จำนวนผู้เข้าชม

หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สำนวนไทย


ความเป็นมาของสำนวนไทย
สำนวนไทย มีอยู่ในภาษาพูดตั้งแต่ก่อนเรามีภาษาเขียนในสมัยสุโขทัย เมื่อเรามีภาษาเขียนจารึกเป็นหลักฐาน ข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมีสำนวนไทยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ เช่น
- เจ็บท้องข้องใจ หมายถึง มีเรื่องเดือดร้อน

- ไพร่ฟ้าหน้าใส หมายถึง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข

- เหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อดำ หมายถึง ทรัพย์สมบัติการที่มีภาษาเขียนครั้งแรก มีสำนวนไทยปรากฏทันที แสดงว่าสำนวนไทยเรามีใช้ในภาษาพูดอยู่ก่อนแล้วในสมัยนั้มีสุภาษิตพระร่วงเกิดขึ้นถึงแม้คำจะไม่ใช่ครั้งกรุงสุโขทัยทั้งหมด แต่ก็เชื่อว่ามีเค้าของเดิมอยู่มาก ซึ่งมีเนื้อหาเป็นสำนวนไทยที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันมากมายเช่น

- เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสินเมื่อใหญ่

- อย่าใฝ่เอาทรัพย์ท่าน อย่าริอ่านแก่ความ

- ประพฤติตนตามบุรพระบอบ เอาแต่ชอบเสียผิด

- ที่รักอย่าดูถูก ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง

- หว่านพืชจักเอาผล เลี้ยงคนอย่ากินแรง

ในหนังสือกฏมณเฑียรบาลของเก่ามีสำนวนไทยปรากฏอยู่ เช่น

- ข้าวเหลือเกลืออิ่ม

- ตีให้หลาบปราบให้กลัว

- น้องก็ว่าจะจี่ พี่ก็ว่าจะเผา

นอกจากนี้ในหนังสือวรรณคดีไทยเล่มสำคัญ ๆ ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตยวนพ่าย มหาเวสสันดรชาดก ฯลฯ ล้วนมีถ้อยคำสำนวนไทยอยู่มากมาย
สำนวนไทย
สำนวนหมวดอักษร ก กบในกะลาครอบ - คนที่ขาดวิสัยทัศน์มองเห็นแต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเท่านั้น ตัวอย่าง "เธออยู่แต่ในบ้าน ทีวีก็ไม่ดู หนังสือพิมพ์ก็ไม่ชอบอ่าน เหมือนกบในกะลาครอบ" กรวดน้ำคว่ำขัน - ตัดขาดไม่คบค้าสมาคนด้วยอีกต่อไป ตัวอย่าง "เพื่อนตัวแสบโกงเงินฉันไปเป็นแสนๆ ฉันน่ะกรวดน้ำคว่ำขันเลย"
กระดูกร้องไห้ - การจับตัวฆาตกรมาลงโทษได้หลังจากพบหลักฐานโดยบังเอิญ ตัวอย่าง "คดีฆาตกรรมนี้เหมือนกระดูกร้องไห้เลยนะ ใครจะนึกว่าจะจับตัวฆาตกรได้ เรื่องล่วงเลยมาถึงสิบปีแล้ว"
กระต่ายตื่นตูม - ตื่นกลัวเกินกว่าเหตุ ตัวอย่าง "เธออย่าทำตัวเป็นกระต่ายตื่นตูมไปหน่อยเลย เรื่องมันยังไม่เกิด อาจไม่ร้ายแรงอย่างที่คิดก็ได้"
กระต่ายหมายจันทร์ - ชายที่หลงรักหญิงที่สูงส่งกว่าตนและไม่มีทางที่ความรักจะสมหวัง ตัวอย่าง "เขาทำตัวเป็นกระต่ายหมายจันทร์ หลงรักลูกสาวเศรษฐี คงจะสมหวังอยู่หรอก"
กระโถนท้องพระโรง - ผู้ที่ใครๆก็ใช้งานได้ และเป็นที่ระบายอารมณ์ของทุกคน ตัวอย่าง "เอะอะก็มาลงที่ฉัน ฉันไม่ใช่กระโถนท้องพระโรงนะ"
