมื่อกองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งมีสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตรืย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีย์เป็นแม่ทัพ ได้ชัยชนะเมืองเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ. 2322 ประชาชนจำนวนมากของเมืองเวียงจันทน์ หนีสงครามแตกฉานซ่านเซ็น บางพวกก็ถูกกวาดต้อนเข้ามาตั้งหลักแหล่งในหัวเมืองชั้นใน อันได้แก่หัวเมืองภาคกลาง เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี จังหวัดสระบุรี และจังหวัดลพบุรี เป็นต้น ส่วนที่เหลือก็ตั้งชุมชนอยู่บริเวณเมืองพานพร้าว เมืองเวียงคุก เมืองปะโค และเมืองโพนพิสัย (ในสมัยก่อนเรียกว่า เมืองโพนแพน ซึ่งปัจจุบันออกเสียงว่า โพนแพง) ครั้นเมื่อผู้คนหายตื่นตระหนกกับศึกสงครามแล้ว ชาวเมืองเวียงจันทน์ก็อพยพกลับภูมิลำเนาเดิม เมื่อสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเชื้อพระวงศ์อาณาจักรล้านช้าง ไปปกครองเมืองเวียงจันทน์เหมือนเดิม ส่วนชุมชนชายฝั่งแม่น้ำโขงตะวันตก (เขตจังหวัดหนองคาย) ไม่พบหลักฐานว่าได้ทรงตั้งเป็นเมือง หรือให้อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์เวียงจันทน์ (เมืองเวียงจันทน์มีฐานะปกครองประเทศราช) แต่กระนั้นก็ตามเมืองโพนแพน (อำเภอโพนพิสัย) หรือเมืองปากห้วยหลวงนั้นเป็นชุมชนใหญ่มีผู้คนอาศัยอยู่จำนวนมาก ได้พบหลักฐานว่า มีเจ้าเมืองปกครองอยู่ในตำแหน่ง"พระละครเมืองแพน" เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯตั้งเมืองหนองคาย และโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุวอเป็นพระประทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองในสมัยรัชการที่ 3 นั้นดูเหมือนจะมีอำนาจครอบคลุมเมืองโพนแพนด้วย ดังในประวัติ "ท้าวสุวอเจ้าเมืองหนองคาย" ว่า "แต่เดิมเพี้ยเมืองเป็นพระละครเจ้าเมืองท้าวจันทโสภา หลานพระละคร เป็นราชวงศ์ ท้าวคำยวง บุตรพระละครเมืองแพน เป็นราชบุตร รักษาบ้านเมืองมาได้ 11 ปี พระละครเมืองแพนก็ถึงแก่กรรม" ฉะนั้นลำดับเจ้าเมืองหนองคายและเมืองโพนแพน (โพนพิสัย) ได้ดังนี้ 1. พระละครเมืองแพน (เพี้ยเมือง) สมัยพระละครเมืองแพนเป็นเจ้าเมืองนั้น ไม่ได้กำหนดศักราชไว้ และไม่ได้กล่าวไว้ว่าพระละครเมืองแพนนั้นทำราชการขึ้นตรงกับกรุงธนบุรีและกรุงเทพฯ หรือทำราชการขึ้นตรงกับราชธานีไทยแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. 2322 พระละครเมืองแพนเป็นเจ้าเมืองได้เพียง 11 ปีก็ถึงแก่กรรม ดังกล่าวแล้ว กรมการเมืองสมัยนั้นมัดังนี้
อุปฮาด
ไม่ปรากฏ
ราชวงศ์
ท้าวจันทโสภา (หลานพระละครเมืองแพน)
ราชบุตร
ท้าวคำยวง (บุตรพระละครเมืองแพน)
เมื่อสิ้นสมัยพระละครเมืองแพน (เพี้ยเมือง) แล้ว ท้าวคำบุงบุตรพระละครเมืองแพน (เพี้ยเมือง) ได้ดำรงตำแหน่งพระละครเมืองแพนแทนบิดา 2. พระละครเมืองแพน (ท้าวคำบุง) ท้าวคำบุง บุตรพระละครเมืองแพน (เพี้ยเมือง) คนหนึ่ง ไม่ทราบว่าสมัยพระละครเมืองแพน (เพี้ยเมือง) เป็นเจ้าเมืองนั้น ท้าวคำบุงได้ดำรงตำแหน่งกรมการเมืองใด เมื่อบิดาถึงแก่อนิจกรรมก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองสืบแทน ส่วนตำแหน่งราชวงศ์และราชบุตรนั้นคงเดิม คือ
อุปฮาด
ไม่ปรากฏ
ราชวงศ
ท้าวจันทโสภาหลานพระละครเมืองแพน (เพี้ยเมือง)
ราชบุตร
ท้าวคำยวง ซึ่งเป็นบุตรของพระละครเมืองแพน
พระละครเมืองแพน (ท้าวคำบุง) เป็นเจ้าเมืองได้ 21 ปี (ไม่ทราบ พ.ศ.ใด) ก็ถึงแก่อนิจกรรมราชบุตรคือท้าวคำยวง ซึ่งเป็นบุตรของพระละครเมืองแพน (เพี้ยเมือง) เหมือนกันได้ดำรงตำแหน่งสืนต่อแทนพี่ชาย (หรือน้องชายไม่ปรากฏชัด) 3. พระละครเมืองแพน (ท้าวคำยวง) ท้าวคำยวงเป็นบุตรพระละครเมืองแพน (เพี้ยเมือง) คนแรก และได้ดำรงตำแหน่งราชบุตรทั้งสองสมัย คือสมัยบิดาเป็นเจ้าเมือง และพี่ชายเป็นเจ้าเมืองอีกสมัยหนึ่ง และได้แต่งตั้งบุตรหลานเป็นกรรมการเมือง ดังนี้
อุปฮาด
ท้าวสุวรรณ (บุครพระละครเมืองแพน (ท้าวคำบุง) เป็นหลานชายเจ้าเมือง)
ราชวงค์
ท้าวบุญจันทร์ (บุตรพระละครเมืองแพน (ท้าวคำยวง) เป็นบุตรเจ้าเมือง)
ราชบุตร
ท้าวคำพาง (บุตรพระละครเมืองแพน (ท้าวคำยวง) เป็นบุตรเจ้าเมือง)
เรื่องราวของเมืองหนองคาย หรือเมืองโพนแพน (โพนพิสัย) มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยดังกล่าวข้างต้น และไม่ทราบว่าเมืองหนองคาย หรือเมืองโพนพิสัยนั้นทำราชการขึ้นกับเมืองเวียงจันทน์หรือขึ้นตรงต่อกรุงรัตนโกสินทร์ (ไม่พบหลักฐานที่เป็นรายละเอียดกว่านี้ อีกประการหนึ่งเอกสารดังกล่าวก็ไม่ได้ให้ศักราชว่าเป็นเหตุการณ์ในปี พ.ศ.