จำนวนผู้เข้าชม

หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

มงคลชีวิต 38 ประการ





มงคล คือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ๓๘ ประการได้แก่
๑. การไม่คบคนพาล
๒. การคบบัญฑิต
๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร
๕. เคยทำบุญมาก่อน
๖. การตั้งตนชอบ
๗. ความเป็นพหูสูต
๘. การรอบรู้ในศิลปะ
๙. มีวินัยที่ดี
๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต
๑๑.การบำรุงบิดามารดา
๑๒.การสงเคราะห์บุตร
๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา
๑๔.ทำงานไม่ให้คั่งค้าง
๑๕.การให้ทาน
๑๖.การประพฤติธรรม
๑๗.การสงเคราะห์ญาติ
๑๘.ทำงานที่ไม่มีโทษ
๑๙.ละเว้นจากบาป
๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
๒๒.มีความเคารพ
๒๓.มีความถ่อมตน
๒๔.มีความสันโดษ
๒๕.มีความกตัญญู
๒๖.การฟังธรรมตามกาล
๒๗.มีความอดทน
๒๘.เป็นผู้ว่าง่าย
๒๙.การได้เห็นสมณะ
๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล
๓๑.การบำเพ็ญตบะ
๓๒.การประพฤติพรหมจรรย์
๓๓.การเห็นอริยสัจ
๓๔.การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
๓๖.มีจิตไม่เศร้าโศก
๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส
๓๘.มีจิตเกษม

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

เพลงรำซิมารำ

รำซิมารำ



ท่ารำส่าย


ตัวอย่างการรำเพลงรำซิมารำ





เนื้อเพลงรำซิมารำ

คำร้อง จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์)

ทำนอง อาจารย์มนตรี ตราโมท

ท่ารำ รำส่าย

รำซิมารำ เริงระบำกันไห้สนุก
ยามงานเราทำงานอย่างจริงจัง ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญขุก
ถึงยามว่างเราจึงรำเล่น ตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์
ตามเยี่ยงอย่างตามยุค เล่นสนุกอย่างวัฒนธรรม
เล่นอะไรให้มีระเบียบ ให้งามให้เรียบจึ่งจะคมขำ
มาซิเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำ มาเล่นระบำของไทยเราเอย.


ความหมายเพลง


ความหมาย ขอพวกเรามาเล่นรำวงกันให้สนุกสนานเพลิดเพลิน ในยามว่างจะได้ผ่อนคลายจาก

ความทุกข์ เมื่อทำงานเราก็จะทำงานกันด้วยความอุตสาหะ เพื่อจะได้ไม่ลำบาก

การรำก็จะรำอย่างมีระเบียบแบบแผน ตามวัฒนธรรมไทยของเรา ดูแล้วงดงาม

เพลงชาวไทย

ชาวไทย


ท่ารำชักแป้งผัดหน้า


ตัวอย่างการรำเพลงชาวไทย


เนื้อเพลงชาวไทย


เนื้อร้อง จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์)
ทำนอง อ. มนตรี ตราโมท
ท่ารำ ชักแป้งผัดหน้า – เดินย้ำเท้า


ชาวไทยเจ้าเอ๋ย ขออย่าละเลยในการทำหน้าที่
การที่เราได้เล่นสนุก เปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้
เพราะชาติเราได้เสรี มีเอกราชสมบูรณ์
เราจึงควรช่วยชูชาติ ให้เก่งกาจเจิดจำรูญ
เพื่อความสุขเพิ่มพูน ของชาวไทยเราเอย




ความหมายเพลง


ความหมาย หน้าที่ที่ชาวไทยพึงมีต่อประเทศชาตินั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรกระทำ อย่าได้