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ - การทำอะไรสองอย่างพร้อมกันโดยไม่รอบคอบหรือชักช้า อาจเกิดความเสียหายได้ ตัวอย่าง "ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษากำลังรุนแรงขึ้น น่าจะมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหานี้ ไม่ใช่มัวแต่รอให้ครูสอนให้นักเรียนตระหนักถึงโทษของยาเสพติด เด็กอาจติดยาไปแล้ว กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้"
กินน้ำใต้ศอก - เสียเปรียบ จำต้องเป็นรอง คอบรับเดนคนอื่น ตัวอย่าง "ถึงจะรักเขามากแค่ไหนฉันก็ไม่ยอมกินน้ำใต้ศอกใคร " กินน้ำเห็นปลิง - ตะขิดตะขวงใจเมื่อจะทำอะไรซักอย่าง ตัวอย่าง "จะให้เราเลือกเขาเป็นศิษย์เก่าดีเด่นได้อย่างไร มันเหมือนกินน้ำเห็นปลิงเพราะรู้ทั้งรู้ว่าเขาฉ้อราษฎร์บังหลวง" เกลือเป็นหนอน - คนในบ้านหรือพวกเดียวกัน คิดคดทรยศ ตัวอย่าง "แผนการที่เราวางไว้ฝ่ายตรงข้ามรู้หมด สงสัยเกลือเป็นหนอน"
สำนวนหมวดอักษร ข ขนทรายเข้าวัด - ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำ หรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวม ตัวอย่าง "คุณหญิงท่านจัดงานคอนเสิร์ตครั้งนี้เพื่อขอรับบริจาคเงินให้มูลนิธิของโรงพยาบาลซึ่งท่านเป็นกรรมการอยู่ด้วย เหมือนขนทรายเข้าวัด ช่วยๆกันไปเถอะ เป็นสาธารณกุศล" ขนมพอสมกับน้ำยา - เสมอกัน ตัวอย่าง "พูดกันตรงๆ ฉันว่าคู่นี้มันขนมพอสมกับน้ำยา อย่าไปเข้าข้างคนไหนเลย" ขนหน้าแข้งไม่ร่วง - ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน ตัวอย่าง "เธอมีเงินติดกระเป๋าตั้งหลายหมื่น ขอยืมมาซื้อของก่อนซักห้าร้อย ขนหน้าแข้งไม่ร่วงหรอกน่ะ" ขวานผ่าซาก - พูดตรงเกินไปโดยไม่เลือกกาลเทศะและบุคคล ตัวอย่าง "เขาเป็นคนพูดขวานผ่าซาก เจ้านายจึงไม่โปรด" ข้าวยากหมากแพง - สภาวะขาดแคลนเกิดความอดอยาก ตัวอย่าง "สมัยสงครามข้าวยากหมากแพง ผู้คนอดอยากล้มตายไปจำนวนไม่น้อย" ข้าวใหม่ปลามัน - อะไรที่เป็นของใหม่ถือว่าดี ตัวอย่าง "ได้หัวหน้างานคนใหม่อะไรก้ดีไปหมด กำลังข้าวใหม่ปลามัน" ขี่ช้างจับตั๊กแตน - ลงแรงมากแต่ได้ผลน้อยไม่คุ้มค่า ตัวอย่าง "การประชุมครั้งนี้เหมือนขี่ช้างจับตั๊กแตน เสียงบประมาณไปมากมายแต่หาข้อยุติไม่ได้" เข้าตามตรอกออกตามประตู - ทำตามธรรมเนียม ประเพณี ตัวอย่าง "ถ้าเขารักลูกจริง ก็ให้สู่ขอตามประเพณี เข้าตามตรอกออกตามประตู พ่อแม่ก็ไม่คิดจะเรียกร้องอะไร" เข้าเนื้อ - ขาดทุน เสียเปรียบ ตัวอย่าง "ขายของต้องคำนวณต้นทุนให้ดีถ้าตั้งราคาผิดอาจต้องเข้าเนื้อ " เขียนเสือให้วัวกลัว - ทำเป็นขู่ให้เสียขวัญหรือเกรงขาม ตัวอย่าง "ไม่ต้องเอาคนใหญ่คนโตมาอ้างกับฉัน อย่ามาเขียนเสือให้วัวกลัว ไม่สำเร็จหรอก"