ใดอีกด้วย) ครั้นเมื่อสมัยปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เรียบร้อยแล้ว ราชธานีไทย คือ กรุงรัตนโกสินทร์มีเหตุการณ์เกี่ยวพันกับหัวเมืองในภาคอิสานมากขึ้น จึงพบเอกสารกล่าวถึงเมืองหนองคายชัดเจนยิ่งขึ้นแต่ก็ไม่มากนัก ดังนี้ เมืองหนองคายสมัยหลังกบฏเจ้าอนุวงศ์ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์โอรสเจ้าสิริบุญสารแห่งเมือเวียงจันทร์เติบโตและเล่าเรียนสรรพวิทยาการที่กรุงเทพฯ ครั้นเจริญวัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชการที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ปกครองเมืองเวียงจันทน์แทนเจ้านันทแสน (พี่ชาย) ตอนปลายรัชการที่ 1 เจ้าอนุวงศ์มีความใกล้ชิดและคุ้นเคยกับเชื้อพระวงศ์ในกรุงเทพฯและขุนนาง เสนาบดีผู้ใหญ่จำนวนมากเจ้าอนุวงศ์มีความคิดที่จะกอบกู้หัวเมืองอีสานที่ตกอยู่ในฐานะเมืองขึ้นของกรุงเทพฯ (สมัยรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 5 ไทยปกครองหัวเมืองอีสานในฐานะประเทศราชเกือนทุกเมือง คือส่งส่วยอากรและเกณฑ์แรงงานมาช่วยราชธานีรวมทั้งเกณฑ์กองทัพช่วยรบศึกพม่า) เจ้าอนุวงศ์ได้ติดต่อกับเจ้าเมืองในภาคอีสาน ประกอบกับเจ้าราชบุตร (โย้) บุตรเจ้าอนุวงศ์ ได้เป็นเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์อีกด้วย ฉะนั้นเจ้าอนุวงศ์จึงคิดการใหญ่ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา ดังที่ทราบกันแล้วนั้น พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนีย์) ภายหลังได้ดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาบดินทรเดชาสมุหนายก ได้เป็นแม่ทัพไปปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ครั้งนั้น และเป็นกองทัพสำคัญที่มีบทบาทในการปราบกบฏครั้งนั้น เมื่อปราบเมืองเวียงจันทน์และจับตัวเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ได้ เมื่อ พ.ศ. 2370 จึงจัดราชการบ้านเมือง โดยยุบเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองร้าง ให้ผู้คนอพยพมาตั้งบ้านเมืองอยู่บริเวณเมืองหนองคาย จึงกราบบังคมทูลขอพระกรุณาแต่งตั้งท้าวสุวอ หรือ ท้าวสุวอธรรมาซึ่งเป็นเชื้อสายพระวอพระตาเจ้าเมืองอุบลราชธานี คือบุตรของอัครราชธานีเมืองยโสธร ท้าวสุวอเป็นกำลังรบสำคัญของกองทัพพระยาราชสุภาวดี (ภายหลังได้ดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาบดินทรเดชา) ได้ความดีความชอบในการศึกปราบเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์มาก จึงมีใบบอกกราบบังคมทูลขอตั้งบ้านไผ่หรือบ้านหนองไผ่เป็นเมืองหนองคาย และขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งท้าวสุวอเป็น พระปทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองหนองคาย เมื่อ พ.ศ. 2370 1. พระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวสุวอ) พ.ศ. 2370-2387 เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านไผ่ หรือบ้านหนองไผ่เป็นเมืองหนองคายแล้ว เมืองพานพร้าว เมืองเวียงคุก เมืองปะโค ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของเมืองหนองคาย ส่วนเมืองโพนแพนหรือปากห้วยหลวงนั้น โปรดเกล้าฯตั้งเป็นเมือง "โพนพิสัย" อีกประการหนึ่งในช่วงสมัยดังกล่าวประชาชนยังตื่นตระหนกในศึกสงครามอพยพหลบหนีจำนวนมาก ฉะนั้นเมื่อตั้งบ้านหนองไผ่เป็นเมืองหนองคายแล้ว ชุมชนก็เริ่มเจริญเติบโตมากขึ้นตามลำดับคณะกรรมการเมืองหนองคายมีดังนี้ 1) พระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวสุวอ) ตำแหน่งเจ้าเมืองท้าวสุวอเป็นบุตรอัครราชเมืองยโสธร เป็นหลานพระวิชัยราชสุริยวงศ์ขัตติยราช (ท้าวหน้า) ซึ่งพระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. 2334 (ท้าวหน้าเป็นบุตรพระตา เดิมเป็นหัวหน้าบ้านสิงห์ท่าชุมชนเมืองยโสธร ได้ความดีความชอบในการปราบจลาจลกบฏอ้ายเชียงแก้วเขาโอง) ส่วนสมัยปรายกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ครั้งนั้น กองทัพเมืองยโสธรและเมืองอุบลราชธานีเป็นกำลังทัพสำคัญของเจ้าพระยาบดินทรเดชา ท้าวสุวอจึงได้ปูนบำเหน็จเป็นเจ้าเมืองหนองคาย และเป็นต้นตระกูล "ณ หนองคาย" 2) อุปฮาด ให้ราชบุตรเมืองยโสธร (ท้าวเคน) เป็นอุปฮาดเมืองหนองคาย 3) ราชวงศ์ ท้าวพิมพ์ น้องพระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวสุวอ) 4) ราชบุตร ท้าวบิตาหลานพระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวสุวอ) ในสมัยที่พระปทุมเทวาภิบาลเป็นเจ้าเมืองหนองคายนั้น บ้านเมืองอยู่ในยุคสร้างบ้านแปงเมืองใหม่ นั่นคือชุมชนบ้านหนองไผ่ หรือบ้านไผ่นั้นยังเป็นชุมชนเล็ก ๆ ภายหลังประชาชนที่อพยพหนีศึกสงคราม ทราบว่าบ้านเมืองสงบร่มเย็นเป็นปกติแล้วต่างก็มาตั้งบ้านเรือนในเมืองหนองคายมากขึ้น พระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวสุวอ) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองหนองคายมาจนถึง พ.ศ. 2381 ก็ถึงแก่อนิจกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาด (ท้าวเคน) ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองเป็น พระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเคน) สืบต่อไป (อุปฮาดเคนนี้ ประวัติศาสตร์อีสานของเติม วิภาคย์พจนกิจ กล่าวว่าเป็นบุตรท้าวสุวอ แต่ "ในประวัติท้าวสุวอเจ้าเมืองหนองคาย" ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 70 เรื่อง เมืองนครจำปาศักดิ์ ว่า "เจ้าคุณพระยาบดินทรเดชาฯ ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์ เอาท้าวสุวอไปด้วย แล้วตั้งท้าวสุวอเป็นที่พระปทุมเทวาฯ เจ้าเมืองหนองคาย แล้วเอาราชบุตรเมืองยโสธร เป็นอุปฮาดเมืองหนองคายท้าวพิมพ์น้องชายพระปทุมฯ เป็นที่ราชวงศ์ท้าวบิตา หลานพระปทุมฯ เป็นราชบุตร") 2. พระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเคน) พ.ศ. 2381 พระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเคน) ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเคน) เป็นเจ้าเมืองหนองคายสืบต่อจากท้าวสุวอในสมัยพระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเคน) นั้น เกิดศึกฮ่อที่ชายแดนติดต่อกับประเทศญวน เมื่อ พ.