ละเลยไปเสีย ในการที่เราได้มาเล่นรำวงกันอย่างสนุกสนาน ปราศจาก

ทุกข์โศกทั้งปวงนี้ก็เพราะว่า ประเทศไทยเรามีเอกราช ประชาชนมีเสรีในการ

จะคิดจะทำสิ่งใด ๆ ทั้งนั้น เราจึงควรช่วยกันเชิดชูชาติไทยให้รุ่งเรืองต่อไป

เพื่อความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไปของไทยเราตลอด



การฝึกหัดให้จังหวะในการเดินเข้ากับจังหวะเพลง


การจัดวงรำวงนั้น ให้หญิงยืนอยู่ข้างหน้าชาย ทั้งสองหันไปทางที่ทวนเข็มนาฬิกา

คู่ถัดไปก็ยืนต่อหลังไป จัดระยะวงรำให้สวยงามกับจำนวนผู้รำ

จังหวะเท้า ใช้การย่ำเท้าเดินเป็นวงกลมทวนเข็มนาฬิกา

งามแสงเดือน

งามแสงเดือน


ท่ารำสอดสร้อยมาลา

ตัวอย่างการรำเพลงงามแสงเดือน



เนื้อเพลงงามแสงเดือน

เนื้อร้อง จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์)

ทำนอง อ. มนตรี ตราโมท

ท่ารำ สอดสร้อยมาลา – เดินย่ำเท้า



งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (2 เที่ยว)

เราเล่นเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์วายระกำ

ขอให้เล่นฟ้อนรำ เพื่อสามัคคีเอย

ความหมายเพลง

งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า - ท้องฟ้าจะงดงามเมื่อพระจันทร์ส่องแสง

งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ - ผู้หญิงก็งดงามหากได้รำอยู่ในวงรำ

เราเล่นเพื่อสนุก - พวกเราละเล่นรำวงอย่างสนุกสนานไม่มีทุกข์

เปลื้องทุกข์วายระกำ - ละทิ้งความทุกข์ความไม่สบายใจออกไป

ขอให้เล่นฟ้อนรำเพื่อสามัคคีเอย - การรำวงนี้ก็เพื่อให้เกิดความสามัคคี


การฝึกหัดให้จังหวะในการเดินเข้ากับจังหวะเพลง



เริ่มต้นด้วย หญิง-ชาย จับคู่กันยืนเป็นวงกลมหันด้านซ้ายเข้าในวง หญิงยืนห่างจากชายประมาณ 1 ช่วงแขนแต่ละคู่ห่างกันประมาณ 2 ช่วงแขน ส่วนจังหวะเท้าให้ย่ำเท้าซ้าย – ขวา สลับกัน ค่อย ๆ ย่ำเท้าเคลื่อนไปตามวง การรำเท้าแรกนั้นให้กำหนดตามมือด้านที่จีบของท่ารำ เพื่อให้จำได้แม่นยำ เช่น ท่าสอดสร้อยมาลา

จากแม่ท่านั้น จะต้องจีบหงายที่ชายพกด้วยมือซ้าย ก้าวเท้าซ้ายเอียงศีรษะทางซ้าย ส่วนมือขวาตั้งวงบน ดังนั้น ก้าวแรกของท่ารำวงเพลงนี้ จึงควรก้าวเท้าซ้ายเป็นจังหวะแรก เพราะเริ่มต้นด้วยการจีบมือซ้าย


การฝึกจังหวะเท้า

ฉิ่ง - ก้าวเท้าซ้ายตรงกับคำว่า “งาม”

ฉับ - ก้าวเท้าขวาตรงกับคำว่า “เดือน”


ดนตรีจะนำเพลงงามแสงเดือนไป 1 วรรค ให้ฝ่ายหญิงหันศีรษะมาทางด้านซ้าย เข้าหาฝ่ายชายแล้วทำความเคารพด้วย การไหว้ จะเป็นไหว้ทั้งชายและหญิง หรือจะให้ฝ่ายหญิงไหว้ ฝ่ายชายโค้งก็ได้ เมื่อทำความเคารพแล้วตั้งท่านิ่งไว้ คือ มือซ้ายจีบหงายที่บริเวณชายพก มือขวาตั้งวงศีรษะเอียงไปทางด้านจีบ ส่วนจังหวะเท้านั้นเพียงแค่ย่ำเท้าซ้าย – ขวาสลับกัน ก้าวแรกของท่ารำเพลงนี้ควรเป็นก้าวซ้ายก่อนในจังหวะแรก เพราะเราเริ่มด้วยการจีบมือ