สำนวนหมวดอักษร ค คนดีผีคุ้ม - คนทำดีมักไม่มีภัย ตัวอย่าง "นายอำเภอแหวนเพชรคนนี้ ดูแลราฎรใกล้ชิดไปหาได้ทุกเวลาทั้งกล้าหาญออกปราบโจรจนราบคาบ พวกอันธพาลหาทางเก็บแต่ไม่สำเร็จคล้าดแคล้วทุกที คนดีผีคุ้ม" คมในฝัก - ผู้มีความรู้ความสามารถ แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก้ไม่แสดงออกมาให้ปารกฎ ตัวอย่าง "เขาเป็นคนเฉยๆแต่เมื่อแสดงความคิดเห็นออกมาครั้งใดทุกคนยอมรับ นี้แหละคนคมในฝัก" คลุมถุงชน - การแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดให้โดยที่ผู้แต่งงานไม่เคยรู้จักกัน และไม่มีโอกาสเลือกคู่ครองเอง ตัวอย่าง "ทุกวันนี้การแต่งงานแบบคลุมถุงชนไม่มีแล้วเพราะ พ่อแม่บังคับลูกไม่ได้เหมือนสมัยก่อน" คว้าน้ำเหลว - การทำสิ่งใดด้วยความตั้งแล้วไม่สำเร็จ ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ ตัวอย่าง "ข่าวว่ามีกรุสมบัติของสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซ้อนอยู่ในถ้ำลิเจียจังหวัดกาญจนบุรี ทำให้มีผู้พยายามไปขุดหาสมบัติเหล่านี้หลายครั้งหลายหน แต่ก็คว้าน้ำเหลวทุกที" คว่ำบาตร - ประกาศไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วยไม่ร่วมงานด้วย ตัวอย่าง "สหประชาชาติประกาศคว่ำบาตรประเทศนั้นกรณีลุกลามประเทศอื่น " คางคกขึ้นวอ - คนมีฐานะต่ำต้อย พอได้ดีแล้วก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว ตัวอย่าง "แต่ก่อนเคยอยู่สลัมมาด้วยกันแต่พอแต่งงานกับเศรษฐีท่าทางเธอก็เปลี่ยนไป พบหน้าเพื่อนเอก็ทำเชิดหยิ่ง ไม่ยอมทักทายทำเหมือนคางคกขึ้นวอไม่มีผิด" คาบลูกคาบดอก -ไม่แน่ว่าจะเป็นอย่างไหน ก่ำกึ่งกันอยู่ ตัวอย่าง "นักกีฬาคนนั้นชอบเตะฟุตบอลตคาบลูกคาบดอกคือเตะทั้งลูกทั้งคน " คืบก็ทะเลศอกก็ทะเล - อย่าประมาททะเลเพราะอาจเกิดอันตรายได้ทุกเมื่อ ตัวอย่าง "แต่เผอิญคืนนี้หลับไปแล้วให้เกิดวิตกวิจารณ์ขึ้นมาว่าคืบก็ทะเลศอกก็ทะเลพลาดพลั้งเข้าก็จะอด " คู่แล้วไม่แคล้วกัน - คู่ที่เคยสร้างบุญกุศลร่วมกัน เคยเป็นคู่กันมาก่อนย่อมไม่แคล้วคลาดกัน ตัวอย่าง "บ่าวสาวคู่นี้มีอุปสรรคมากมายกว่าจะได้แต่งงานกันแต่ทั้งคู่ก็สามารถฟันฝ่าปัญหาต่างๆมาจนมีวันนี้ได้สมกับคำที่ว่า คู่แล้วไม่แคล้วกัน" คลื่นกระทบฝั่ง - เรื่องที่เกิดขึ้นอย่างครึกโครม ทำท่าจะเป็นเรื่องใหญ่ แต่แล้วกลับเงียบหายไป ตัวอย่าง " คดีนี้ทำท่าจะเป็นคลื่นกระทบฝั่ง อีกสักพักคนก็ลืม"
สำนวนหมวดอักษร ง งงเป็นไก่ตาแตก - สับสนจนทำอะไรไม่ถูก ไม่เข้าใจเรื่องที่เกิดขึ้น ตัวอย่าง "เขาถูกกล่าวหาอย่างรุนแรงว่าเป็นเหตุยุยงภรรยาคู่นั้นแตกแยกกัน ทั้งๆที่เขาไม่รู้เรื่องอะไรเลย เขาจึงงงเป็นไก่ตาแตก" งอมแงม - เลิกได้ยาก งอมพระราม - ทุกข์เต็มทน ตัวอย่าง "เขาเป็นครูอาสาที่ต้องไปทำงานสอนหนังสือเด็กชาวเขาในถิ่นถุรกันดารนานถึง10ปี ต้องทนทุกข์ยากอละอุปสรรคต่างๆ อย่างแสนสาหัสเรียกว่า งอมพระรามเลยทีเดียว" งูกินหาง - เกี่ยวกันเป็นวงจนหาที่สิ้นสุดไม่ได้ ตัวอย่าง "ฉันเบื่อการทวงหนังสือคืนแล้วหละ ทวงคนนี้บอกว่าอยู่ที่คนนั้น ทวงคนนั้นบอกว่าอยู่ที่คนโน้น ไม่สิ้นสุดราวกับงูกินหางเลยทีเดียว" งูๆปลาๆ - มีความรู้เล็กๆน้อยๆ ไม่รู้จริง ตัวอย่าง "จะให้ไปทำงานกับฝรั่งได้อย่างไร ภาษาอังกฤษของฉันงูๆปลาๆ" เงาตามตัว - ผู้ที่ไปไหนมาไหนด้วยกันตลอด หรือ ผลของการกระทำที่เกิดตามติดมาทันที ตัวอย่าง "ตั้งแต่คบกันเขาตามฉันทุกฝีก้าวราวกับเงาตามตัว " เงียบเป็นเป่าสาก - เงียบสนิท เงื้อง่าราคาแพง - ไม่กล้าตัดสินใจ โง่แกมหยิ่ง - โง่อวดฉลาด โง่เง่าเต่าตุ่น - โง่ที่สุด ตัวอย่าง "ครูอย่าไปว่านักเรียนโง่เง่าเต่าตุ่นเชียวนะ เด็กจะเสียกำลังใจ"
สำนวนหมวดอักษร จ จมไม่ลง - เคยรุ่งเรืองใหญ่โต เมื่อตกอับก็ยังทำตัวเหมือนเดิม ไม่ยอมปรับตัวให้เหมาะกับฐานะของตน ตัวอย่าง "สิ้นสามีแล้วภรรยาและลูกๆยังจมไม่ลง ทำตัวเหมือนเดิม ทั้งๆทีไม่มีรายได้อะไร ไม่ช้าคงล้มละลายแน่" จรกาหน้าหนู - เข้าพวกกับใครไม่ได้ จระเข้ขวางคลอง - ทำตัวกีดขวางผู้อื่น จนก่อให้เกิดความรำคราญ จับดำถลำแดง - มุ่งอย่างหนึ่งไปได้อีกอย่างหนึ่ง ตัวอย่าง "ฉันอุตส่าห์เลือกอย่างดีแล้ว ทำไมจึงจับดำถลำแดงไปหยิบของมีตำหนิมาได้" จับตัววางตาย - กำหนดแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง จับปลาสองมือ - ทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกันอาจไม่สำเร็จซักอย่าง ตัวอย่าง "เธอทำงานสำคัญหลายอย่างพร้อมกัน จับปลาสองมือแบบนี้ระวังจะชวดหมด" จับปูใส่กระด้ง - ซุกซนไม่อยู่ในระเบียบ จับพลัดจับผลู - จับผิดจับถูก ไม่ได้ดังใจ จับแพะชนแกะ - ทำอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้เอาอย่างนั้น จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน - ยืนยันหาคนทำผิดไม่ได้
สำนวนหมวดอักษร ช ชักใบให้เรือเสีย - พูดหรือทำให้คนอื่นเขวออกไปนอกเรื่อง ตัวอย่าง "ครูกำลังสั่งการบ้าน นักเรียนอย่าชักใบให้เรือเสียซิ เรื่องอื่นไว้คุยทีหลัง" ชักแม่น้ำทั้งห้า - พูดจาหว่านล้อม ยกยอบุญคุณขอสิ่งประสงค์ ตัวอย่าง "จะเอาอะไรก้บอกมาตรงๆ ไม่ต้องชักแม่น้ำทั้งห้า ขี้เกียจฟัง" ชักใย - บงการอยู่เบื้องหลัง ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน - ทุกข์สุข ย่อมเกิดขึ้นสลับกันไป ตัวอย่าง "อย่าเสียใจไปเลย คราวนี้ขาดทุน คราวหน้าคงได้กำไรคนเรา ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน" ชั่วนาตาปี - ตลอดไป ชาติเสือจับเนื้อกินเอง - ไม่เบียดเบียนใคร ชายหาบหญิงคอน - ช่วยกันทำมาหากิน ช้างเท้าหลัง - ผู้ที่ต้องเดินตามผู้นำ อาจหมายถึงภรรยาต้องทำตามสามี ช้างเผือกเกิดในป่า - ผู้มีปัญหาหรือคนดีนั้นหายาก ชุบมือเปิบ - ฉวยโอกาสจากคนอื่นโดยไม่ลงทุน