ศ. 2420 ขณะนั้นพระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเคน) ไปต้อนรับพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) ซึ่งมาตั้งกองสักเลกและเร่งรัดเงินส่วยอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี เมื่อทราบข่าวศึกฮ่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชการที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ สั่งให้พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) ซึ่งไปตรวจราชการอยู่ที่หัวเมืองอีสาน ให้เกณฑ์กองทัพใหญ่จากหัวเมืองอีสานไปปราบศึกฮ่อ ครั้นเมื่อกองทัพของพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) ยกขึ้นไปถึงเมืองหนองคาย เมืองโพนพิสัย (โพนแพน) ทราบว่าผู้คนแตกตื่นหนีศึกฮ่อที่ยกมาตีเมืองเวียงจันทน์และตั้งมั่นอยู่ที่เวียงจันทน์ แม้แต่กรมการเมืองก็อพยพหนีพาครอบครัวเข้าป่าเข้าดงด้วย พระยามหาอำมาตย์ จึงให้หากรมการเมือง ในครั้งนั้นได้สั่งประหารชีวิตท้าวศรีสุราชตำแหน่งราชบุตรเมืองหนองคาย ที่รักษาการบ้านเมืองขณะที่เจ้าเมืองไปราชการ และพระพิสัยสรเดช (ท้าวหนู) เจ้าเมืองโพนพิสัยที่ไม่อยู่รักษาบ้านเมืองแตกตื่นข่าวศึก ในครั้งนั้นพระยามหาอำมาตย์ ได้ตีศึกฮ่อจนถอยไปทางทุ่งเชียงคำ (ทุ่งไหหิน) บ้านเมืองก็สงบสุข แต่กระนั้นก็ตามใน พศ.ศ 2428 เกิดศึกฮ่อครั้งที่ 2 คราวนี้พวกฮ่อกำเริบเสิบสานได้เข้ายึดทุ่งเชียงคำและเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์อีกจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม (พระยศขณะนั้น) เป็นแม่ทัพเสด็จไปปราบฮ่อ เสร็จศึกฮ่อในครั้งนั้นได้สร้างอนุสาวรีย์ปราบฮ่อเพื่อบรรจุอัฐิผู้เสียชีวิตในการทำศึกปราบฮ่อครั้งนั้นไว้ที่เมืองหนองคาย เมื่อ พ.ศ. 2429 ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2434 ฝรั่งเศสเริ่มปฏิบัติการขยายดินแดนในประเทศลาว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ (ภายหลังเปี่ลยนเป็นมณฑลลาวพวน และมณฑลอุดรธานี ตามลำดับ) ตั้งกองบัญชาการข้าหลวงใหญ่ที่เมืองหนองคาย และย้ายไปตั้งที่บ้านเดื่อหมากแข้งใน พ.ศ. 2436 และยกบ้านเดื่อหมากแข้งเป็นเมืองอุดรธานีใน พ.ศ. 2450เมืองหนองคายสมัยหลังปฏิรูปการปกครองหัวเมืองอีสาน เมื่อข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ มาตั้งกองบัญชาการที่เมืองหนองคายนั้น เจ้าเมืองหนองคายเดิมมีบทบาทน้อยลง อีกประการหนึ่งการบริหารบ้านเมืองของเมืองหนองคายในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น หมิ่นเหม่ต่อการกระทบกระทั่งกับกองทหารฝรั่งเศส ซึ่งมีแนวโน้มที่จะขยายอำนาจลงมายังหัวเมืองภาคอีสานตลอดเวลา ฉะนั้นรัฐบาลของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงต้องใส่ใจหัวเมืองชายแดนภาคอีสานเป็นกรณีพิเศษ โดยปฏิรูปการปกครองหัวเมืองอีสาน จัดเป็นมณฑลลาวพรวน มณฑลลาวกาว และมณฑลลาวกลาง และได้ส่งพระเจ้าน้องยาเธอมาเป็นข้าหลวงใหญ่กำกับราชการถึงสามพระองค์ ดังทราบกันแล้วนั้น เมื่อย้ายกองบัญชาการข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการมณฑลลาวพรวนมาตั้งที่บ้านเดื่อหมากแข้ง เมื่อ พ.ศ. 2436 แล้วนั้น เมืองหนองคายก็เป็นเมืองหนึ่งของมณฑลลาวพรวน (มณฑลอุดรธานีสมัยต่อมา) แต่ไม่มีหลักฐานว่าพระปทุมเทวาภิบาล ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อใด แต่ทำเนียบกองบัญชาการมณฑลลาวพรวน ตามข้อบังคับการปกครองท้องที่ ร.ศ. 117 (พ.ศ. 2441) ที่ยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ในหัวเมืองภาคอีสานมาเป็นตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง ปลัดเมือง ยกกระบัตรเมือง ผู้ช่วยราชการเมือง มหาดไทยเมือง คลังเมือง โยธาเมือง นครบาลเมือง ศาลเมือง เหมือนกันทั่วพระราชอาณาจักร ได้ปรากฏชื่อ พระยาปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเสือ ณ หนองคาย) เป็นผู้ว่าราชการเมืองหนองคายพระยาปทุมเทวาภิบาล (เสือ ณ หนองคาย) พระยาปทุมเทวาภิบาล (เสือ ณ หนองคาย) ได้เป็นเจ้าเมืองสืบแทน พระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเคน) ไม่ทราบว่าสมัย ปี พ.ศ. ใด แต่ปรากฏหลักฐานในข้อบังคับการปกครองท้องที่ ร.ศ. 117 (พ.ศ. 2441) ท้าวเสือ ณ หนองคาย ได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองหนองคาย และมีกรมการเมืองดังนี้
ข้าหลวงประจำเมือง
พระยาเพชรรัตนราชสงคราม (จรัญ)
ผู้ว่าราชการเมือง
พระยาปทุมเทวาภิบาล (เสือ ณ หนองคาย)
ปลัดเมือง
พระยาบริหารราชอาณาเขต (กุแก้ว)
ผู้ช่วยราชการเมือง
พระวิเศษรักษากิจ (ปาน)
ศาลเมือง
พระพิเนตรกิจพิทักษ์
นครบาลเมือง
พระบริบาลภูมิเขต (เถื่อน) ฯลฯ
เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร มณฑลนครราชสีมา และมณฑลอีสาน เมื่อ ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449) นั้น ได้ถึงเมืองหนองคายเมื่อวันที่ 5 มกราคม ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449) บันทึกว่าอากาศหนาว 38 องศาฟาเรนต์ไฮต์ (3.3 องศาเซลเซียส) และลงเรือกลไฟไปเมืองนครพนมเมื่อ วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2449 ได้แวะตรวจราชการเมืองโพนพิสัย เมืองบึงกาฬ เมืองชัยบุรี (ตำบลชัยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม) และเมืองท่าอุเทนถึงเมืองนครพนม เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2449 ดังนี้ ถึงห้วยหลวงซึ่งเป็นที่เขตอำเภอหมากแข้งกับเมืองหนองคายต่อกัน พระยาปทุมเทวาภิบาล (เสือ ณ หนองคาย) ล่วงหน้ามาคอยรับ แล้วผ่านบ้านดงลิง ทุ่งบ้านพันเหมือน เดินตามทางโทรเลขมาตั้งแต่บ้านหมากแข้งถึงบ้านขาว เวลาเช้า 3 โมงครึ่ง ระยะทาง 380 เส้น พักกินข้าวเช้าแล้ว เวลาเช้า 4 โมงครึ่งเดินทางต่อไปผ่านหนองนกเขียน บ้านจูนบาน มีที่พักอีกแห่งหนึ่ง เวลาบ่ายโมงถึงริมลำน้ำซวย ระยะทาง 358 เส้น มีที่พักแรม รวมระยะทางวันนี้ 738 เส้น เวลาค่ำวันนี้ปรอทลงถึง 38 ดีกรีฟาเรนไฮต์ หนาวกว่าวันอื่นที่ได้พบในคราวนี้ วันที่ 5 มกราคม เวลาย่ำรุ่งขึ้นพระยาปทุมเทวาภิบาล ขอให้เปิดสะพานข้ามน้ำซวย ซึ่งสร้างใหม่ กว้าง 2 วา ยาว 22 วา 2 ศอก เสาไม้จริง พื้นปูกระดาน และได้ทำศาลาที่พักไว้ใกล้เชิงสะพานด้วย เปิดสะพานแล้วข้ามสะพานผ่านทุ่งบ้านนาไหม ห้วยดานบ้านโพนตาล มาพักกินข้าวเช้าที่บ้านผักหวาน (ค่ายบกหวาน) ระยะทาง 258 เส้น ถึงเวลาเช้าโมงครึ่ง ที่ตำบลนี้ยังมีรอยดินเป็นสนามเพลาะค่ายเจ้าพระยาบดินเดชา ครั้งรบกับราชวงศ์เวียงจันทน์เหลืออยู่พอสังเกตได้ เวลาเช้า 3 โมงเดินทางไปข้ามห้วยตาด ห้วยยาง ห้วยกงสี ขึ้นโคกสร้างหิน ลงทุ่งคำแค้ ทุ่งห้วยแกถึงทุ่งระนาม แล้วถึงเมืองหนองคายเวลา 5 โมงเช้า ที่พักแรมตั้งอยู่คนละฟากถนนกับวัดหายโศก ซึ่งอยู่ริมลำน้ำโขง พระยาบริหารราชอาณาเขต (กุแก้ว) ปลัดเมืองหนองคาย และพระบริบาลภูมิเขต (เถื่อน) นายอำเภอเมืองหรือนครบาลเมือง พร้อมด้วยกรมการผู้ใหญ่ผู้น้อยและราษฎรชาวเมืองมาคอยรับ ราษฎรที่มาวันนี้มากต่อมากทั้งที่อยู่ใกล้และที่มาไกลทางตั้งวันหนึ่งสองวันมีเครื่องสักการะมาให้ ขอเฝ้าขอเห็นตัวเรื่อยกันไปเกือบวันยังค่ำเพราะตั้งแต่กรมหลวงประจักษ์เสด็จกลับไปได้ถึง 13 ปี พึ่งมีเจ้านายเสด็จขึ้นไปในคราวนี้ ในวันนี้นายพันตรี โนลัง ข้าราชการฝรั่งเศสที่เมืองเวียงจันทน์มาหา บอกว่าเคาเวอเนอเยเนราล ให้นำเรือกลไฟชื่อลาแครนเดียลำ 1 เรือไฟเล็กอีกลำ 1 รวม 2 ลำ มาให้ใช้ในการเดินทางต่อไป และได้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานข้างฝั่งซ้ายต้อนรับให้ทุกแห่ง ได้สั่งให้ขอบใจ เคาเวอเนอเยเนราลและขอบใจตัวเขาตามสมควร เวลาบ่ายสามโมงเศษลงเรือชะล่ายาวเขียนลายทองมีเก๋งของพระยาปทุมเทวาภิบาล ล่องตามลำน้ำโขงมาข้างใต้ ขึ้นที่ท้ายบ้านพวกจีนดูร้านพ่อค้าจีนขายของต่าง ๆ ซึ่งนำมาจากกรุงเทพฯ และตลาดขายของสด แล้วเดินดูเมือง กลับมาที่พัก เวลาค่ำได้เชิญนายพันตรีโนลัง ฝรั่งเศสซึ่งนำเรือมารับมากินอาหารด้วย วันที่ 6 มกราคม เวลาเช้า 2 โมงเศษ ไปวัดมีไชย ซึ่งพระครูพุทธพจนประกาศ เจ้าคณะรองเมืองหนองคาย เป็นเจ้าอาวาส เวลาเช้า 4 โมง พวกชาวเมืองแห่บายศรีขวัญ ตีฆ้องและแห่บายศรีขวัญ ตีฆ้องและโห่ร้องเป็นกระบวนมาประชุมพร้อมกันที่ปะรำใหญ่ข้างที่พัก พวกจีนพ่อค้ามีกิมฮวยอั้งติ๋วเข้ากระบวนแห่มาด้วย ท้าวเกษน้องพระยาปทุมเทวาภิบาลอ่านคำอำนวยพรทำขวัญ แล้วผู้เฒ่าผูกมือตามประเพณี เวลาบ่าย 3 โมงเศษ ไปเปิดสะพานข้ามลำห้วยหายโศก ริมลำห้วยหายโศก ฝั่งแม่น้ำโขง สะพานนี้ข้าราชการและราษฎรได้เรี่ยไรเงินสร้างขึ้น ยาว 14 วา 3 ศอก 5 นิ้ว กว้าง 1 วา 1 คืบ 5 นิ้ว ปูกระดาน เสาไม้จริง กับสร้างศาลาหลังหนึ่ง 2 ห้อง มีเฉลียงด้านหนึ่ง หลังคามุงกระเบื้อง แล้วไปดูแข่งเรือยาว 2 คู่ เสร็จแล้วไปวัดศรีสะเกษ วัดหอก่อง และวัดโพธิ์ชัยซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูป เรียกว่า พระใส อันเป็นพระชุดเดียวกับพระเสริม พระสุก ซึ่งเดิมอยู่เมืองเวียงจันทน์ พระเสริมนั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เชิญลงมากรุงเทพฯ เดี๋ยวนี้อยู่ในพระวิหารวัดปทุมวนาราม แต่พระสุกนั้นกล่าวกันว่า เจ้าอนุพาล่องแม่น้ำโขงลงไปเรือล่มจมอยู่ในแม่น้ำโขงของใต้เมืองหนองคาย ตรงที่ซึ่งเรียกว่า เวินพระสุก บัดนี้ ที่วัดโพธิ์ชัยนี้มีพระเจดีย์ลาวองค์ 1 ฝีมือทำงามนัก เวลาค่ำให้เชิญเจ้าเมืองกรมการ มีพระยาปทุมเทวาภิบาลและพระบริบาลและพระบริบาลภูมิเขต เป็นต้น มากินอาหารด้วย เมืองหนองคายนี้พึ่งตั้งเมื่อในรัชกาลที่ 3 เมื่อตีได้เมืองเวียงจันทน์คราวเป็นกบฏ กวาดชาวเมืองเวียงจันทน์เป็นเชลยลงไป แล้วโปรดให้แบ่งคนเมืองยโสธรมาตั้งบ้านหนองคายขึ้นเป็นเมือง แต่เป็นทำเลดี กล่าวกันว่าเดี๋ยวนี้ใหญ่โตกว่าเมืองอื่น ๆ บรรดาที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงทุกเมือง มีหมู่บ้าน 421 หมู่ มีเรือน 60,044 หลังคาเรือน ราษฎรชาย 30,311 หญิง 29,733 รวม 60,444 คน สินค้าออกส่งไปขายทางเมืองนครราชสีมาและกรุงเทพฯ มีเร่ว ครั่ง กำยาน ยางกะตังกะติ้ว ยาสูบ และเขาหนัง ครั่งและกำยาน และยางกะตังกะติ้วรับมาจากหลวงพระบางโดยมาก สินค้าจากหนองคายมีเกลือ ส่งไปขายเมืองเชียงขวางและหลวงพระบางปีละมาก ๆ สินค้าที่มาจากกรุงเทพฯ พ่อค้าได้ส่งไปขายฝั่งซ้าย ฝรั่งเศสยังไม่เก็บภาษีอะไรเว้นแต่ไม้ขีดไฟต้องเสียภาษีแรง วันที่ 7 มกราคม เป็นกำหนดจะล่องเรือจากเมืองหนองคายแต่ฤดูนี้เวลาเช้าหมอกลงจัด คนอยู่ห่างกันเพียง 6 ศอก ก็แลไม่เห็นกัน ต้องรอจนเวลาเช้าโมง 40 นาที พอหมอกในลำแม่น้ำโขงจางจึงได้ลงเรือแครนเดีย เป็นเรือสำหรับข้าราชการผู้ใหญของฝรั่งเศสตั้งแต่เครเวอเนอเยเนราล เป็นต้นไปมาทางลำแม่น้ำโขง