ระบำทวารวดี

ระบำทวารวดี






ระบำทวารวดี เป็นระบำชุดที่ ๑ ในระบำโบราณคดีที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) ซึ่งต้องการศึกษา และเรียนรู้เรื่องเครื่องแต่งกายของมนุษย์ เพื่อประโยชน์แก่วิชาประวัตศาสตร์ และโบราณคดี โดยทูลขอร้องให้หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งสถาปนิกพิเศษของกรมศิลปากร ทางศึกษาแบบอย่าง และเขียนเลียนแบบเครื่องแต่งการสมัยทวารวดีบางรูป โดยในครั้งแรกคิดจะจัดสร้างเครื่องแต่งกายตามสมัยโบราณคดี ถวายทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคาร สร้างใหม่ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แต่หลังจากได้ภาพตามต้องการแล้ว จึงเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ในการจัดแสดงระบำโบราณคดีชุดต่าง ๆ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรแทนการจัดแสดงเครื่องแต่งกาย

ระบำนี้ประดิษฐ์ขึ้นจากการนค้นคว้าหลักฐานทางโบราณคาดีสมัยทวารวดี ท่ารำและ เครื่องแต่งกายได้แนวคิดจากภาพสลัก ภาพปั้นที่ขุดค้นพบ ณ โบราณสถานที่ตำบลคูบัว อำเภอ อู่ทอง จังหวัดนครปฐมและที่ตำบลโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ ฯลฯ นักโบราณคดี สันนิฐานว่าชาวทวารวดีเป็นต้นเชื้อสายพวกมอญ ดังนั้นลีลาท่ารำ รวมทั้งเนียงทำนองเพลง จึงเป็นแบบมอญ ท่ารำบางท่าได้ความคิดมาจากภาพสลัก และภาพปูนปั้นที่ค้นพบโบราณสถานที่ สำคัญ เช่น


- ท่านั่งพับเพียบ มือขวาจีบตั้งข้อมือระดับไหล่ มือซ้ายวางบนตัก ท่านี้เป็นท่าที่ได้จากภาพปูนปั้น นักร้องนักดนตรีหญิงสมัยทวารวดี

ซึ่งพบที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี


- ท่ามือซ้ายคว่ำฝ่ามือ งอนิ้วทั้ง ๔ เล็กน้อยปรกหู มือขวาหงายฝ่ามือ ปลายนิ้วมือจรดที่หน้าขาเกือบถึงข่าซ้าย เขย่งเท้าซ้าย

ย่อเข่าทั้ง ๒ ข้างลง กดไหล่ว้าย ลักคอข้างขวา ท่านี้เรียกว่าท่าลลิตะ จากภาพปูนปั้นกินรีฟ้อนรำ ที่ตำบลโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์


- ท่ามือซ้ายจีบหันฝ่ามือเข้าหารักแร้ มือขาวจีบตั้งวงกันศอกระดับไหล่ ดกไหล่ขวา ลักคอทางซ้าย เท้าขวาเขย่ง ส้นเท้าขวาชิดกับข้อเท้าซ้าย

ซึ่งยืนเต็มเท้า ย่อเข่าทั้ง ๒ ข้างและกับเข่าขวา ท่านี้เป็นท่าที่ได้จากการภาพปูนปั้นที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี



การแต่งกาย

เครื่องแต่งกายชุดระบำทวารวดี ได้แบบอย่างมาจากภาพปูนปั้น ที่ค้นพบตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ สมัยทวารวดี และได้นำมาประดิษฐ์ให้เหมาะสมกับการแสดง ซึ่งมีดังนี้

๑. ผมเกล้าสูงกลางศีรษะในลักษณะคล้ายลูกจันแบน สวมเกี้ยวรัดผม

๒. สวมกระบังหน้า

๓. สวมต่างหูเป็นห่วงกลมใหญ่

๔. สวมเสื้อในสีเนื้อ ( แทนการเปลือยอกตามภาพปั้น )

๕. นุ่งผ้าลักษณะคล้ายจีบหน้านางสีน้ำตาลแถวหนึ่ง และสีเหลืองอ่อนแถวหนึ่ง มีตาลสีทองตกแต่งเป็นลายพาดขวางลำตัว