สำนวนหมวดอักษร ด ดอกพิกุลร่วง ตัวอย่าง " ครูถามอะไรก็ไม่ตอบ กลัวดอกพิกุลร่วงหรือยังไง " ดอกไม้ริมทาง - หญิงที่ชายเกี้ยวพาราสีได้ง่าย ดาบสองคม - สิ่งที่มีทั้งคุณและโทษ ตัวอย่าง " เพศศึกษาเป็นความรู้ที่เหมือนดาบสองคม ถ้าสอนให้ดีเด็กก็จะนำความรู้ไปใช้ได้อย่างเหมาะสม แต่ถ้าไม่ระวังเด็กก็อาจจะเอาความรู้นั้นไปใช้ในทางที่ผิด กลับเป็นโทษแก่ตัวเด็กเองได้ " ดาวล้อมเดือน ตัวอย่าง " ดูนายกของเราสิ มีบริวารล้อมหน้าล้อมหลังเป็นดาวล้อมเดือนเลย " เด็กเมื่อวานซืน มีความรู้และประสบการณ์น้อย เด็กอมมือ - ไม่ประสีประสา เด็ดดอกฟ้า - ได้หญิงสูงศักดิ์มาเป็นภรรยา ได้น้ำได้เนื้อ - ได้งานมาก ได้หน้าได้ตา - ได้ชื่อเสียงเกียรติยศ ดินพอกหางหมู - การงานที่คั่งค้างขึ้นเรื่อยๆ
สำนวนหมวดอักษร ต ตกนรกทั้งเป็น ลำบากแสนสาหัส ตักน้ำรดหัวตอ - แนะนำพร่ำสอนเท่าไหร่ก็ไม่ได้ผล ตกเป็นเบี้ยล่าง ตกเป็นรอง ตบตา ลวงให้เข้าใจผิด ตบหัวลูบหลัง - ทำหรือพูดให้กระทบกระเทือนใน ในตอนแรก แล้วปลอบใจตอนหลัง ต่อปาก ต่อคำ เถียงกันไม่จบสิ้น ต้นร้าย ปลายดี - ตอนแรกไม่ดี ไปดีเอาตอนหลัง ตัวเป็นเกลียว ขยันทำงาน ตาร้อน - อิจฉาริษยา ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ - ใช้จ่ายทรัพย์มากมายโดยไร้ประโยชน์
สำนวนหมวดอักษร น น้ำขึ้นให้รีบตัก - มีโอกาสดีควรรีบทำ น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง - พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย น้ำท่วมปาก - พูดไม่ได้เพราะความจำเป็นบังคับ น้ำน้อยแพ้ไฟ - ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้างมาก น้ำผึ้งหยดเดียว - สิ่งเล็กน้อยก็ทำให้เกิดเรื่องใหญ่ได้ น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า - คนเราจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน นิ้วไหนร้ายตัดนิ้วนั้น - คนใดไม่ดีก็ตัดออกไปจากหมู่คณะ เนื้อเต่ายำเต่า - การเอาทรัพย์สินส่วนตัวที่เป็นกำไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม นกน้อยทำรังแต่พอตัว - การจะทำสิ่งใดควรทำแต่พอสมฐานะของตนเอง น้ำลดต่อผุด - เมื่อหมดอำนาจความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฏ
สำนวนหมวดอักษร ป ปล่อยเนื้อปล่อยตัว - ไม่สนใจจะแต่งตัว หรือไม่สงวนตัว ปล่อยเสือเข้าป่า - ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลัง ปลาข้องเดียวกัน - คนที่อยู่ร่วมกัน หากมีคนหนึ่งทำไม่ดี ก็พลอยให้คนอื่นเสียไปด้วย ปลาตายน้ำตื้น - คนที่ทำพลาดเพราะเหตุเล็กน้อย ปลาหมอตายเพราะปาก - คนที่พูดพล่อยจนเป็นอันตรายแก่ตนเอง ปลาใหญ่กินปลาเล็ก - คนที่มีอำนาจหรือมีกำลัง เอาเปรียบผู้อ่อนแอกว่า ปากบอน - คนที่ชอบพูดฟ้องเรื่องคนอื่น ปอกกล้วยเข้าปาก - ทำได้ง่ายหรือสะดวก ปั้นน้ำเป็นตัว - โกหก สร้างเรื่องขึ้นมาโดยไม่มีมูลความจริง ปากว่าตาขยิบ - พูดว่าไม่ดีแต่กลับสนับสนุนหรือทำสิ่งที่ว่าไม่ดีนั้น