ตำนานพญานาค

ตำนานพญานาค
ตำนานพญานาคพญานาค เป็นสัตว์มหัศจรรย์ ที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถแปลงกายได้ พญานาค มีอิทธิฤทธิ์ และมีชีวิตใกล้กับคน พญานาค สามารถ แปลงเป็นคนได้ เช่นคราวที่แปลงเป็นคนมาขอบวชกับพระพุทธเจ้า ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงนาคที่ชื่อ ถลชะ ที่แปลว่า เกิดบนบก จะเนรมิตกายได้เฉพาะบนบก และนาคชื่อ ชลซะ แปลว่า เกิดจากน้ำ จะเนรมิตกายได้เฉพาะในน้ำเท่านั้น * พญานาค ถึงแม้จะเนรมิตกายเป็นอะไร แต่ในสภาวะ 5 อย่างนี้ จะต้องปรากฎเป็นงูใหญ่เช่นเดิม คือ ขณะเกิด ขณะลอกคราบ ขณะสมสู่กันระหว่างนาคกับนาค ขณะนอนหลับ โดยไม่มีสติ และที่สำคัญ ตอนตาย ก็กลับเป็นงูใหญ่เหมือนเดิม * .พญานาค มีพิษร้าย สามารถทำอันตรายผู้อื่นได้ด้วยพิษ ถึง 64 ชนิด ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า สัตว์จำพวกงู แมงป่อง ตะขาบ คางคก มด ฯลฯ มีพิษได้ ซึ่งก็ด้วยเหตุที่ นาคคาย พิษทิ้งไว้ แล้วพวกงูไปเลีย พวกที่มาถึงก่อนก็เอาไปมาก พวกมาทีหลัง เช่น แมงป่อง กับ มด ได้พิษน้อย แค่เอาหาง เอากันไปป้ายเศษพิษ จำพวกนี้จึงมีพิษน้อย และพญานาคต้องคายพิษทุก 15 วัน * พญานาค อาศัยอยู่ใต้ดิน หรือบาดาล คนโบราณเชื่อว่าเมื่อบนสวรรค์มีเทพเทวาอาศัยอยู่ลึกลงไปใต้พื้นโลก ก็น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวว่า ที่ที่นาคอยู่นั้นลึกลงไปใต้ดิน 1 โยชน์ หรือ 16 กิโลเมตร มีปราสาทราชวังที่วิจิตรพิสดารไม่แพ้สวรรค์ ที่มีอยู่ถึง 7 ชั้น เรียงซ้อน ๆ กัน ชั้นสูง ๆ ก็จะมีความสุขเหมือนสวรรค์ * พญานาค สามารถผสมพันธุ์กับสัตว์ชนิดอื่นได้ แปลงกายแล้วผสมพันธุ์กับมนุษย์ได้ เมื่อนาคตั้งท้องจะออกลูกเป็นไข่เหมือนงู มีทั้งพันธุ์เศียรเดียว 3, 5 และ 7 เศียร สามารถขึ้นลง ตั้งแต่ใต้บาดาลพื้นโลก จนถึงสวรรค์ ในทุกตำนานมักจะกล่าวถึงนาคที่ขั้น-ลง ระหว่างเมืองบาดาล กับเมืองสวรรค์ ที่จะแปลงกายเป็นอะไรตามที่คิด ตามสภาวะเหตุการณ์นั้น ๆ จะเห็นว่า พญานาค หรือ งูใหญ่ นั้นมีความเป็นมาและถิ่นที่อยู่เป็นสัดส่วนในภพหนึ่งต่างหาก จะมีเป็นบางครั้งที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ พญานาค เป็นทั้งเอกลักษณ์ของความดี และความไม่ดี