๖. ห่มสไบเฉียง ปล่อยชายไว้ด้านหน้า และด้านหลัง

๗. สวมกำไลข้อมือ ต้นแขนโลหะ และแผงข้อเท้าผ้าติดลูกกระพรวน

๘. สวมจี้นาง

๙. คาดเข็มขัดผ้าตาดเงิน หรือเข็มขัดโลหะ




ภาพการแต่งกายชุดทวารวดี

ระบำศรีชัยสิงห์

ระบำศรีชัยสิงห์






ระบำศรีชัยสิงห์เป็นระบำโบราณคดีที่วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ได้สร้างสรรค์ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่จากจินตนาการศิลปกรรมภาพจำหลัก ซึ่งภาพจำหลักนี้ ได้ลอกเลียนแบบมาจากปราสาทเมืองสิงห์ เป็นโบราณสถานที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ดัดแปลงมาจากท่ารำของนางอัปสรบายน ในสมัยขอมบายน มาเป็นหมู่ระบำนางอัปสรฟ้อนรำถวายพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นพระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

สาเหตุที่ตั้งชื่อว่าศรีชัยสิงห์ คิดว่า น่าจะนำมาจาก ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เรียกเมืองกาญจน์ ว่า ศรีชัยยะสิงหปุระ
ประดิษฐ์ท่ารำโดย นางเฉลย ศุขวนิช ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ไทย ของวิทยาลัยนาฏศิลปกรมศิลปากร การแต่งกายเลียนแบบภาพจำหลักนางอัปสร ปราสาทเมืองสิงห์ บรรเลงโดยเพลงเขมรชมจันทร์และเพลงเขมรเร็ว

การแสดงเพื่อสงเสริมแหล่งท่องเที่ยวของไทย โดยการแสดงชุดนี้มีที่มาจากแหล่งโบราณคดีที่จังหวัดกาญจนบุรี คือปราสาทเมืองสิงห์




ท่ารำนางอัปสรบายน ในปราสาทของกัมพูชา




ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงระบำศรีชัยสิงห์

๑. ระนาดเอก ๒. ระนาดทุ้ม ๓. ระนาดเอกเหล็ก ๔. ระนาดทุ้มเหล็ก ๕. ฆ้องวงใหญ่ ๖. ฆ้องวงเล็ก ๗. ปี่นอก ๘. โทน

๙. ฉิ่ง ๑๐. ฉาบเล็ก ๑๑. กรับ ๑๒. โหม่ง



เครื่องแต่งกายระบำศรีชัยสิงห์

เครื่องแต่งกายมีลักษณะกลิ่นไอของขอมบายน ตัวเสื้อสีน้ำตาลรัดกระชับเข้ารูปนักแสดง ใส่กรองคอทอง สังวาลสองเส้นไขว้กันบนตัวเสื้อ
ตัวกระโปรงจะเป็นเอวต่ำจับจีบด้านหน้าสีทอง ปักด้วยเลื่อมทองตรงขอบเอว เครื่องประดับทอง ทรงผมเกล้ามวยตั้งสูงมากประดับด้วยริบบิ้นทอง
ส่วนนักแสดงตัวเอก ทรงผมสวมมงกุฏลักษณะลวดลายขอม


เครื่องแต่งกายตัวเอก
เสื้อ รัดรูปสีน้ำตาลอ่อน คอกลม แขนสั้นเหนือศอก
ผ้า นุ่ง เป็นกระโปรงสำเร็จรูปแบบป้าย ทบซ้อนหน้า สีเหลืองทอง ยาวคลุมเข่า มีลูกไม้แถบสีทองเดินลายและปักเลื่อมดอกสีทอง ตัดเย็บด้วยผ้าผาดไทยชนิดมีลวดลายในตัว

เครื่องประดับ
ศีรษะของตัวเอก ประกอบด้วย
๑. กะบังหน้า
๒. ยี่ก่า

๓. เกี้ยว

๔. พู่หนัง

๕. สาแหรก

๖. ปลียอด

๗. ดอกไม้ไหว
๘. ลายท้าย



เครื่องประดับ
รัดต้นแขน
สร้อยคอ ๑ เส้น
กำไลมือ
กำไลเท้า
กรองคอ

สังวาล ๒ เส้น (ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับกระจก และพลอยหลากสี)