สำนวนหมวดอักษร ม มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก - กลับกลอกจนคนอื่นจับไม่ได้ มะนาวไม่มีน้ำ - พูดเสียงแข็งกระด้างอย่างไม่มีน้ำใจไมตรี มัดมือชก - ใช้วิธีบังคับให้จำยอม มาเหนือเมฆ - ใช้วิธีการที่เหนือผู้อื่น ม้าดีดกะโหลก - มีกิริยาท่าทางกระโดกกระเดกลุกลนไม่เรียบร้อย เมื่อพีเนื้อหอม เมื่อผอมเนื้อเหม็น - เวลารวยคนเข้ามาห้อมล้อมประจบประแจง เวลาจน คนพากันตีตัวออกห่าง มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ - ไม่ช่วยทำงานแล้วยังกีดขวาง ทำให้งานไม่ก้าวหน้า ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน - ไม่รู้พื้นเพ ความเป็นมา ไม่ดูดำดูดี - เลิกเกี่ยวข้องด้วย มากหน้าหลายตา - มากมาย
สำนวนหมวดอักษร ร รวบหัวรวบหาง - รวบรัดให้สั้น ฉวยโอกาสเมื่อมีช่องทาง รอดปากเหยี่ยวปากกา - รอดพ้นจากอันตรายมาได้ รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี - จะเลี้ยงดูลูกให้ดีต้องดูแลใกล้ชิด ไม่ปล่อยปละละเลย รักพี่เสียดายน้อง - ลังเลใจ ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกอย่างไหนดี เรือล่มในหนองทองจะไปไหน - คนในเครือญาติแต่งงานกัน ทำให้ทรัพย์มรดกไม่ตกไปอยู่กับผู้อื่น เรือล่มเมื่อจอด - มีอุปสรรคเมื่อใกล้จะสำเร็จหรือเสียคนเมื่อแก่ รีดเลือดกับปู - เคี่ยวเข็ญหรือบังคับเอากับผู้ที่ไม่มีทางจะให้ รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง - ตนเองทำไม่ถูกไม่ดี แต่กลับไปซัดโทษเอาผู้ร่วมงานหรือผู้อื่น ราชสีห์สองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ - คนสองคนที่ต่างก็มีอำนาจ หรืออิทธิพลยิ่งใหญ่เท่ากัน ย่อมจะอยู่ร่วมกันไม่ได้ รู้หลบเป็นปลีก รู้หลีกเป็นห่าง - การรู้จักหลบหลีกเอาตัวรอดจากภัยต่าง ๆ ไปได้
สำนวนหมวดอักษร ล ลงรอยกัน - เข้ากันได้ ล้ำหน้า - เกินเลยไปกว่าที่ควร เล็กพริกขี้หนู - เล็กแต่มีความสามารถ ล้วงคองูเห่า - คนที่ทำอะไรองอาจล่วงล้ำ หรือกล้าเข้าไปทำอะไรแก่ผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก - คนที่ดีแต่พูดแต่จะให้ทำจริง ๆ กลับทำไม่ได้ เลือดขึ้นหน้า - โมโห ลิงหลอกเจ้า - คนที่ต่อหน้าผู้ใหญ่ก็ทำตัวเรียบร้อย แต่ลับหลังซนเป็นลิงเป็นค่าง ลางเนื้อชอบลางยา - แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง - ผู้ที่ทำหน้าที่อะไรก็ตามแต่แล้วพลอยได้มีส่วนผลประโยชน์จากหน้าที่ ที่ตนทำอยู่นั้น โดยไม่บริสุทธิ์นัก หรือไปในทำนองที่ไม่ชอบธรรม ลงเรือแปะ ตามใจแปะ - เมื่อไปอยู่กับใคร หรือไปอาศัยอยู่บ้านใคร ก็ต้องเกรงใจหรือยอมทำตามเขา