Re: ตำนานของ พญานาค ใต้ลุ่มแม่น้ำโขง
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 05, 2009, 10:44:42 am »
ช่วงเทศกาลออกพรรษาของทุกปี โดยเฉพาะคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษา ปีใดมีเดือนแปดสองหนจะเลื่อนไปอีก 1 วัน คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำของประเทศสปป.ลาว มหาชนจากทั่วทุกสารทิศจะเดินทางหลั่งไหลมาที่อำเภอโพนพิสัย , กิ่งอำเภอรัตนวาปีและที่แก่งอาฮง หน้าวัดอาฮงศิลาวาส อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย อย่างเนืองแน่นชนิดที่หาที่จอดรถไม่ได้ หรือแทบจะเดินไม่ได้ แต่ปี 2546 ระยะทางจากจังหวัดหนองคายไปอำเภอโพนพิสัย เป็นถนน 4 เลน ประมาณ 12 กิโลเมตรก็จะเป็นการระบายรถได้ทางหนึ่งมหาชนเหล่านั้นมาเพื่อที่จะร่วมงานประเพณีไหลเรือไฟและจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือมาชมปรากฏการณ์ บั้งไฟพญานาค ซึ่งเป็นลูกไฟมหัศจรรย์ ที่พุ่งขึ้นจากลำน้ำโขง ที่เรียกว่ามหัศจรรย์นั้น เพราะยังเป็นการยากที่จะพิสูจน์ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไรเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมจึงเกิดขึ้นเฉพาะวันออกพรรษาเท่านั้น แม้ว่าวันออกพรรษาของแต่ละปีจะคลาดเคลื่อนไปไม่ตรงกับวันเดิม “บั้งไฟพญานาค” ก็จะเคลื่อนไปตามวันออกพรรษาของปีนั้น ๆ และทำไมถึงต้องเกิดขึ้น และเกิดขึ้นเฉพาะที่บริเวณอำเภอโพนพิสัย บริเวณกิ่งอำเภอรัตนวาปี และบริเวณบ้านอาฮง ตำบลหอคำ อำเภอบึงกาฬ เท่านั้น บั้งไฟพญานาคเป็นลูกไฟที่พุ่งขึ้นสู่อากาศแก้วก็หายไป เกิดขึ้นทั้งกลางแม่น้ำโขงและบริเวณใกล้ ๆ ฝั่ง ขึ้นสูงประมาณ 30-50 เมตร บางแห่งขึ้นสูงเป็น 100 เมตร ขนาดของลูกไฟที่เกิดขึ้นนั้น มีขนาดโตเท่าผลส้ม ขนาดกลางเท่าไข่ไก่ ขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ เวลาที่เกิดไม่แน่นอนแต่ต้องมืดค่ำก่อนจึงจะเกิด บางปีเกิดตั้งแต่หัวค่ำ เวลา 18.00 น. ) บางปีเกิดในเวลาตั้งแต่ 3-4 ทุ่ม เกิดจนไปถึงเวลาเที่ยงคืน ถึง 02.00 น. จำนวนที่เกิดขึ้นนั้น จำนวนไม่เท่ากัน บางแห่งเกิดขึ้นเพียง 1 ลูก บางแห่งเกิดขึ้น 20 ลูก หรือบางแห่งก็เกิด 50-100 ลูก หรือมีมากกว่านั้น สถานที่เกิดส่วนมากจะเป็นลำแม่น้ำโขง แต่ก็มีบ้างเกิดขึ้นในห้วยหนองที่อยู่ใกล้ กับแม่น้ำโขงและอยู่ในท้องที่อำเภอโพนพิสัย อำเภอปากคาด กิ่งอำเภอรัตนวาปี บริเวณบ้านอาฮง (วัดอาฮง) อำเภอบึงกาฬ อ.ศรีเชียงใหม่ (วัดหินหมากเป้ง) บ้านผาตั้ง อ.สังคม เกิดขึ้นเป็นบางส่วนลักษณะการพุ่ง ขึ้นจากน้ำ ถ้าอยู่ใกล้ฝั่งพอขึ้นสูงจะเฉเข้าหาฝั่งมากกว่าเฉออกนอกฝั่ง วิ่งเร็วช้าไม่เท่ากัน ถ้าอยู่ใกล้ฝั่งจะช้า ถ้าเกิดอยู่กลางน้ำจะเร็ว ลักษณะของลูกไฟไม่เหมือนกัน ถ้าเกิดอยู่บริเวณอำเภอโพนพิสัยจะเป็นสีแดงอมชมพู ถ้าเกิดขึ้นที่แก่งอาฮง ตำบลหอคำ อำเภอบึงกาฬ จะเป็นสีเขียวจนเห็นได้ชัด ลูกไฟที่พุ่งขึ้นเมื่อสูงสุดแล้วจะหายไปเฉย ๆ ไม่มีการตกลงมาให้เห็น ลูกไฟที่เกิดขึ้นไม่มีเสียง ไม่มีเปลวเหมือนลูกไฟทั่ว ๆ ไป ไม่มีควันบริเวณ ที่พบคือ แม่น้ำโขงบริเวณวัดไทย เขตสุขาภิบาลโพนพิสัย บริเวณวัดจุมพล เขตสุขาภิบาลบริเวณปากห้วยหลวง ที่แม่น้ำห้วยหลวงไหลลงสู่แม่น้ำโขง บริเวณวัดหลวง บริเวณบ้านจอมนาง และที่หนองสรวง ซึ่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ปากน้ำห้วยเป บ้านน้ำเป กิ่งอำเภอรัตนวาปี บริเวณตลิ่งวัดบ้านหนองกุ้ง กิ่งอำเภอรัตนวาปี หนองต้อน ตำบลบ้านต้อน ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโพนพิสัย และที่บริเวณแก่งอาฮง บ้านอาฮง ต.หอคำ อ.บึงกาฬ บริเวณนน้ำจะเป็นลูกไฟสีเขียวมรกตแม่น้ำโขงที่มีความยาวกว่า 4,000 กิโลเมตร ซึ่งเริ่มต้นจากตอนใต้ของประเทศจีน ไหลผ่านพม่า ไทย ลาว กัมพูลา และเวียดนาม ประชาชนที่อยู่อาศัยอยู่ตามสองฟากฝั่งแม่น้ำโขงไทย-ลาว ต่างก็มใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรม การบริโภค เลี้ยงสัตว์ การคมนาคม การประกอบพิธีกรรมทางน้ำ ตลอดจนถึงการพักผ่อนหย่อนใจ ประชาชนไทยลาว ต่างก็มีความสัมพันธ์กันมานาน ในปีหนึ่ง ๆ จะมีผู้เสียชีวิตในลำน้ำโขงปีละไม่น้อย พวกที่เสียชีวิตในลำน้ำโขง คนเฒ่าคนแก่เชื่อว่าเป็นการกระทำของเทพเจ้าทางน้ำ (ชาวบ้านเรียกกันว่าเงือก) เทพเจ้าทางน้ำที่ชาวบ้านลุ่มแม่น้ำโขงนับถือก็คือ “เจ้าแม่สองนาง” (งู 1 คู่) งู เงือก และพญานาค เป็นสิ่งเดียวกันสุดแต่ว่าใครจะเรียกเพื่อ เป็นการเซ่นไหว้และลดการเสียชีวิตของผู้ประกอบการทางน้ำ จึงปรากฏเห็นศาลเจ้าแม่สองนางตามแถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้งสองฟากฝั่ง เช่น ศาลเจ้าแม่สองนาง ที่วัดหายโศก อำเภอเมืองหนองคาย ศาลเจ้าแม่สองนางที่ปากห้วยหลวง, ศาลเจ้าแม่สองนางที่บ้านจอมนาง อำเภอโพนพิสัย ศาลเจ้าแม่สองนางที่หน้าโรงพยาบาล อ.บึงกาฬ ในรอบปีจะมีพิธีบวงสรวงเจ้าแม่สองนางเพื่อให้เจ้าแม่ปกป้องคุ้มครองไม่ให้ ประสบภัยอันตรายและเกิดสิริมงคลแก่ผู้ประกอบการทางน้ำพญานาค งู เงือก คือเทพเจ้าทางน้ำ เป็นความเชื่อของคนบางกลุ่มเท่านั้น จริงเท็จอย่างไรนั้นยากแก่การพิสูจน์ แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวัน แรม 1 ค่ำ เดือน 11 พี่น้องที่อาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำโขง บริเวณตั้งแต่บ้านวัดหลวง เขต สุขาภิบาลโพนพิสัย ตลอดจนผู้ที่อาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำโขงตามสถานที่กล่าวมานี้เรียกกันติดปากมา แต่ตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย ว่า “บั้งไฟพญานาค” หรือ “บั้งไฟผี”ความ เป็นมานั้นจากการเล่ายองคนเฒ่าคนแก่บอกว่าสมัยที่เป็นหนุ่มสาว ผู้เฒ่าเล่าให้ฟังว่าในคืนวันเพ็ญเดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ เมื่อนั่งเรือออกไปหาปลากลางแม่น้ำโขงจะเกิดมีลูกไฟขึ้นรอบ ๆ เรือเป็นจำนวนมาก จนเกิดความกลับต้องพายเรือเข้าหาฝั่งและจะเกิดขึ้นเฉพาะในคืนดังกล่าวเท่า นั้น ต่อมาทางอำเภอโดนพิสัยได้จัดงานไหลเรือไฟ และชมบั้งไฟพญานาค มีการประชาสัมพันธ์กัน ประชาชนจากทั่วสารทิศ ได้มากันมาดูบั้งไฟพญานาคอสิ่งมหัศจรรย์แห่งลุ่มแม่น้ำโขง บางคนก็มาด้วยการอยากรู้เพื่อพิสูจน์ด้วยตาตนเอง ซึ่งก็ไม่ทำให้ผู้ที่มาดผิดหวัง
บันทึกการเข้า

เขื่อนอุบลรัตน

ประวัติความเป็นมาเขื่อนอุบลรัตน์
เขื่อนอุบลรัตน์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "เขื่อนพองหนีบ"นับเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ แห่งแรก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดิม ชื่อ “โครงการน้ำพอง” ปี 2503 “โครงการ น้ำพอง” ได้รับการพัฒนาก่อสร้างเป็นอัน ดับแรกที่ ต.เขื่อนอุบลรัตน์ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น โดยได้รับความร่วมมือจาก กองทุนพิเศษ แห่งสหประชาชาติ ปี 2507 เริ่มงานก่อสร้างโครงการ โดยทำพิธีวาง
ศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2507 งานก่อสร้างแล้วเสร็จในปลายปี 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่14 มีนาคม 2509กลางปี 2512 ได้รวมการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง คือ การไฟฟ้ายันฮี, การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ และการไฟฟ้าลิกไนต์ เข้าด้วยกัน ทำให้เขื่อนอุบลรัตน์ อยู่ภายใต้การดำเนินงานของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน.

ลักษณะเขื่อน

ตัวเขื่อน เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว มีความยาว 885 เมตร สูง 32 เมตร ระดับสัน เขื่อนอยู่ที่ +185 เมตร (รทก.:-ระดับน้ำทะเล ปานกลาง) สันเขื่อนกว้าง 6 เมตร ฐานเขื่อน กว้าง 120 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุ 2,263 ล้านลูกบาศก์เมตร
อาคารโรงไฟฟ้า ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายมือตัวเขื่อนติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังผลิต8,400 กิโลวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 25,200 กิโลวัตต์ ต่อมา กฟผ. ได้ทำการปรับปรุงเขื่อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเขื่อนในการบรรเทาอุทกภัยให้สูงขึ้น และเป็นการเสริมความปลอดภัยให้แก่ตัวเขื่อน โดยทำการเสริมสันเขื่อนจากระดับ +185 เมตร (รทก.) เป็นที่ระดับ+188.10 เมตร (รทก.) ส่วนฐานเขื่อนด้านท้ายน้ำขยายออกจากเดิมซึ่งกว้าง 120 เมตร เป็น125 เมตร โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปี2527 และปรับปรุงแล้วเสร็จเมื่อ ต้นปี 2530.

