จำนวนผู้เข้าชม

หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบำศรีชัยสิงห์

ระบำศรีชัยสิงห์






ระบำศรีชัยสิงห์เป็นระบำโบราณคดีที่วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ได้สร้างสรรค์ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่จากจินตนาการศิลปกรรมภาพจำหลัก ซึ่งภาพจำหลักนี้ ได้ลอกเลียนแบบมาจากปราสาทเมืองสิงห์ เป็นโบราณสถานที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ดัดแปลงมาจากท่ารำของนางอัปสรบายน ในสมัยขอมบายน มาเป็นหมู่ระบำนางอัปสรฟ้อนรำถวายพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นพระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

สาเหตุที่ตั้งชื่อว่าศรีชัยสิงห์ คิดว่า น่าจะนำมาจาก ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เรียกเมืองกาญจน์ ว่า ศรีชัยยะสิงหปุระ
ประดิษฐ์ท่ารำโดย นางเฉลย ศุขวนิช ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ไทย ของวิทยาลัยนาฏศิลปกรมศิลปากร การแต่งกายเลียนแบบภาพจำหลักนางอัปสร ปราสาทเมืองสิงห์ บรรเลงโดยเพลงเขมรชมจันทร์และเพลงเขมรเร็ว

การแสดงเพื่อสงเสริมแหล่งท่องเที่ยวของไทย โดยการแสดงชุดนี้มีที่มาจากแหล่งโบราณคดีที่จังหวัดกาญจนบุรี คือปราสาทเมืองสิงห์




ท่ารำนางอัปสรบายน ในปราสาทของกัมพูชา




ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงระบำศรีชัยสิงห์

๑. ระนาดเอก ๒. ระนาดทุ้ม ๓. ระนาดเอกเหล็ก ๔. ระนาดทุ้มเหล็ก ๕. ฆ้องวงใหญ่ ๖. ฆ้องวงเล็ก ๗. ปี่นอก ๘. โทน

๙. ฉิ่ง ๑๐. ฉาบเล็ก ๑๑. กรับ ๑๒. โหม่ง



เครื่องแต่งกายระบำศรีชัยสิงห์

เครื่องแต่งกายมีลักษณะกลิ่นไอของขอมบายน ตัวเสื้อสีน้ำตาลรัดกระชับเข้ารูปนักแสดง ใส่กรองคอทอง สังวาลสองเส้นไขว้กันบนตัวเสื้อ
ตัวกระโปรงจะเป็นเอวต่ำจับจีบด้านหน้าสีทอง ปักด้วยเลื่อมทองตรงขอบเอว เครื่องประดับทอง ทรงผมเกล้ามวยตั้งสูงมากประดับด้วยริบบิ้นทอง
ส่วนนักแสดงตัวเอก ทรงผมสวมมงกุฏลักษณะลวดลายขอม


เครื่องแต่งกายตัวเอก
เสื้อ รัดรูปสีน้ำตาลอ่อน คอกลม แขนสั้นเหนือศอก
ผ้า นุ่ง เป็นกระโปรงสำเร็จรูปแบบป้าย ทบซ้อนหน้า สีเหลืองทอง ยาวคลุมเข่า มีลูกไม้แถบสีทองเดินลายและปักเลื่อมดอกสีทอง ตัดเย็บด้วยผ้าผาดไทยชนิดมีลวดลายในตัว

เครื่องประดับ
ศีรษะของตัวเอก ประกอบด้วย
๑. กะบังหน้า
๒. ยี่ก่า

๓. เกี้ยว

๔. พู่หนัง

๕. สาแหรก

๖. ปลียอด

๗. ดอกไม้ไหว
๘. ลายท้าย



เครื่องประดับ
รัดต้นแขน
สร้อยคอ ๑ เส้น
กำไลมือ
กำไลเท้า
กรองคอ

สังวาล ๒ เส้น (ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับกระจก และพลอยหลากสี)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น