ระบำสุโขทัย

ระบำสุโขทัย



ระบำ สุโขทัย เป็นระบำชุดที่ ๕ อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ นับเป็นยุคสมัยที่ชนชาติไทย เริ่มสร้างสรรค์ศิลปะด้านนาฏศิลป์ และดนตรีในเป็นสมบัติประจำชาติ โดยอาศัยหลักฐานอ้างอิงที่กล่าวไว้ในเอกสาร และหลักศิลาจารึก ประกอบศิลปกรรมอื่น ๆ การแต่งทำนอง กระบวนท่ารำ และเครื่องแต่งกาย ประดิษฐ์ขึ้นให้มีลักษณะที่อ่อนช้อยงดงาม ตามแบบอย่างของศิลปะสมัยสุโขทัย


ระบำชุดสุโขทัย จัดแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ และภายหลังได้นำออกแสดง ในโรงละครแห่งชาติ และที่อื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนชม


นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง โดยนำทำนองเพลงเก่าของสุโขทัยมาดัดแปลง


ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาจาศิลปะการแสดง(นาฏศิลป์ไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ


นายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน สร้างเครื่องแต่งกาย นายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์ และเครื่องประดับ

นาฎยศัพท์ที่ใช้ประกอบการรำ
๑.จีบหังสัสยะหัสต์ โดยการนำนิ้วหัวแม่มือจรดข้อสุดท้ายของนิ้วชี้
หักข้อนิ้วชี้ลงมา นิ้วที่เหลือกรีดดึงออกไป


๒.
ท่าปางลีลา เป็นท่าออก โดยมือซ้ายจีบแบบหังสัสยะหัสต์ มือขวาแบส่งไปหลังหงายท้องแขนขึ้น เอียงศีรษะด้านซ้าย ก้าวเท้าขวามาข้างหน้า เท้าซ้ายเปิดส้นเท้า


๓.ท่าดอกบัว คิดจากการเคารพบูชากราบไหว้ มือทำเป็นรูปดอกบัว
อยู่ระหว่างอกเป็นดอกบัวตูม ชูมือขึ้นแล้วค่อยๆบานปลายนิ้วออกเป็นบัวบาน


.ท่าพระนารยณ์ แทนองค์พระนารายณ์ พระอิศวร ท่าจีบแบบหังสัสยะหัสต์ ตั้งวงกลางข้างลำตัว กระดกเท้าซ้าย


๕.
ท่ายูงฟ้อนหาง คิดจากท่านาฎศิลป์ แบมือ แขนทั้งสองตึงส่งหลัง หงายท้องแขนขึ้น


๖.
ท่าบัวชูฝัก คิดจากการขอพร อีกมือหนึ่งไว้ข้างสะโพก มือจีบคว่ำแล้วสอดมือขึ้น เป็นท่าสอดสูงเหนือศีรษะ


๗.
ท่าชะนีร่ายไม้ คิดจากมนุษย์โลกต้องการดำรงชีวิต หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยหมุนเป็นวงกลมแทนการเวียน ว่าย ตาย เกิด มือข้างหนึ่งตั้งวงสูง มืออีกข้างหนึ่งหงายท้องแขน ลำแขนตึง แบมือและชี้ปลายนิ้วลง มองมือสูง



การแต่งกาย แบ่งออกเป็นตัวเอกและตัวรอง ดังนี้

ศีรษะ ทรงยอดรัศมีสำหรับตัวเอก และทรงระฆังคว่ำสำหรับตัวรอง

ต่างหู เป็นดอกกลม

เสื้อในนาง สีชมพูอ่อน

กรองคอ สีดำ ปักดิ้นและเลื่อม

ต้นแขน ตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง

กำไลข้อมือ ตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง

ข้อเท้า ตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง

ผ้ารัดเอว ทำด้วยผ้าสีดำ มีลวดลายเป็นดอกไม้ประดับและห้อยที่ชายเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีริบบิ้นสีเขียวห้อยมาทั้งสองข้าง

ผ้านุ่ง เป็นกระโปรงบานจีบหน้าสีส้ม มีลูกไม้สีขาวระบายเป็นชั้น ๆ

ทรงผม เกล้าผม ครอบด้วยที่รัดผม


การแต่งกายระบำสุโขทัย