สำนวนหมวดอักษร ว วัวแก่กินหญ้าอ่อน - ชายแก่ที่มีภรรยาสาวคราวลูกคราวหลาน วัวเคยขา ม้าเคยขี่ - ชายหญิงที่เคยมีสัมพันธ์กันมา ย่อมรู้จิตใจกันดีอยู่แล้ว. วัวไม่กินหญ้าอย่าขมเขา - อย่าบังคับหรืออย่าฝืนให้เขาทำอะไรในสิ่งที่เขาไม่สมัคใจ. วัวสันหลังขาด - คนที่มีอะไรพิรุธหรือมีการกระทำไปแล้ว ในทำนองไม่สู่ดี วัวหายล้อมคอก - เมื่อเกิดเรื่องเกิดราวถึงขั้นเสียหายขึ้นเสียก่อน แล้วจึงค่อยมาคิดแก้ภายหลัง วัวลืมตีน - สำนวนนี้ ใช้เป็นความหมายเปรียบเทียบถึงคนที่ไม่เจียมตัว หรือมีศักดิ์ต่ำแต่คิดเห่อเหิมจะทำตัวให้เทียมหน้าเขา วัวเห็นแก่หญ้า ขี้ข้าเห็นแก่กิน - คนที่ตะกละตะกลาม หรือเห็นแก่กินอย่างเดียว มักมุ่งหมายถึงคนชั้นต่ำที่ทำอะไรเห็นแต่ได้เกินไป. วันพระไม่มีหนเดียว - วันข้างหน้ายังมีโอกาส ไว้ใจทาง วางใจคน จนใจเอง - อย่าไว้ใจทั้งในเรื่องหนทาง หรือการเดินทางและในเรื่องจิตใจของคนอื่น ๆ ให้มากนัก ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง - ว่าหรือสั่งสอนคนอื่นไม่ให้ทำ แต่กลับทำเอง
สำนวนหมวดอักษร ส สอนจระเข้ว่ายน้ำ - การชี้ทางหรือสอนให้คนที่เป็นอยู่แล้วให้เก่งหรือชำนาญขึ้นไปอีก แต่มักมุ่งหมายโดยเฉพาะถึงการสอน หรือแนะนำคนชั่วประพฤติไม่ดีส่วนมาก. สอนหนังสือสังฆราช - การสอนผู้ที่มีความรู้ดีเป็นเยี่ยมอยู่แล้ว โดยที่ไม่รู้ว่าคนผู้นั้นรู้หรือชำนาญดีกว่าตนเสียอีก สัญชาติสุนัข อดขี้ไม่ได้ - คนที่ประพฤติชั่ว ถึงจะเอามาอบรมเลี้ยงดูดีอย่างไร ก็อดประพฤติเช่นเดิมไม่ได้ สมภารกินไก่วัด - เป็นสำนวนเปรียบเทียบที่มุ่งหมายโดยเฉพาะ ถึงผู้ชายที่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาที่มีหน้าที่ปกครองดูแลหญิงสาวหลาย ๆ คนภายในบ้านหรือภายในวงงาน แล้วก็ถือโอกาสเกี้ยวพาเอาหญิงสาวเหล่านั้น สร้างวิมานในอากาศ - การสร้างความฝันว่าตนเองจะต้องได้เป็นใหญ่หรือ มีเงินทองมั่งมีขึ้นแล้วจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้สมกับที่มีเงิน โดยที่ความใฝ่ฝันนั้นยังไม่แน่ว่าจะได้รับสมจริงหรือเปล่า สาดน้ำรดกัน - การทะเลาะทุ่มเถียงด่าทอโต้ตอบกันไปมา สาวไส้ให้กากิน - การที่เอาความลับหรือเรื่องไม่ดีของตนเองหรือของพี่น้องของตนไปเปิดเผยให้คนอื่นฟัง โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรแก่ตนเองเลย. สิบเบี้ยใกล้มือ - อะไรที่ควรจะได้และอยู่ใกล้หรือเป็นสิ่งที่คว้าได้ง่าย ก็ควรจะคว้าไว้ก่อนดีกว่าที่จะมองข้ามไป สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น - การได้เห็นย่อมน่าเชื่อถือกว่าคำบอกเล่า