จังหวัดขอนแก่น

ประวัติจังหวัดขอนแก่น
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ :: หน้า 2 >> หน้า 3 >>จากหลักฐานการสำรวจบริเวณบ้านโนนนกทา บ้านนาดี ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง ของ วิลเฮล์ม จิโซลไฮม์ เรื่อง เออร์ลี่บรอนซ์ อิน นอร์ธอิสเทริน์ ไทยแลนด์ ได้ค้นพบเครื่องสำริดและเหล็กมีเครื่องมือเครื่องใช้เป็นขวาน รวมทั้งแบบแม่พิมพ์ที่ใช้หล่อ มีกำไลแขนสำริดคล้องอยู่ที่โครงกระดูกท่อนแขน ซ้อนกันหลาย วง พบกำไรทำด้วยเปลือกหอย รวมทั้งพบแหวนเหล็กไน แสดงว่ามีการปั่นด้ายทอผ้าใช้ในยุคนั้นแล้ว นอกจากนี้ ยังพบขวานทองแดง อายุ 4,600-4,800 ปี เป็นหัวขวานหัวเดียวที่พบในประเทศไทย ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ในชั้นดินที่ 20 การกำหนดอายุโดยคาร์บอนด์ 14 จากชั้นดินที่ 19 ปรากฏว่าอายุ 4,275 ปี จากหลักฐานข้างต้นพิสูจน์ให้เห็นว่าอาณาเขตบริเวณจังหวัดขอนแก่น เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรม วัฒนธรรมอันสูงสุดมาแต่ดึกดำบรรพ์ มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนสมัยพุทธกาลหลายพันปี
สินค้า OTOP

ข้าวเกรียบพืชผักผลไม้
สถานที่ติดต่อ/โทรศัพท์
ตำบลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น
ลายละเอียด
ข้าวเกรียบพืชผักผลไม้ กรอบมัน ไม่เหม็นหืน สะอาด อร่อย มีประโยชน์ตามโภชนาการ โดยเฉพาะ วิตามินของผักและผลไม้

ผ้าโสล่งไหม
สถานที่ติดต่อ/โทรศัพท์
ตำบลป่าหวายนั่ง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น
ลายละเอียด
ผลิตภัณฑ์โสล่งไหม เป็นผ้าไหมมัดหมี่ทอด้วยฟืม 2 ตะกอ เป็นผ้าที่ทอด้วยเส้นไหมล้วน ๆ ทางเครือและทางทอ เนื้อผ้าแน่น ย้อมด้วยสีธรรมชาติ สวยงาม น้ำหนักเบา เหมาะสำหรับในการนำไปตัดเสื้อสุภาพบุรุษ และสุภาพสตรี


ผ้าไหมมัดหมี่ (ลายกระจับเล็ก)
สถานที่ติดต่อ/โทรศัพท์
ตำบลป่าหวายนั่ง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น
ลายละเอียด
ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ (ลายกระจับเล็ก) ทอด้วยฟืม 2 ตะกอ เป็นผ้าที่ทอด้วยเส้นไหมล้วน ๆ ทางเครือและทางทอ เนื้อผ้าแน่น ย้อมด้วยสีธรรมชาติ สวยงาม น้ำหนักเบา เหมาะสำหรับในการนำไปตัดเสื้อสุภาพบุรุษ และสุภาพสตรี

กุนเชียงหมู
สถานที่ติดต่อ/โทรศัพท์
ตำบลแคนเหนือ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
รายละเอียด
กุนเชียงหมู(OTOP)(APEC

ที่เที่ยวทั่วไทย 76 จังหวัด

ที่เที่ยวทั่วไทย 76 จังหวัด
ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
ตาก
นครสวรรค์
น่าน
พะเยา
พิจิตร
พิษณุโลก
ลำปาง
ลำพูน
สุโขทัย
อุตรดิตถ์
อุทัยธานี
เชียงราย
เชียงใหม่
เพชรบูรณ์
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ภาคกลาง
กรุงเทพมหานคร
กาญจนบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชัยนาท
นครนายก
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
ประจวบคีรีขันธ์
ปราจีนบุรี
พระนครศรีอยุธยา
ราชบุรี
ลพบุรี
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระบุรี
สระแก้ว
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
อ่างทอง
เพชรบุรี
ภาคอีสาน
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
ชัยภูมิ
นครพนม
นครราชสีมา
บุรีรัมย์
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยโสธร
ร้อยเอ็ด
ศรีสะเกษ
สกลนคร
สุรินทร์
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อำนาจเจริญ
อุดรธานี
อุบลราชธานี
เลย
ภาคตะวันออก
จันทบุรี
ชลบุรี
ตราด
ระยอง
ภาคใต้
กระบี่
ชุมพร
ตรัง
นครศรีธรรมราช
นราธิวาส
ปัตตานี
พังงา
พัทลุง
ภูเก็ต
ยะลา
ระนอง
สงขลา
สตูล
สุราษฎร์ธานี

สถานที่ท่องเที่ยว: จังหวัดกรุงเทพมหานคร

Tags :พิพิธภัณฑ์ความรู้
ตั้งอยู่ที่ถนนเจริญกรุง เขตพระนคร ภายในมีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ ศาลเจ้าพ่อหอกลอง พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (เปิดวันจันทร์-ศุกร์ 09.00-15.30 น.) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2222 4840, 0 2221 2871, 0 2221 7990, 0 2279 3007, 0 2278 5002 และยังมีสนามยิงปืน (เปิดวันจันทร์-ศุกร์ 15.00-18.00 น., วันเสาร์-อาทิตย์ 09.00-18.00 น.) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2221 1976, 0 2224 0306

Tags :ศูนย์วัฒนธรรมโรงละครการแสดง
ศาลาเฉลิมกรุงตั้งอยู่ที่ถนนเจริญกรุง เขตพระนคร เดิมเป็นโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง ต่อมาได้มีการปรับปรุงให้เป็นโรงละครที่ทันสมัย โดยมีการนำเอาเทคนิคพิเศษมาประกอบการแสดงหลากหลายประเภท อาทิ โขน ละครเวที ละครย้อนยุค และภาพยนตร์หมุนเวียนกันไป ติดต่อ โทร. 0 2225 8757–8, 0 2623 8148-9 หรือ เว็บไซต์ www.salachalermkrung.com

ตั้งแต่ปี 2549 มูลนิธิศาลาเฉลิมกรุง ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้จัดโครงการ โขน-ศาลาเฉลิมกรุงขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยได้จัดแสดงตลอดปี 2549 นอกจาก โขน ซึ่งเป็นนาฏกรรมชั้นสูงของไทยแล้ว สถานที่จัดแสดง คือ ศาลาเฉลิมกรุงก็เป็นโรงมหสพหลวงที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่ากึ่งศตวรรษ เป็นเสมือนสถาบันสัญลักษณ์แห่งการนำเสนอศิลปวัฒนธรรมประจำชาติด้วยรูปแบบของการแสดงอันวิจิตรตระการตา ถูกต้องตามขนบจารีตแบบแผน ซึ่งจะทำให้คนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนได้ตระหนัก ซาบซึ้ง และภาคภูมิใจในคุณค่าแห่งศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เป็นการสืบอายุศิลปะและศิลปินไทยให้ดำรงอยุ่อย่างยืนยาว และส่งผลดีต่อเกียรติภูมิของประเทศด้วย การแสดงโขน ศาลาเฉลิมกรุง แสดงทุกวันศุกร์และเสาร์ เริ่มเวลา19.30 น. ใช้เวลาแสดง 1 ชั่วโมง 30 นาที บัตรราคา 1,000 และ 1,20