สำนวนหมวดอักษร ห หมากัดอย่ากัดหมา - คนชั่ว คนชั้นต่ำ หรือพวกอันธพาลคิดร้ายหรือประทุษร้ายเราอย่างใดอย่าทำตอบ แต่ควรหลีกเลี่ยงไปเสีย. หมาเห่าใบตองแห้ง - คนที่ชอบเอะอะโวยวายเป็นที่อวดตัวว่า ตนเก่งกล้า แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นคนขี้ขลาด จะหาม เอาคานเข้ามาสอด - การที่เข้าไปขัดขวางผลประโยชน์ หรือกิจการของคนอื่นที่เขากำลังจะสำเร็จอยู่แล้ว หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว - การทำประชดหรือทำแดกดันที่กลับเป็นผลร้ายแก่ตนเอง เห็นกงจักรเป็นดอกบัว - เห็นสิ่งที่ไม่ดีเป็นดี หรือเห็นผิดเป็นชอบ เห็นขี้ดีกว่าไส้ - เห็นคนอื่นดีกว่าญาติพี่น้องของตน หว่านพืชหวังผล - การลงทุนทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ก็ย่อมจะต้องหวังผลประโยชน์ตอบแทน เหยียบเรือสองแคม - คนที่ทำอะไรไม่ซื่อตรง และเป็นคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว เหยียบเต่าเต็มตีน - ทำอะไรให้มั่นคงอย่าให้เกิดมีข้อผิดพลาดถึงเสียงานเสียการได้ หาเหาใส่หัว - หาความลำบากมาใส่ตัวเองหรือเอาเรื่องของคนอื่นมาเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตัวเอง
สำนวนหมวดอักษร อ อดเปรี้ยวกินหวาน - ให้ละทิ้งสิ่งที่ไม่ดีนั้นเสีย เพื่อรับเอาสิ่งที่ดีเข้าไว้ ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลาอดใจรออยู่นาน อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น - เมื่ออาศัยอยู่บ้านใคร ก็อย่าอยู่เปล่า ควรช่วยทำงานทำการให้เป็นประโยชน์ต่อเขาบ้าง อัฐยายซื้อขนมยาย - การได้รับประโยชน์หรือได้รับทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่ง แล้วเอาทรัพย์นั้นมาใช้กับผู้นั้นต่อ เอาจมูกคนอื่นมาหายใจ - อาศัยความคิดหรือแรงของคนอื่นมาทำงานให้ตน เอาใจเขามาใส่ใจเรา - สำนวนนี้ มุ่งให้คำนึงว่า ควรจะมีความเห็นใจซึ่งกันและกัน หรือนึกถึงอกเขาอกเราบ้าง ว่าตัวเราจะรู้สึกอย่างไร ถ้าเขาทำอย่างนั้นกับเรา. เอาทองไปรู้กระเบื้อง - ลดตัวเองลงไปต่อสู้กับคนที่ต่ำศักดิ์กว่า โดยไม่คู่ควรกัน อ้อยเข้าปากช้าง - สิ่งที่หลุดลอยไปเป็นของคนอื่นแล้ว ก็ย่อมจะสูญหรือไม่มีทางจะได้คืนมาง่าย ๆ อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ - รู้เท่าทันคำพูดที่พูดออกมา อาบน้ำต่างเหงื่อ - ทำงานหนัก อาบน้ำร้อนมาก่อน - เกิดก่อนจึงได้รู้เห็นสิ่งต่างๆมามากกว่าคุณค่า
ภาษาพูดหรือภาษาเขียนของชนแต่ละชาติย่อมจะมีอยู่ด้วยกันสองอย่างคือ พูดตรงไปตรงมาตามภาษาของตนเอง เป็นภาษาพูดที่ต่างคนต่างฟังเข้าใจกันได้ง่าย พูดเป็นชั้นเชิง มีการใช้โวหารในการพูดและการเขียน ทั้งนี้เพื่อให้ความหมายช้ดเจน หรือขยายความออกไป หรือเพื่อให้เกิดความไพเราะขึ้น เป็นภาษาที่เราเรียกว่า "เล่นลิ้น" หรือ" พูดสำบัดสำนวน" สำนวนเหล่านั้นจะแสดงความหมายอยู่ในตัวประโยคนั้นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น