Tags :ทะเล
ชายทะเลบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน จ.กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ป่าชายเลนที่ขนานกับทะเลอ่าวไทย ประกอบด้วยป่าแสม และป่าโกงกาง ตามชายฝั่งเป็นที่อาศัยของนกต่างๆ 0 บาท จองบัตรได้ที่ศาลาเฉลิมกรุง โทร. 0-2623-8148-9, 0-2225-8757-8

Tags :สวนสัตว์
ตั้งอยู่เลขที่ 99 ถนนรามอินทรา บริเวณกิโลเมตรที่ 9 เขตมีนบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 430 ไร่ แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง คือ ซาฟารีปาร์ค ซึ่งเป็นสวนสัตว์เปิด มีสัตว์ต่างๆ เช่น ม้าลาย กวาง ยีราฟ นก เสือ สิงโต หมี ฯลฯ ให้นักท่องเที่ยวได้นั่งรถชมชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ตามธรรมชาติโดยรถส่วนตัว หรือรถบริการพร้อมผู้บรรยายของซาฟารีเวิลด์ ส่วนที่สอง คือ มารีนปาร์ค หรือสวนน้ำ มีสัตว์น้ำ และสัตว์ชนิดต่างๆ ที่หาดูให้ชมยาก รวมทั้งการแสดงต่างๆ เช่น การแสดงของปลาโลมา, นก, แมวน้ำ และลิง เป็นต้น



นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารและเกมส์ต่างๆ เช่น เกมส์ปาเป้า ยิงปืน โยนบ่วง ฯลฯ ไว้บริการ ซาฟารีเวิลด์เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. อัตราค่าเข้าชม คนไทย ผู้ใหญ่ 470 บาท เด็ก 330 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 750 บาท เด็ก 450 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2518 1000-19, 0 2914 4100-9 หรือที่เว็บไซต์ http://safariworld.com

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คติเตือนใจ


โรงเรียนที่ดี

อันดับโรงเรียนที่ดีที่สุดของประเทศไทย ประจำปี2551
100โรงเรียนที่มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการ(วิทยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์)แต่ทางสัมคมที่มีชื่อเสียงมานานเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศแต่ต่างประเทศซึ่งดูจากสถิติทุนกพ.ทุนพสวท.ทุนสสวท.ทุนวิทย์ทุนทางภาษาผลการสอบเข้ามหาลัยผลการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศทั้งทางวิชาการและสังคมรวมไปถึงรางวัลในประเทศเช่นโรงเรียนต้นแบบ ครูต้นแบบ โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ฯลฯ

1.เตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร***


2.มหิดลวิทยานุสรณ์ นครปฐม
3.สวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
4.บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพมหานคร
5.สามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

6.สตรีวิทยา กรุงเทพมหานคร
7.เทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร
8สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) กรุงเทพมหานคร
9พิบูลวิทยาลัย ลพบุรี
10หาดใหญ่วิทยาลัย สงขลา
11มงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยม เชียงใหม่
12สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
13เซนต์คาเบรียล กรุงเทพมหานคร
14อัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพมหานคร
15สาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่
16กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
17หอวัง กรุงเทพมหานคร
18สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
19ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่
20โยธินบูรณะ กรุงเทพมหานคร
21ราชสีมาวิทยาลัย นครราชสีมา
22ภูเก็ตวิทยาลัย ภูเก็ต
23เบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี
24ศึกษานารี กรุงเทพมหานคร
25มหาวชิราวุธ สงขลา
26อุดรพิทยานุกูล อุดรธานี
27บุญวาทย์วิทยาลัย ลำปาง
28นครสวรรค์ นครสวรรค์
29เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ กรุงเทพมหานคร
30บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 กรุงเทพมหานคร
31นวมินทราชินูทิศ บดินทร์เดชา กรุงเทพมหานคร
32สามัคคีวิทยาคม เชียงราย
33เซนต์โยเซฟคอนเวนต์ กรุงเทพมหานคร
34สตรีวิทยา 2 กรุงเทพมหานคร
35สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) กรุงเทพมหานคร
36ราชวินิตบางแก้ว สมุทรปราการ
37สวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี นนทบุรี
38อัสสัมชัญคอนแวนต์ กรุงเทพมหานคร
39มาแตร์เดอีวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
40บุรีรัมย์พิทยาคม บุรีรัมย์
41ชลราษฎรอำรุง ชลบุรี
42จิตรลดา กรุงเทพมหานคร
43ราชินี กรุงเทพมหานคร
44สตรีวัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพมหานคร
45สายปัญญาในพระราชินูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร
46สายน้ำผึ้ง กรุงเทพมหานคร
47พระปฐมวิทยาลัย นครปฐม
48สตรีสมุทรปราการ สมุทรปราการ
49วัฒนาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
50วัดสุทธิวราราม กรุงเทพมหานคร
51ขอนแก่นวิทยายน ขอนแก่น
52สุรนารีวิทยา นครราชสีมา
53ศึกษานารีวิทยา กรุงเทพมหานคร
54แก่นนครวิทยาลัย ขอนแก่น

55เบญจมราชาลัย กรุงเทพมหานคร
56ยุพราชวิทยาลัย เชียงใหม่
57จักรคำคณาทร ลำพูน
58ร้อยเอ็ดวิทยาลัย ร้อยเอ็ด
59ราชินีบน กรุงเทพมหานคร

60เบญจมราชูทิศ จันทรบุรี จันทรบุรี
61สาธิตมัธยมมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ขอนแก่น
62เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพมหานคร
63ดาราวิทยาลัย เชียงใหม่
64อัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพมหานคร
65นวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี นนทบุรี
66ปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร
67ราชินีบูรณะ นครปฐม
68สตรีภูเก็ต ภุเก็ต
69กาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม นครปฐม
70เบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช
71เบญจมราชรังสฤษฎิ์ ฉะเชิงเทรา
72ลำปางกัลยาณี ลำปาง
73นารีรัตน์ แพร่
74สุรวิทยาคาร สุรินทร์
75นวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพมหานคร
76พิริยาลัย แพร่
77สตรีสมุทรปราการ สมุทรปราการ
78วัฒโนทัยพายัพ เชียงใหม่
79เบญจมราชูทิศ ราชบุรี ราชบุรี
80เฉลิมขวัญสตรี พิษณุโลก
81สิรินธร สุรินทร์
82บูรณะรำลึก ตรัง
83สุรศักดิ์มนตรี กรุงเทพมหานคร
84หาดใหญ่สมบูรณ์กุลกันยา สงขลา
85ราชวินิตมัธยม กรุงเทพมหานคร
86ส**นทบุรี นนทบุรี
87วิสุทธรังษี กาญจนบุรี
88สาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร
89พระหฤทัยคอนแวนต์ กรุงเทพมหานคร
90ปราจิณราษฎรอำรุง ปราจีนบุรี
91สุราษฎร์ธานี สุราษฎร์ธานี
92อัสสัมชัญสมุทรปราการ สมุทรปราการ
93สตรีศรีน่าน น่าน
94จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง ตรัง
95สาธิต"พิบูลย์บำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี
96ทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร
97สระบุรีวิทยาคม สระบุรี
98กัลยาณีศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช
99สวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต ปทุมธานี
100สวนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน