จำนวนผู้เข้าชม

หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

เพลงรำซิมารำ

รำซิมารำ



ท่ารำส่าย


ตัวอย่างการรำเพลงรำซิมารำ





เนื้อเพลงรำซิมารำ

คำร้อง จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์)

ทำนอง อาจารย์มนตรี ตราโมท

ท่ารำ รำส่าย

รำซิมารำ เริงระบำกันไห้สนุก
ยามงานเราทำงานอย่างจริงจัง ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญขุก
ถึงยามว่างเราจึงรำเล่น ตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์
ตามเยี่ยงอย่างตามยุค เล่นสนุกอย่างวัฒนธรรม
เล่นอะไรให้มีระเบียบ ให้งามให้เรียบจึ่งจะคมขำ
มาซิเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำ มาเล่นระบำของไทยเราเอย.


ความหมายเพลง


ความหมาย ขอพวกเรามาเล่นรำวงกันให้สนุกสนานเพลิดเพลิน ในยามว่างจะได้ผ่อนคลายจาก

ความทุกข์ เมื่อทำงานเราก็จะทำงานกันด้วยความอุตสาหะ เพื่อจะได้ไม่ลำบาก

การรำก็จะรำอย่างมีระเบียบแบบแผน ตามวัฒนธรรมไทยของเรา ดูแล้วงดงาม

เพลงชาวไทย

ชาวไทย


ท่ารำชักแป้งผัดหน้า


ตัวอย่างการรำเพลงชาวไทย


เนื้อเพลงชาวไทย


เนื้อร้อง จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์)
ทำนอง อ. มนตรี ตราโมท
ท่ารำ ชักแป้งผัดหน้า – เดินย้ำเท้า


ชาวไทยเจ้าเอ๋ย ขออย่าละเลยในการทำหน้าที่
การที่เราได้เล่นสนุก เปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้
เพราะชาติเราได้เสรี มีเอกราชสมบูรณ์
เราจึงควรช่วยชูชาติ ให้เก่งกาจเจิดจำรูญ
เพื่อความสุขเพิ่มพูน ของชาวไทยเราเอย




ความหมายเพลง


ความหมาย หน้าที่ที่ชาวไทยพึงมีต่อประเทศชาตินั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรกระทำ อย่าได้

ละเลยไปเสีย ในการที่เราได้มาเล่นรำวงกันอย่างสนุกสนาน ปราศจาก

ทุกข์โศกทั้งปวงนี้ก็เพราะว่า ประเทศไทยเรามีเอกราช ประชาชนมีเสรีในการ

จะคิดจะทำสิ่งใด ๆ ทั้งนั้น เราจึงควรช่วยกันเชิดชูชาติไทยให้รุ่งเรืองต่อไป

เพื่อความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไปของไทยเราตลอด



การฝึกหัดให้จังหวะในการเดินเข้ากับจังหวะเพลง


การจัดวงรำวงนั้น ให้หญิงยืนอยู่ข้างหน้าชาย ทั้งสองหันไปทางที่ทวนเข็มนาฬิกา

คู่ถัดไปก็ยืนต่อหลังไป จัดระยะวงรำให้สวยงามกับจำนวนผู้รำ

จังหวะเท้า ใช้การย่ำเท้าเดินเป็นวงกลมทวนเข็มนาฬิกา

งามแสงเดือน

งามแสงเดือน


ท่ารำสอดสร้อยมาลา

ตัวอย่างการรำเพลงงามแสงเดือน



เนื้อเพลงงามแสงเดือน

เนื้อร้อง จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์)

ทำนอง อ. มนตรี ตราโมท

ท่ารำ สอดสร้อยมาลา – เดินย่ำเท้า



งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (2 เที่ยว)

เราเล่นเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์วายระกำ

ขอให้เล่นฟ้อนรำ เพื่อสามัคคีเอย

ความหมายเพลง

งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า - ท้องฟ้าจะงดงามเมื่อพระจันทร์ส่องแสง

งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ - ผู้หญิงก็งดงามหากได้รำอยู่ในวงรำ

เราเล่นเพื่อสนุก - พวกเราละเล่นรำวงอย่างสนุกสนานไม่มีทุกข์

เปลื้องทุกข์วายระกำ - ละทิ้งความทุกข์ความไม่สบายใจออกไป

ขอให้เล่นฟ้อนรำเพื่อสามัคคีเอย - การรำวงนี้ก็เพื่อให้เกิดความสามัคคี


การฝึกหัดให้จังหวะในการเดินเข้ากับจังหวะเพลง



เริ่มต้นด้วย หญิง-ชาย จับคู่กันยืนเป็นวงกลมหันด้านซ้ายเข้าในวง หญิงยืนห่างจากชายประมาณ 1 ช่วงแขนแต่ละคู่ห่างกันประมาณ 2 ช่วงแขน ส่วนจังหวะเท้าให้ย่ำเท้าซ้าย – ขวา สลับกัน ค่อย ๆ ย่ำเท้าเคลื่อนไปตามวง การรำเท้าแรกนั้นให้กำหนดตามมือด้านที่จีบของท่ารำ เพื่อให้จำได้แม่นยำ เช่น ท่าสอดสร้อยมาลา

จากแม่ท่านั้น จะต้องจีบหงายที่ชายพกด้วยมือซ้าย ก้าวเท้าซ้ายเอียงศีรษะทางซ้าย ส่วนมือขวาตั้งวงบน ดังนั้น ก้าวแรกของท่ารำวงเพลงนี้ จึงควรก้าวเท้าซ้ายเป็นจังหวะแรก เพราะเริ่มต้นด้วยการจีบมือซ้าย


การฝึกจังหวะเท้า

ฉิ่ง - ก้าวเท้าซ้ายตรงกับคำว่า “งาม”

ฉับ - ก้าวเท้าขวาตรงกับคำว่า “เดือน”


ดนตรีจะนำเพลงงามแสงเดือนไป 1 วรรค ให้ฝ่ายหญิงหันศีรษะมาทางด้านซ้าย เข้าหาฝ่ายชายแล้วทำความเคารพด้วย การไหว้ จะเป็นไหว้ทั้งชายและหญิง หรือจะให้ฝ่ายหญิงไหว้ ฝ่ายชายโค้งก็ได้ เมื่อทำความเคารพแล้วตั้งท่านิ่งไว้ คือ มือซ้ายจีบหงายที่บริเวณชายพก มือขวาตั้งวงศีรษะเอียงไปทางด้านจีบ ส่วนจังหวะเท้านั้นเพียงแค่ย่ำเท้าซ้าย – ขวาสลับกัน ก้าวแรกของท่ารำเพลงนี้ควรเป็นก้าวซ้ายก่อนในจังหวะแรก เพราะเราเริ่มด้วยการจีบมือ

ระบำทวารวดี

ระบำทวารวดี






ระบำทวารวดี เป็นระบำชุดที่ ๑ ในระบำโบราณคดีที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) ซึ่งต้องการศึกษา และเรียนรู้เรื่องเครื่องแต่งกายของมนุษย์ เพื่อประโยชน์แก่วิชาประวัตศาสตร์ และโบราณคดี โดยทูลขอร้องให้หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งสถาปนิกพิเศษของกรมศิลปากร ทางศึกษาแบบอย่าง และเขียนเลียนแบบเครื่องแต่งการสมัยทวารวดีบางรูป โดยในครั้งแรกคิดจะจัดสร้างเครื่องแต่งกายตามสมัยโบราณคดี ถวายทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคาร สร้างใหม่ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แต่หลังจากได้ภาพตามต้องการแล้ว จึงเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ในการจัดแสดงระบำโบราณคดีชุดต่าง ๆ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรแทนการจัดแสดงเครื่องแต่งกาย

ระบำนี้ประดิษฐ์ขึ้นจากการนค้นคว้าหลักฐานทางโบราณคาดีสมัยทวารวดี ท่ารำและ เครื่องแต่งกายได้แนวคิดจากภาพสลัก ภาพปั้นที่ขุดค้นพบ ณ โบราณสถานที่ตำบลคูบัว อำเภอ อู่ทอง จังหวัดนครปฐมและที่ตำบลโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ ฯลฯ นักโบราณคดี สันนิฐานว่าชาวทวารวดีเป็นต้นเชื้อสายพวกมอญ ดังนั้นลีลาท่ารำ รวมทั้งเนียงทำนองเพลง จึงเป็นแบบมอญ ท่ารำบางท่าได้ความคิดมาจากภาพสลัก และภาพปูนปั้นที่ค้นพบโบราณสถานที่ สำคัญ เช่น


- ท่านั่งพับเพียบ มือขวาจีบตั้งข้อมือระดับไหล่ มือซ้ายวางบนตัก ท่านี้เป็นท่าที่ได้จากภาพปูนปั้น นักร้องนักดนตรีหญิงสมัยทวารวดี

ซึ่งพบที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี


- ท่ามือซ้ายคว่ำฝ่ามือ งอนิ้วทั้ง ๔ เล็กน้อยปรกหู มือขวาหงายฝ่ามือ ปลายนิ้วมือจรดที่หน้าขาเกือบถึงข่าซ้าย เขย่งเท้าซ้าย

ย่อเข่าทั้ง ๒ ข้างลง กดไหล่ว้าย ลักคอข้างขวา ท่านี้เรียกว่าท่าลลิตะ จากภาพปูนปั้นกินรีฟ้อนรำ ที่ตำบลโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์


- ท่ามือซ้ายจีบหันฝ่ามือเข้าหารักแร้ มือขาวจีบตั้งวงกันศอกระดับไหล่ ดกไหล่ขวา ลักคอทางซ้าย เท้าขวาเขย่ง ส้นเท้าขวาชิดกับข้อเท้าซ้าย

ซึ่งยืนเต็มเท้า ย่อเข่าทั้ง ๒ ข้างและกับเข่าขวา ท่านี้เป็นท่าที่ได้จากการภาพปูนปั้นที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี



การแต่งกาย

เครื่องแต่งกายชุดระบำทวารวดี ได้แบบอย่างมาจากภาพปูนปั้น ที่ค้นพบตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ สมัยทวารวดี และได้นำมาประดิษฐ์ให้เหมาะสมกับการแสดง ซึ่งมีดังนี้

๑. ผมเกล้าสูงกลางศีรษะในลักษณะคล้ายลูกจันแบน สวมเกี้ยวรัดผม

๒. สวมกระบังหน้า

๓. สวมต่างหูเป็นห่วงกลมใหญ่

๔. สวมเสื้อในสีเนื้อ ( แทนการเปลือยอกตามภาพปั้น )

๕. นุ่งผ้าลักษณะคล้ายจีบหน้านางสีน้ำตาลแถวหนึ่ง และสีเหลืองอ่อนแถวหนึ่ง มีตาลสีทองตกแต่งเป็นลายพาดขวางลำตัว

๖. ห่มสไบเฉียง ปล่อยชายไว้ด้านหน้า และด้านหลัง

๗. สวมกำไลข้อมือ ต้นแขนโลหะ และแผงข้อเท้าผ้าติดลูกกระพรวน

๘. สวมจี้นาง

๙. คาดเข็มขัดผ้าตาดเงิน หรือเข็มขัดโลหะ




ภาพการแต่งกายชุดทวารวดี

ระบำศรีชัยสิงห์

ระบำศรีชัยสิงห์






ระบำศรีชัยสิงห์เป็นระบำโบราณคดีที่วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ได้สร้างสรรค์ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่จากจินตนาการศิลปกรรมภาพจำหลัก ซึ่งภาพจำหลักนี้ ได้ลอกเลียนแบบมาจากปราสาทเมืองสิงห์ เป็นโบราณสถานที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ดัดแปลงมาจากท่ารำของนางอัปสรบายน ในสมัยขอมบายน มาเป็นหมู่ระบำนางอัปสรฟ้อนรำถวายพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นพระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

สาเหตุที่ตั้งชื่อว่าศรีชัยสิงห์ คิดว่า น่าจะนำมาจาก ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เรียกเมืองกาญจน์ ว่า ศรีชัยยะสิงหปุระ
ประดิษฐ์ท่ารำโดย นางเฉลย ศุขวนิช ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ไทย ของวิทยาลัยนาฏศิลปกรมศิลปากร การแต่งกายเลียนแบบภาพจำหลักนางอัปสร ปราสาทเมืองสิงห์ บรรเลงโดยเพลงเขมรชมจันทร์และเพลงเขมรเร็ว

การแสดงเพื่อสงเสริมแหล่งท่องเที่ยวของไทย โดยการแสดงชุดนี้มีที่มาจากแหล่งโบราณคดีที่จังหวัดกาญจนบุรี คือปราสาทเมืองสิงห์




ท่ารำนางอัปสรบายน ในปราสาทของกัมพูชา




ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงระบำศรีชัยสิงห์

๑. ระนาดเอก ๒. ระนาดทุ้ม ๓. ระนาดเอกเหล็ก ๔. ระนาดทุ้มเหล็ก ๕. ฆ้องวงใหญ่ ๖. ฆ้องวงเล็ก ๗. ปี่นอก ๘. โทน

๙. ฉิ่ง ๑๐. ฉาบเล็ก ๑๑. กรับ ๑๒. โหม่ง



เครื่องแต่งกายระบำศรีชัยสิงห์

เครื่องแต่งกายมีลักษณะกลิ่นไอของขอมบายน ตัวเสื้อสีน้ำตาลรัดกระชับเข้ารูปนักแสดง ใส่กรองคอทอง สังวาลสองเส้นไขว้กันบนตัวเสื้อ
ตัวกระโปรงจะเป็นเอวต่ำจับจีบด้านหน้าสีทอง ปักด้วยเลื่อมทองตรงขอบเอว เครื่องประดับทอง ทรงผมเกล้ามวยตั้งสูงมากประดับด้วยริบบิ้นทอง
ส่วนนักแสดงตัวเอก ทรงผมสวมมงกุฏลักษณะลวดลายขอม


เครื่องแต่งกายตัวเอก
เสื้อ รัดรูปสีน้ำตาลอ่อน คอกลม แขนสั้นเหนือศอก
ผ้า นุ่ง เป็นกระโปรงสำเร็จรูปแบบป้าย ทบซ้อนหน้า สีเหลืองทอง ยาวคลุมเข่า มีลูกไม้แถบสีทองเดินลายและปักเลื่อมดอกสีทอง ตัดเย็บด้วยผ้าผาดไทยชนิดมีลวดลายในตัว

เครื่องประดับ
ศีรษะของตัวเอก ประกอบด้วย
๑. กะบังหน้า
๒. ยี่ก่า

๓. เกี้ยว

๔. พู่หนัง

๕. สาแหรก

๖. ปลียอด

๗. ดอกไม้ไหว
๘. ลายท้าย



เครื่องประดับ
รัดต้นแขน
สร้อยคอ ๑ เส้น
กำไลมือ
กำไลเท้า
กรองคอ

สังวาล ๒ เส้น (ทำด้วยหนัง ลงลายรักปิดทอง ประดับกระจก และพลอยหลากสี)




ระบำสุโขทัย

ระบำสุโขทัย



ระบำ สุโขทัย เป็นระบำชุดที่ ๕ อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ นับเป็นยุคสมัยที่ชนชาติไทย เริ่มสร้างสรรค์ศิลปะด้านนาฏศิลป์ และดนตรีในเป็นสมบัติประจำชาติ โดยอาศัยหลักฐานอ้างอิงที่กล่าวไว้ในเอกสาร และหลักศิลาจารึก ประกอบศิลปกรรมอื่น ๆ การแต่งทำนอง กระบวนท่ารำ และเครื่องแต่งกาย ประดิษฐ์ขึ้นให้มีลักษณะที่อ่อนช้อยงดงาม ตามแบบอย่างของศิลปะสมัยสุโขทัย


ระบำชุดสุโขทัย จัดแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ และภายหลังได้นำออกแสดง ในโรงละครแห่งชาติ และที่อื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนชม


นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง โดยนำทำนองเพลงเก่าของสุโขทัยมาดัดแปลง


ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาจาศิลปะการแสดง(นาฏศิลป์ไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ


นายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน สร้างเครื่องแต่งกาย นายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์ และเครื่องประดับ

นาฎยศัพท์ที่ใช้ประกอบการรำ
๑.จีบหังสัสยะหัสต์ โดยการนำนิ้วหัวแม่มือจรดข้อสุดท้ายของนิ้วชี้
หักข้อนิ้วชี้ลงมา นิ้วที่เหลือกรีดดึงออกไป


๒.
ท่าปางลีลา เป็นท่าออก โดยมือซ้ายจีบแบบหังสัสยะหัสต์ มือขวาแบส่งไปหลังหงายท้องแขนขึ้น เอียงศีรษะด้านซ้าย ก้าวเท้าขวามาข้างหน้า เท้าซ้ายเปิดส้นเท้า


๓.ท่าดอกบัว คิดจากการเคารพบูชากราบไหว้ มือทำเป็นรูปดอกบัว
อยู่ระหว่างอกเป็นดอกบัวตูม ชูมือขึ้นแล้วค่อยๆบานปลายนิ้วออกเป็นบัวบาน


.ท่าพระนารยณ์ แทนองค์พระนารายณ์ พระอิศวร ท่าจีบแบบหังสัสยะหัสต์ ตั้งวงกลางข้างลำตัว กระดกเท้าซ้าย


๕.
ท่ายูงฟ้อนหาง คิดจากท่านาฎศิลป์ แบมือ แขนทั้งสองตึงส่งหลัง หงายท้องแขนขึ้น


๖.
ท่าบัวชูฝัก คิดจากการขอพร อีกมือหนึ่งไว้ข้างสะโพก มือจีบคว่ำแล้วสอดมือขึ้น เป็นท่าสอดสูงเหนือศีรษะ


๗.
ท่าชะนีร่ายไม้ คิดจากมนุษย์โลกต้องการดำรงชีวิต หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยหมุนเป็นวงกลมแทนการเวียน ว่าย ตาย เกิด มือข้างหนึ่งตั้งวงสูง มืออีกข้างหนึ่งหงายท้องแขน ลำแขนตึง แบมือและชี้ปลายนิ้วลง มองมือสูง



การแต่งกาย แบ่งออกเป็นตัวเอกและตัวรอง ดังนี้

ศีรษะ ทรงยอดรัศมีสำหรับตัวเอก และทรงระฆังคว่ำสำหรับตัวรอง

ต่างหู เป็นดอกกลม

เสื้อในนาง สีชมพูอ่อน

กรองคอ สีดำ ปักดิ้นและเลื่อม

ต้นแขน ตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง

กำไลข้อมือ ตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง

ข้อเท้า ตัวรองพื้นสีดำ ปักดิ้นและเลื่อม ตัวเอกทำด้วยหนังลงรักปิดทอง

ผ้ารัดเอว ทำด้วยผ้าสีดำ มีลวดลายเป็นดอกไม้ประดับและห้อยที่ชายเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีริบบิ้นสีเขียวห้อยมาทั้งสองข้าง

ผ้านุ่ง เป็นกระโปรงบานจีบหน้าสีส้ม มีลูกไม้สีขาวระบายเป็นชั้น ๆ

ทรงผม เกล้าผม ครอบด้วยที่รัดผม


การแต่งกายระบำสุโขทัย

ระบำศรีวิชัย

ระบำศรีวิชัย


ระบำศรีวิชัยเป็นระบำโบราณคดี เกิดขึ้นเมื่อกลางปี พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยได้รับแจ้งจากคุณประสงค์ บุญเจิม เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ว่าท่านตนกู อับดุลราห์มาน นายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย ต้องการจะได้นาฏศิลป์จากประเทศไทยไปถ่ายทำเป็นภาพยนตร์เรื่อง Raja Bersiyong ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยที่ท่านตนกูแต่งขึ้น จึงขอให้กรมศิลปากรจัดระบำให้ ๒ ชุด คือ รำซัดชาตรี และระบำศรีวิชัย สำหรับระบำศรีวิชัยเป็นการศึกษาค้นคว้าขึ้นใหม่ โดยความคิดริเริ่มของนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ มีนางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร และนางเฉลย ศุขะวนิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร และศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ โดยอาศัยท่าทางของนาฏศิลป์ชวามาผสมผสานเข้าด้วยกัน และมีนายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญด้านดุริยางค์ไทย กรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ทำนองเพลง

โดยหาแบบอย่างเครื่องดนตรี เช่น เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า จากภาพจำหลักที่พระสถูปบุโรพุทโธ ในเกาะชวา และ เลือกเครื่องดนตรีของไทยที่มีลักษณะใกล้เคียงกันบ้าง นำมาผสมปรับปรุงเล่นเพลงประกอบจังหวะระบำขึ้น มีนายสนิท ดิษฐ์พันธ์ เป็นผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย ตามหลักฐานศิลปกรรมภาพจำหลักที่พระสถูปบุโรพุทโธ ในเกาะชวา


ท่ารำระบำศรีวิชัยประดิษฐ์ขึ้นจากภาพจำหลักและภาพปูนปั้นสมัยศรีวิชัย ประสมกับท่ารำชวาและบาหลี สอดแทรกลีลาทางนาฏศิลป์ ลักษณะรำบางท่าคล้ายท่ารำของชวา และบาหลี เช่น การตั้งวงกันศอก ออกเป็นวงโค้ง การทำมือ การใช้คอยักคอเหมือนนาฏศิลป์ชวาและบาหลี การตั้งท่านิ่ง ท่าบิดสะโพกคล้ายท่ารำของบาหลี

ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงระบำศรีวิชัย
๑. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ได้แก่ กระจับปี่ คือ พิณ ๔ สายชนิดหนึ่ง

๒. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี ได้แก่ ซอสามสาย

๓. เครื่องดนตรีประเภทตี ได้แก่ ตะโพน กลองแขก ฆ้อง ๓ ลูก ฉิ่ง กรับ ฉาบ

๔. เครื่องดนตรีประเภทเป่า ได้แก่ ขลุ่ย

เครื่องแต่งกาย
- เสื้อในนาง ตัวเสื้อใช้ผ้าต่วนเนื้อหนาสีเนื้อ เป็นเสื้อเข้ารูปไม่มีแขน ดันทรง เปิดช่วงไหล่และหลัง
- ผ้านุ่ง เป็นผ้าโสร่งบาติค เย็บเป็นจีบหน้านางเล็กๆ อยู่ตรงกลางด้านหน้า ไม่มีชายพก
- ผ้าคาดรอบสะโพก ใช้ผ้าแพรเนื้อบาง มี ๒ สี คือ สีเขียว และสีแดง
- เข็มขัด ทำด้วยโลหะชุบทอง ลายโปร่งเป็นข้อๆ ต่อกัน หัวเข็มขัดทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับพลอยสี
- ต่างหู เป็นต่างหูแบบห้อย ตรงส่วนแป้นหูทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสี
- สร้อยคอ เป็นห่วงๆ ต่อกัน ประดับด้วยพลอยสีแดงและสีเขียว
- สร้อยสะโพก เป็นห่วงๆ ต่อกัน ทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสีเขียวหรือสีแดง
- กำไลต้นแขน มีลักษณะโปร่งตรงกลาง ด้านหน้าของกำไลเป็นรูปกลมเรียงสูงขึ้นไป ๓ ชั้น
- กำไลมือ มีลักษณะกลม ประดับด้วยพลอยสีขาว
- กำไลข้อเท้า ลักษณะกลมแต่ด้านในทึบ ตัวกำไลสลับลวดลายทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับพลอย
- โบ โบเส้นเล็กๆ สำหรับสอดใต้เข็มขัด
- ผ้าสไบ มีแผ่นโค้งเหนือไหล่ตอดสร้อยตัว ๒ เส้น ประกอบด้วยผ้าแพรบาง ความยาวเท่ากับสร้อย
ชาย ผ้าและสร้อยตัวทั้งสองข้างติดอยู่กับเครื่องประดับสีทอง ที่ใช้คล้องไว้บนไหล่เครื่องประดับนี้ ทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสีเขียว สีแดง ส่วนสร้อยตัวเป็นโซ่ห่วงทองเล็กๆ ต่อให้ติดกัน ทำด้วยโลหะชุบทอง
- กะบังหน้า มีลักษณะคล้ายกะบังหน้าธรรมดา ตรงกลางด้านหน้าเป็นรูปกลมและต่อยอดกลมให้แหลมถึงตรงปลาย ประดับด้วยพลอยสีขาว
- ปิ่นปักผม ตรงโคนที่ใช้ปักผมนั้นเรียวแหลม ส่วนตอนปลายกลึงจนมีลักษณะกลม ประดิษฐ์ขึ้นด้วยไม้นำมากลึงตามลักษณะ
แล้วทาสีทองทับ

การแต่งกายระบำศรีวิชัย

ระบำลพบุรี

ระบำลพบุรี





ระบำลพบุรี เป็นระบำโบราณคดีเพลงหนึ่ง เกิดขึ้นโดยเลียนแบบลักษณะท่าทางของเทวรูป ภาพเขียน ภาพแกะสลัก รูปปั้น รูปหล่อโลหะและภาพศิลาจำหลัก-ทับหลังประตู ตามโบราณสถาน ที่ขุดพบในสมัยลพบุรี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙ ศิลปวัตถุโบราณประเภทนี้อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปราสาทหินพิมาย ในจังหวัดนครราชสีมาพระปรางค์สามยอดลพบุรี แล้วนำมากำหนดยุดสมัยตามความเก่าแก่ของโบราณสถานและโบราณวัตถุ แล้วมาสร้างเป็นระบำสมัยนั้นขึ้น ลีลาท่าทางของศิลปวัตถุเป็นภาพนิ่ง(ท่าตาย) เหมาะเป็นท่าเทวรูปมากกว่า เมื่ออาศัยหลักทางด้านนาฎศิลป์เข้ามาดัดแปลงเป็นท่ารำ ทำให้มีความอ่อนช้อย สวยงาม ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ คือ ครูลมุล ยมะคุปต์ ร่วมด้วยครูเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญนาฎศิลป์ไทย กรมศิลปากร


ระบำ ลพบุรี เป็นระบำชุดที่ ๓ ในระบำโบราณคดีที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) เช่นเดียวกับระบำทวารวดี อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๙ ประดิษฐ์ขึ้น โดยอาศัยหลักฐานจากโบราณวัตถุ และภาพจำหลักตามโบราณสถาน ซึ่งสร้างขึ้นตามแบบศิลปะของขอม ที่อยู่ในประเทศกัมพูชา และประเทศไทย อาทิ พระปรางค์สามยอดในจังหวัดลพบุรี ทับหลังประตูระเบียงตะวันตกของปราสาทหินพิมายในจังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้งในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น การแต่งทำนองเพลง กระบวนท่ารำ และเครื่องแต่งกาย จึงมีลักษณะคล้ายเขมรเป็นส่วนใหญ่ ระบำลพบุรีแสดงครั้งแรกเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทางเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคาร สร้างใหม่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ และภายหลังได้นำออกแสดงในโรงละครแห่งชาติและที่อื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนชม


นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง โดยมีสำเนียงออกไปทางเขมร


นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร และนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ

นายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน สร้างเครื่องแต่งกาย นายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์ และเครื่องประดับ


เครื่องแต่งกาย


- เสื้อ ใช้ผ้ายืดสีเนื้อ คอกลม แขนสั้นเหนือศอก ติดแถบสีทองโอบรอบคอตลอดหว่างอกและรอบเอว ตัวเอกปักดิ้นเป็นลายดอกประจำยามหนึ่งดอกตรงระหว่างอก


- ผ้านุ่ง เย็บสำเร็จแบบซ้อนหน้า ชายล่างโค้งมน ยาวคลุมเข่า ปักดิ้นลาย ประจำยาม


- ระปราย มีผ้าตาลสีทองทาบชายกระโปรง ตัวเอกนุ่งผ้าสีส้มแสด หมู่ระบำสีฟ้าอมม่วง


- ผ้าคลุมสะโพก สีม่วงอ่อน ชายแหลมมนแยกเป็น ๒ ชิ้น หมู่ระบำริมผ้าทาบ ด้วยผ้าตาดสีทอง ตัวเอกทาบริมด้วยผ้าตาลสีเงิน


ตัวอย่างการแต่งกายระบำลพบุรี

หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)





เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2424 ที่ตำบลดาวดึงส์ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรคนสุดท้องของนายสิน และนางยิ้ม ศิลปบรรเลง ท่านเป็นผู้มีความสามารถและรักทางดนตรีมาตั้งแต่อายุยังน้อย สามารถตีฆ้องวงได้ตั้งแต่อายุ 5 ขวบ ได้เริ่มหัดเรียนดนตรีจากบิดาในวิชาปี่พาทย์อย่างเอาจริงเอาจัง ท่านได้ออกงานใหญ่ครั้งแรกในงานโกนจุก เจ้าจอมเอิบ และเจ้าจอมอบ ธิดาเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธ์ จังหวัดเพชรบุรี ท่านได้แสดงฝีมือ ระนาดเอก จนเป็นที่เลื่องลือกันในหมู่นักดนตรี ใน พ.ศ. 2443 กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์ วรเดช เอาตัวไปเป็นมหาดเล็กเพราะทรงพอพระทัยในฝีมือการบรรเลง ในปี่ พ.ศ. 2451 หลวงประดิษฐ์ไพเราะนั้นคือ จางวางศร ศิลปบรรเลง ได้จำเพลงชวามาหลายเพลง (จากคราวที่ได้มีโอกาสไปชวา) ได้รำมาเรียบเรียงแต่งขึ้นเป็นเพลงตามหลักดุริยางค์ไทย เช่นเพลง "มูเซ็นซ๊อค) และ "ยะวา" เป็นต้น พร้อมกับได้นำอังกะลุง เข้ามาเล่นเพลงไทยเป็นคนแรกโดยนำมาฝึกมหาดเล็กในวังบูรพาภิรมย์จนสามารถนำออกแสดงครั้งแรกหน้าพระที่นั่งในงานกฐินพระราชทาน ณ วัดราชาธิวาส เป็นเหตุให้เกิดการเล่นอังกะลุงกันอย่างแพร่หลายตราบเท่าทุกวันนี้ ในปี พ.ศ. 2458 จางวางศร ได้นำเพลง "เขมรเขาเขียว" 2 ชั้น ของเก่ามาประดิษฐ์เป็น 3 ชั้น ใช้ทำนองครออย่างอ่อนหวานผิดกว่าเพลงที่เคยบรรเลงโดยทั่วไป และเรียกชื่อเพลง "เขมรเลียบนคร" ใน พ.ศ.2467 จางวางศรได้ประดิษฐ์ เพลงรับและร้อง เพลงโอ้ต่าง ๆ เพื่อบรรเลงในการเล่นพิธีเปิดประตูน้ำท่าหลวง จังหวัดสระบุรี และในสมัยนั้นท่านได้ปรับปรุงเพลงไทยเดิมต่าง ๆ ให้เป็นเพลงเถาขึ้นหลายสิบเพลงพร้อมทั้งปรับปรุงวงดนตรีไทยให้ดีขึ้น การแสดงแต่ละคราวนี้เป็นที่พอพระราชหฤทัยของรัชกาลที่ 6 เป็นอย่างยิ่ง ต่อมาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระราชทินนามและบรรดาศักดิ์ให้เป็น "หลวงประดิษฐ์ไพเราะ" และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย และเหรียญราชรุจิด้วย ต่อมาได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นปลัดกรมปี่พาทย์หลวง กระทรวงวัง พอถึงรัชกาลที่ 7 หลวงประดิษฐ์ไพเราะร่วมกับหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดุริยชีวิน) ได้รับราชการเป็นผู้ถวายวิชาดนตรีไทยแด่รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระบรมราชินี และในคราวตามเสด็จไปอินโดจีน พ.ศ.2473 ก็ได้ศึกษาเพลงเขมรมาหลายเพลงเช่น เพลง "นกเขาขะแมร์" "ศรีโสภณ" "ซองซาประเค๊ป" "เดรอว" " อังโกเลี้ยก" ในปี พ.ศ. 2472 ได้เป็นหัวหน้าบอกทำนองในคราวบันทึกไทยลงเป็นโน้ตสากล ณ วังวรดิศ ท่านเป็นผู้มีพรสวรรค์ดนตรี มีสติปัญญา และฝีมือในทางดนตรี มีความขยันหมั่นเพียร จนมีฝีมือชื่อเสียงในวงการดนตรีไทย ท่านเป็นนักดนตรีที่มีโชคในทุก ๆ ทาง เป็นผู้ได้บรรลุแล้วซึ่งความสำเร็จในชีวิต นับแต่เกิดได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดีจากบิดามารดาได้ศึกษาเล่าเรียน ครั้นเติบใหญ่ก็มีความสามารถพิเศษในการดนตรี เจ้านายทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงให้ได้บวชเรียน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร 1 พรรษา ต่อจากนั้นก็ทรงพระกรุณาจัดการแต่งงานให้กับ นางสาว โชติ หุราพันธ์ ธิดาพันโท พระประมวล ประมาณผล ในด้านชีวิตครอบครัวท่านก็สามารถสร้างหลักฐานบ้านช่องได้อย่างมั่นคง เพราะมีภริยาที่ดีสามารถในการจัดการบ้านเรือนและอื่น ๆ โดยที่ท่านไม่ต้องมาเป็นกังวล จึงกล่าวได้ว่า "ชีวิตของท่าน คือดนตรี และ ดนตรีคือชีวิตของท่าน ท่านใช้เวลาของท่านอย่างเต็มที่ประมาณ 60 ปี สร้างสรรค์ ดุริยางศิลป์ให้แผ่ไพศาล กล่อมชาติไทยด้วยเพลงไพเราะ ท่านได้แต่งเพลงไว้มากมายจำนวนถึงกว่าร้อยเพลง ท่านเป็นนักดนตรีที่มีความคิดใหม่ ๆ แปลก ๆ ในการที่จะปรับปรุงการดนตรีไทยให้ดียิ่งขึ้น เช่น เป็นต้นตำรับเพลงกรอที่มีลีลาอันไพเราะอ่อนหวาน ซึ่งได้แก่ เพลงเขมรเลียบนคร , เขมรพวง, ไส้พระจันทร์ ฯลฯ เป็นต้นตำรับการเปลี่ยนแปลงเพลงเป็นทางต่าง ๆ ซึ่งได้แก่เพลงพราหมณ์ดีดน้ำเต้า , ลาวเสี่ยงเทียน, ช้างประสานงา และเพลงโอ้ต่าง ๆ เป็นต้นตำรับการเดี่ยวขิม 7 ตัว และเดี่ยวระนาด 2 ราง เป็นต้นกำเนิดเพลงที่มีลูกนำขึ้นต้น และเพลงที่แสดงความหมายของธรรมชาติอย่างแท้จริง ซึ่งได้แก่เพลง แสนคำนึง เพลงตับภมริน และนกเขาขะแมร์ ฯลฯ ท่านยังเป็นผู้นำเพลงไทยเข้าไปเผยแพร่ในกัมพูชา เป็นผู้นำอังกะลุงของชวาเข้ามาเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงใช้บรรเลงในประเทศไทยเป็นคนแรก เป็นผู้ริเริ่มการแต่งเพลง 3 ชั้น เพลง 4 ชั้น คือเพลงพม่าห้าท่อนสี่ชั้น พราหมณ์ดีดน้ำเต้า 4 ชั้น ดาวจระเข้ 4 ชั้น และเพลงเขมรไทยโยค 4 ชั้น นอกจากนี้ยังเคยนำทางเดี่ยวขิมเพลงแป๊ะ ให้นักเรียนนาฏศิลป์กรมศิลปากร บรรเลงด้วยขิมหลายสิบตัวพร้อมกัน


เพลงทุกเพลงที่ท่านแต่งล้วนมีทำนองไพเราะน่าฟัง และมีลีลาพิศดารแปลกกว่าผู้อื่น ทำให้เป็นที่นิยมกันแพร่หลาย ท่านเป็นผู้มีความจำดี มีเชาว์และปฏิภาณในวิชาดนตรีอย่างล้ำเลิศ สามารถจำเพลงต่างๆ ได้เป็นพัน ๆ เพลงโดยไม่ต้องอาศัยโน้ต เพลงที่ท่านแต่งโดยใช้ปฏิภาณ เช่นเพลงอะแซหวุ่นกี้ ท่านเป็นครูสอนที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง โรงเรียนราชินี โรงเรียนนาฏศิลป์ กรมศิลปากร และที่คุรุสภา การสอนการถ่ายทอดความรู้ของท่านเป็นยาอายุวัฒนะของท่าน ท่านสอนได้เกือบทุกเครื่องบรรเลงตลอดจนการขับร้อง ศิษย์ของท่านเป็นผู้มีฝีมือ เป็นต้นว่าครูบุญยง เกตุคง และครูประสิทธิ์ ถาวร มือระนาดเอกมือหนึ่งของไทย นอกจากนี้ยังมี ท่านศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ครูโองการคลับชื่น อาจารย์ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ศิษย์ผู้มีความเชี่ยวชาญในการประพันธ์ ประวัติศาสตร์และวรรณคดี


เมื่ออายุย่าง 72 ปี ท่านมีสุขภาพทรุดโทรมลงตามวัย และได้ล้มเจ็บลงด้วยโรคลำไส้และโรคหัวใจ ท่านได้ถึงแก่กรรม ณ บ้านศิลปบรรเลง ถนนบริพัตร พระนคร เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 เวลา 19.45 น. รวมอายุ 72 ปี 7 เดือน 2 วัน มรณกรรมของท่านเป็นการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของชาติ ควรแก่การสรรเสริญ การทนุถนอม และนับถือว่าเป็นวัฒนธรรมประจำชาติอันสูงส่ง

ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี

ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี

ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี

นามเดิม ชื่อ แผ้ว นามสกุลเดิม คือ สุทธิบูรณ์

เกิด เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2466 ตรงกับวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 7 ค่ำ ปีเถาะ

การศึกษา

พ.ศ. 2454 เมื่ออายุได้ 8 ปี ได้เข้าถวายตัวในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าอัษฎางค์ เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา โดยในชั้นต้นได้เข้าฝึกหัดนาฏศิลป์ต่อครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในราชสำนักขณะนั้น ได้ออกแสดงเป็นตัวเอก ในการแสดงถวายทอดพระเนตรหน้าพระที่นั่ง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหลายครั้ง



พื้นความรู้วิชาสามัญ

จบการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนในวังสวนกุหลาบ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

การสมรส

ต่อมาได้เป็นหม่อมในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฏางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา

ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสังคมในต่างประเทศ

ได้เคยติดตามร่วมไปกับพลตรี หม่อมสนิทวงศ์เสนี (ม.ร.ว.ตัน สนิทวงศ์) เมื่อครั้งไปรับราชการเป็นทูตทหาร ประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และโปรตุเกส

ความรู้ทางนาฏศิลป์

ได้รับการฝึกหัดอบรมจากครูนาฏศิลป์ในราชสำนัก เช่น เจ้าจอมมารดาวาด (ท้าววรจันทร์) ในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมมารดาเขียน (ร.4) เจ้าจอมมารดาทับทิม (ร.5) หม่อมแย้ม (อิเหนา) ในสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริวงศ์ หม่อมอึ้ง ในสมเด็จพระบัณฑูรฯ จนมีความชำนาญและแสดงเป็นตัวเอกในการแสดงถวายทอดพระเนตรหน้าพระที่นั่งหลายเรื่อง เช่น เป็นตัวอิเหนา และนางดรสา ในเรื่องอิเหนา เป็นตัวทศกัณฐ์และพระพิราพในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นตัวนางเมขลาฯลฯ

การรับราชการ

เข้ารับราชการเป็นลูกจ้างชั่วคราว ในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย กองการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาฝ่ายวิชานาฏศิลป์ของสถาบันการศึกษา องค์การ และเอกชนอื่นๆ

ผลงาน

ผลงานเกี่ยวกับการแสดงศิลปะนาฏกรรม เช่น ท่ารำของตัวพระ นาง ยักษ์ ลิง และตัวประกอบ การแสดงโขน ละครชาตรี ละครนอก ละครใน ละครพันทาง และระบำฟ้อนต่างๆ เป็นผู้คัดเลือกการแสดง จัดทำบทและเป็นผู้ฝึกสอน ฝึกซ้อม อำนวยการแสดงถวายทอดพระเนตรหน้าพระที่นั่ง ในวโรกาสต้อนรับพระราชอาคันตุกะ อาคันตุกร และงานของรัฐบาล หน่วยงานองค์กรต่างๆ จัดต้อนรับเป็นเกียรติแก่แขกผู้มาเยือนประเทศไทย เป็นผู้คัดเลือกตัวละครให้เหมาะสมตามบทบาทในการแสดงต่างๆ เป็นผู้คัดเลือกการแสดงวางตัวศิลปินผู้แสดงต่างประเทศเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นผู้ฝึกสอนและอำนวยการฝึกซ้อมในการแสดงโขน ละคร การละเล่นพื้นเมิง ระบำรำฟ้อนต่างๆ ที่กรมศิลปากรจัดแสดงแก่ประชาชน โรงละครแห่งชาติ สังคีตศาลา ในต่างจังหวัดและทางสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ตลอดทั้งร่วมในงานของหน่วยราชการ องค์กร สถาบันการศึกษา และเอกชน เป็นวิทยากรบรรยายและตอบข้อซักถามในการอบรมวิชานาฏศิลป์และวรรณกรรม และเป็นที่ปรึกษาในการสร้างนาฏกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นด้วย

ในด้านบทวรรณกรรมสำหรับใช้แสดง ได้ค้นคิดปรับปรุง เสริมแต่งให้เหมาะสมกับยุคสมัย ดำเนินไปโดยถูกต้องตามระเบียบแบบแผนอันมีมาแต่ดั้งเดิม เช่น บทละครเรื่องอิเหนา ตอนเข้าเฝ้าท้าวดาหา ตอนลมหอบ ตอนอุณากรรมชนไก่ ตอนบุษบาชมศาล ตอนศึกกระหมังกุหมิง ตอนประสันตาต่อนัก เรื่องสังข์ทอง ตอนเลียบเมือง ตอนเลือกคู่หาปลา ตอนตีคลี ตอนนางมณฑาลงกระท่อม เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพลายเพชรพลายบัวออกศึก ตอนพระไวยแตกทัพ เรื่องไกรทอง ตอนที่ 1 ตะเภาแก้ว ตะเภาทอง และบริวารไปเล่นน้ำ ตอนที่ 2 ตามนางวิมาลากลับไปถ้ำ เรื่องพระอภัยมณี ตอนพบนางละเวง ตอนนางละเวงพบดินถนัน ตอนหนีนางผีเสื้อสมุทร เรื่องไชยเชษฐ์ ตอนนางสุวิญชาถูกขัน ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 เรื่องมโนราห์ บางตอนเกี่ยวกับพรานบุญ เรื่องรถเสนบาง เรื่องแก้วหน้าม้า ตอนถวายลูก เรื่องสังข์ศิลป์ชัย ตอนท้าวเสนากุฏเข้าเมือง เรื่องเงาะป่า เรื่องคาวี ตอนได้นางใจกลองศึก เรื่องสุวรรณหงส์ ตอนเสี่ยงว่าว-ชมถ้ำ บทโขน ตอน ปราบกากนาสูร ตอนไมยราพสะกดทัพ ตอนศึกบรรลัยกัลป์ ตอนปล่อยม้าอุปการ

นอกจากนี้ ยังได้คิดประดิษฐ์กระบวนท่ารำขึ้นใหม่ไว้อีกมาก เช่น กระบวนท่าร่ายรำในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1-2 กระบวนท่าร่ายรำในการแสดงนาฏกรรมของกรมศิลปากร และกระบวนท่าร่ายรำชุดต่าง ๆที่กรมศิลปากรจัดแสดง

ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฏีมาลา เข็มศิลปวิทยา เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514

ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ถึงแก่กรรมเมื่อ 24 กันยายน พ.ศ. 2543 อายุ 98 ปี

นางลมุล ยมะคุปต์

นางลมุล ยมะคุปต์



นางลมุล ยมะคุปต์ หรืออีกชื่อหนึ่งที่บรรดาศิษย์ทั้งหลายจะขนานนามให้ท่านด้วยความเคารพรักอย่างยิ่งว่า คุณแม่ลมุล เป็นธิดาของร้อยโท นายแพทย์จีน อัญธัญภาติ กับ นางคำมอย อัญธัญภาติ (เชื้อ อินต๊ะ) เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2448 จังหวัดน่าน ในขณะที่บิดาขึ้นไปราชการสงครามปราบกบฏเงี้ยว (กบฏ จ.ศ.1264 ปีขาล พ.ศ. 2445)

การศึกษา

เริ่มต้นเรียนวิชาสามัญที่โรงเรียนสตรีวิทยา เมื่ออายุได้ 5 ขวบ เรียนได้เพียงปีเดียวบิดานำไปกราบถวายตัวเป็นละคร วังสวนกุหลาย ในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ซึ่งอยู่ในความปกครองของคุณท้าวนารีวรคณารักษ์ (แจ่ม ไกรฤกษ์)

การฝึกหัดนาฏศิลป์ที่วังสวนกุหลายนั้น มีหลักและวิธีการอย่างเข้มงวดกวดขัน มีตารางฝึกตั้งแต่เช้าตรู่ และดำเนินตลอดทั้งวัน เช่น

05.00 น. เริ่มฝึกหัดรำเพลงช้า เพลงเร็วที่สนามหน้าพระตำหนัก เมื่อรำเพลงช้าเพลงเร็วจนจบกระบวนท่าแล้ว ผู้ฝึกหัดเป็นตัวพระจะแยกไปต้นเสา (ฝึกหัดเพื่อให้มีกำลังขาแข็งแรง) แล้วแยกไปเต้นแม่ท่ายักษ์ และออกกราว ผู้ฝึกหัดเป็นตัวนางก็จะได้แยกไปเต้นแม่ท่าลิง

07.00 น. พักอาบน้ำ

08.00 น. รับประทานอาหารเช้า

09.00 น. เริ่มเรียนวิชาสามัญ

12.00 น. พักกลางวัน

13.00 – 16.00 น. ซ้อมการแสดงทั้งโขนและละคร

16.00 น. เป็นต้นไป พักผ่อนตามอัธยาศัย

20.00 – 24.00 น. ฝึกซ้อมการแสดงเข้าเรื่อง ละครใน ละครนอก ละครพันทาง รวมทั้งโขน



การฝึกหัดนาฏศิลป์ดังกล่านี้ ผู้ฝึกจะต้องมีความอดทนและมีความตั้งใจจริงจึงจะสามารถปฏิบัติได้ดี ทั้งยังต้องมีพรสวรรค์เป็นพิเศษอีกด้วย นางลมุล ยมะคุปต์ เป็นผู้มีคุณสมบัติพร้อมทุกประการ จึงได้รับการคัดเลือกให้ฝึกหัดเป็นตัวพระตั้งแต่แรกเริ่ม ท่านครูที่ประสิทธิ์ประสาทวิทยาการด้านนาฏศิลป์ ให้แก่ท่านมีดังนี้ คือ

1. หม่อมครูแย้ม หม่อมละครในสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สอนบทบาทของตัวละครเอกทางด้านละครใน เช่น อิเหนา ย่าหรันฯ

2. หม่อมครูอึ่ง หม่อมละครในสมเด็จพระบัณฑูรฯ (เข้าใจว่า คือกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) สอนในเรื่องของเพลงหน้าพาทย์ และบทบาทตัวเอก ตัวรอง

เช่น บทบาท พระวิศณุกรรม พระมาตุลี บทบาทของตัวยักษ์ เช่น อินทรชิต รามสูร ฯลฯ

3. หม่อมครูนุ่ม หม่อมในกรมหมื่นสถิตธำรงสวัสดิ์ (พระองค์เต้าเนาวรัตน์) เดิมเป็นละครในสมเด็จพระบัณฑูรฯ ท่านเป็นครูฝ่ายนาง สอนบทบาทที่เกี่ยวกับ

ตัวนาง เช่น ศุภลักษณ์อุ้มสม และบทบาทของตัวนางที่เป็นตัวประกอบ



ท่านครูที่สอนพิเศษ มีดังนี้คือ

1. ท้าววรจันทร์ (วาด) ในรัชกาลที่ 4 สอน เพลงช้านารายณ์ ซึ่งใช้สำหรับการรำบวงสรวงเทพยดาโดยเฉพาะ

2. เจ้าจอมมารดาเขียน ในรัชกาลที่ 4 สอนบทบาทตัวเอกในละครพันทาง เรื่อง ลิลิตพระลอ พญาแกรก พญาวังสัน โดยเฉพาะบทบาทของพระลอทุกตอน

3. เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5 สอนบทบาทตัวเอกละครในบางตัว เช่น บทบาทของตัวย่าหรัน ตอนย่าหรันลักนางเกนหลง

4. เจ้าจอมมารดาสาย ในรัชกาลที่ 5 สอน ท่ารำฝรั่งคู่ ทั้งพระและนาง

5. เจ้าจอมละม้าย ในรัชกาลที่ 5 สอน ท่ารำ ฝรั่งคู่ ทั้งพระและนาง

6. พระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) เป็นผู้ทบทวนความรู้ และเกร็ดนาฏศิลป์ด้านต่าง ๆ และเป็นผู้ประกอบพิธีครอบ มอบกรรมสิทธิ์ให้เป็นครูเมื่ออายุได้ 18 ปี

7. คุณนัฏกานุรักษ์ (เทศ สุวรรณภารต) เป็นผู้ทบทวนและฝึกหักเพิ่มเติม วิชาการด้านนาฏศิลป์ ในระยะหลังต่อมา

8. ท่านครูหงิม เป็นครูผู้เชียวชาญในบทบาทของละครนอก และละครพันทางอย่างยิ่ง เป็นผู้ฝึกสอนบทบาทของตัวเจ้าเงาะ ในเรื่องสังข์ทองทุกตอน

เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทเพลงหน้าพาทย์ศักดิ์สิทธิ์ คือ เพลงกลมเงาะ และสอนบทบาทตัวเอกในละครพันทางเรื่อง ราชาธิราช เช่น สมิงพระราม

สิมงนครอินทร์ ราชาธิราช มิงรายกะยอชวา พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง ฯลฯ

วิชาการด้านนาฏศิลป์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากท่านครู

1. เพลงช้า เพลงเร็ว ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

2. เพลงเชิด เสมอ ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

3. พญาเดิน ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

4. เหาะ ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูแย้ม

5. โคมเวียน ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูแย้ม

6. เสมอลาว ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูหงิม

7. เสมอแขก ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูหงิม

8. เสมอมอญ ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูหงิม

9. เสมอพม่า ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูหงิม

10. เสมอจีน ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

11. เสมอฝรั่ง ได้รับการถ่ายทอดจาก ท่านครูหงิม

12. สก๊อต (ระบำฝรั่ง) ได้รับการถ่ายทอดจาก ท่านครูหงิม

13. รำมะนา (ระบำฝรั่ง) ได้รับการถ่ายทอดจาก ท่านครูหงิม

14. ฉายกริช (รำกริชอิเหนา) ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูแย้ม

15. ฉากพระขรรค์ (รำตรวจพลถือพระขรรค์) ได้รับการถ่ายทอดจาก ท้าววรจันทร์ (วาด)

16. ฉากกระบองยาว (รำตรวจพลถือกระบองยาว) ได้รับการถ่ายทอดจาก ท่านครูหงิม

17. ฉากดาบ(รำตรวจพลถือดาบ) ได้รับการถ่ายทอดจาก ท่านครูหงิม

18. รำตาว (ตาวเป็นมีดยาวชนิดหนึ่ง) ได้รับการถ่ายทอดจาก ท่านครูหงิม

19. รำกริชคู่สะระหม่า (รบกริชอิเหนา) ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูแย้มและหม่อมครูอึ่ง

20. รำกริชเดี่ยวสะระหม่า (รบกริชอิเหนาตอนบวงสรวง) ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูแย้ม

21. รำกริชมลายูสะระหม่าแขก ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

22. รำดาบคู่ ได้รับการถ่ายทอดจาก เจ้าจอมมารดาเขียน ร.4

23. รำกระบี่ ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูแย้ม หม่อมครูอึ่ง

24. รำทวน ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูแย้ม หม่อมครูอึ่ง

25. รำหอกซัด (ตอนศึกกระหมังกุหนิง) ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูแย้ม หม่อมครูอึ่ง

26. รำง้าว (รำอาวุธเดี่ยวถวายหน้าพระทีนั่ง) ได้รับการถ่ายทอดจากหม่อมครูแย้ม หม่อมครูอึ่ง

27. ไม้จีน 14 ไม้ (ท่ารบอาวุธจีน) ได้รับการถ่ายทอดจาก ท่านครูหงิม

28. ไม้บู้จีน (ไม่รบของตัวกามนีในละครเรื่องราชาธิราช) ได้รับการถ่ายทอดจาก ท่านครูหงิม

29. กราวใน ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

30. กราวนางยักษ์ ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

31. รำเชิดฉิ่งตัดดอกไม้ (อิเหนาตัดดอกลำเจียก) ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูแย้ม

32. รำเชิดฉิ่งลักนาง (ย่าหรันลักนางเกนหลง) ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูแย้ม

33. รำเชิดฉิ่งจับม้า(พระมงกุฎจับม้าอุปการในเรื่องรามเกียรติ์) ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูแย้ม

34. รำเชิดฉิ่งแผลงศร ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูแย้ม

35. รำฝรั่งคู่ (การรำอวดฝีมือระหว่างตัวพระเอก-นางเอกเช่น อรชุนเมขลาอุณรุทอุษา ฯลฯ

ได้รับการถ่ายทอดจาก เจ้าจอมมารดาสายและเจ้าจอมมารดาละม้าย ในรัชกาลที่ 5

36. รำฝรั่งเดี่ยว (การร่ายรำอวดฝีมือของตัวเอก เช่น อิเหนารำกริชตอนใต้บน ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูแย้ม

37. ลงสรงปีพาทย์ (รำลงสรงใช้ปี่พาทย์บรรเลง เพลงโทนไม่มีบทร้อง) ลงสรงสุหร่าย (เพลงทรงสุหร่ายมีบทร้อง ลงสรงโทน (เพลงโทนมีบทร้อง) โทนม้า (เพลงโทนชมม้า) ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูแย้ม

38. ฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง (สอนนางรำเบิกโรงตามบทพระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ 4) ได้รับการถ่ายทอดจาก เจ้าจอมละม้ายใน รัชกาลที่ 5

39. ตระนิมิต ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

40. ตระบองกัน ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

41. ชำนาญ ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

42. รำปฐมหางนกยูง (พระมาตุลีจัดพล) ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

43. โลม-ตระนอน ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูแย้ม

44. สาธุการ ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

45. กลมกิ่งไม้เงินทอง (รำเบิกโรงถือกิ่งไม้เงินทองใช้หน้าพาทย์เพลงกลม)ได้รับการถ่ายทอดจาก เจ้าจอมละม้ายใน รัชกาลที่ 5

46. เสมอมาร ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

47. เสมอเถร ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

48. บาทสกุณี ได้รับการถ่ายทอดจาก เจ้าจอมมารดาทับทิม

49. เชิดฉาน ได้รับการถ่ายทอดจาก เจ้าจอมมารดาทับทิมใน ร. 5 และหม่อมครูแย้ม

50. รุกรัน ได้รับการถ่ายทอดจาก พระยานัฏกานุรักษ์

51. เสมอข้ามสมุทร ได้รับการถ่ายทอดจาก พระยานัฏกานุรักษ์

52. กลมพระขรรค์ ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูแย้ม

53. เพลงช้านารายณ์ ได้รับการถ่ายทอดจาก ท้าววรจันทร์ (วาด) ใน ร.4

54. เชิดฉิ่งศรทะนง ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูแย้ม

55. พราหมณ์เข้า ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

56. พราหมณ์ออก ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

57. ตระนารายณ์ (หน้าพาทย์ตระนิมิตรำท่านารายณ์) ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูแย้ม

58. ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

59. ตระบรรทมไพร ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

60. ตระสันนิบาต ได้รับการถ่ายทอดจาก หม่อมครูอึ่ง

61. กลมเงาะ ได้รับการถ่ายทอดจาก ท่านครูหงิม

นอกจากวิชาต่าง ๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดจากท่านครูโดยตรงแล้วยังมีท่ารำและกระบวนรำอีกมากมายที่อาศัยจำจากสิ่งเคยพบเห็นซึ่งตรงกับสำนวนที่ว่า

ครูพักลักจำ เช่นกระบวนท่ารำแบบพม่า มอญ หลายชุดที่ได้ค้นคิดประดิษฐ์ขึ้น

ชีวิตการศึกษาในวังสวนกุหลาบ ดำเนินไปด้วยดีและประสบผลสำเร็จสูงสุด คือ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวเอก ตั้งแต่เริ่มการฝึกหัดเมื่ออายุ 6 ขวบ

จนกระทั่งกราบบังคมทูลลาจากวังสวนกุหลาบไปรับพระราชทานสนองพระคุณเป็นละครใน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย

วังเพชรบูรณ์ ร่วมกับเพื่อนละครอีกหลายท่าน ท่านได้ออกแสดงเป็นตัวเอกหลายครั้งหลายครา เท่าที่จดจำได้ก็คือ ได้ออกแสดงครั้งแรกในชีวิตเรื่องสังข์ทอง

โดยแสดงเป็นตัวหกเขย อยู่ปลายแถว ต่อมาแสดงเป็นพระมาตุลี จึงได้หน้าพาทย์ปฐมเพราะจะต้องไปจัดทัพ และได้เลื่อนขึ้นเป็นพระสังข์ทองต่อมา

ขณะที่อยู่ในวังสวนกุหลาบนั้น ท่านได้รับเกียรติสูงสุดให้เป็นตัวนายโรงของทุกเรื่องทั้งละครนอก ละครใน ละครพันทาง เช่น


ละครใน

เรื่องอิเหนา แสดงเป็น อิเหนา สียะตรา สังคามาระตา วิหยาสะกำ

เรื่องอุณรุท แสดงเป็น อุณรุท

เรื่องรามเกียรติ์ แสดงเป็น พระราม พระมงกุฎ อินทรชิต

นารายณ์สิบสอง แสดงเป็น พระนารายณ์ พระคเณศ


ละครนอก

เรื่องสังข์ทอง แสดงเป็น เขยเล็ก พระวิศณุกรรม พระมาตุลี พระสังข์ เจ้าเงาะ

เรื่องเงาะป่า แสดงเป็น ซมพลา ฉเนา

เรื่องสังข์ศิลป์ชัย แสดงเป็น สังข์ศิลป์ชัย ศรีสัณพ์

เรื่องพระอภัยมณีแสดงเป็น พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สุดสาคร อุศเรน เจ้ามหุต


ละครพันทาง

เรื่องลิลิตพระลอ แสดงเป็น พระลอ

เรื่องราชาธิราช แสดงเป็น สมิงพระราม สมิงนครอินทร์

เรื่องขุนช้างขุนแผน แสดงเป็น พระพันวษา พระไวย พลายบัว

ขณะที่ย้ายออกจากวังสวนกุหลาย มาอยู่ในวังเพชรบูรณ์นั้น ท่านได้เติบโตมากแล้วชีวิตในวังเพชรบูรณ์เปลี่ยนแปลงไปจากชีวิตในวังสวนกุหลาบหลายประการทั้งนี้เนื่องจาก ทูลกระหม่อมเจ้าจุฑาธุช ทรงมีพระประสงค์ที่จะให้พวกละครมีความรู้ความสามารถที่จะออกไปเป็นแม่บ้านที่ดีมิใช่เพียงแต่รำละครได้เท่านั้น ครั้งแรกที่เข้าไปรับสนองพระกรุณาอยู่นั้น ตำหนักที่ประทับเพิ่งจะเริ่มลงมือก่อสร้าง ทูลกระหม่อมฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกเรือนกินนรรำ ประทานให้เป็นที่อยู่ของพวกละคร เรือนกินนรรำนี้ ตั้งชื่อตามเพลงหน้าพาทย์เพลงหนึ่ง และมีสิ่งก่อสร้างอีกหลายอย่างที่ทรงตั้งชื่อหน้าพาทย์หรือเพลงต่างๆ

ภายหลังในเรือนกินนรรำ แบ่งออกเป็นห้องเล็กๆ เพื่อให้บรรดานางละครพักอาศัย ห้องละครมีอุปกรณ์พร้อมสิ้นทุกอย่าง เปรียบได้กับหอพักในปัจจุบัน และที่สำคัญคือทุกห้องจะมีที่ประดิษฐานภาพพระพุทธรูป ภาพศีรษะพระภรตฤษี พร้อมทั้งคำนมัสการเพื่อให้พวกละครได้บูชากราบไหว้ คำนมัสการได้นำมาถ่ายทอดให้กับศิษย์หลายคน ซึ่งเป็นครูอยู่ในวิทยาลัยนาฏศิลป์

ชีวิตประจำวันในวังเพชรบูรณ์ เริ่มด้วยในตอนเช้าตรู่ทุกๆวัน พวกละครซึ่งมีหัวหน้าควบคุม 4 ท่าน จัดแบ่งเป็นหมู่ มีสมาชิกหมู่ละ 30 คน

ในแต่ละวัน 2 หมู่ จะผลัดกันควบคุมสมาชิกไปเก็บดอกไม้ (ดอกพุทธชาด) แล้วนำมาร้อยกรองเป็นพวงมาลัย วันละ 2 พวง เพื่อนำขึ้นไปทูลเกล้าฯ ถวายทูลกระหม่อมฯทั้งนี้เป็นพระประสงค์ที่จะหัดให้พวกละครได้ทำการฝีมือ หลังจากนั้นพวกละครรุ่นใหญ่ จะฝึกหักการรำเพลงช้า เพลงเร็วให้กับละครรุ่นน้อง เพื่อฝึกหัดการเป็นครูเสร็จสิ้น การสอนละครรุ่นใหญ่ จะลงฝึกซ้อมการแสดงจากบรรดาท่านครูผู้ใหญ่ เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกซ้อมถึงเวลาพัก พวกละครจะออกไปฝึกหัดการเรือนกับบรรดาข้าหลวงห้องเครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่สมัครใจที่จะฝึกเครื่องคาว เพราะมีโอกาสได้ออกนอกบริเวณ คุณครูลมุล ก็เป็นผู้หนึ่งที่สมัครใจที่จะไปฝึกการปรุงเครื่องคาว คุณครูเฉลยท่าเดียวเท่านั้นที่สมัครใจฝึกปรุงเครื่องหวาน ซึ่งไม่มีโอกาสได้ออกนอกบริเวณ ในบางครั้งทูลกระหม่อมฯ จะโปรดให้พวกละครหัดตัดเย็บเสื้อผ้า และเครื่องนุ่งห่มแบบง่ายๆ เช่น สนับเพลาจีน ก็โปรดให้พวกละครเป็นผู้ตัดเย็บถวาย โดยอยู่ในความดูแลของคุณนางข้าหลวง

ชีวิตในวังระยะนั้น พวกละครเห็นว่าน่าเบื่อหน่าย เพราะมีงานที่ต้องทำอยู่ตลอดเวลาครั้งเมื่อเติบโตมีครอบครัวแล้ว จึงซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นที่สุดมิได้ การแสดงละครในวังเพชรบูรณ์ ก็ดำเนินไปตามปกติ เช่นเดียวกับวังสวนกุหลาบ คือ มีการซ้อมเข้าเรื่องในตอนกลางคืนทุกวัน สับเปลี่ยนไปตามพระประสงค์ว่าจะให้ซ้อมเรื่องใด ตอนใด โดยเฉพาะละครดึกดำบรรพ์นั้นโปรดเป็นพิเศษ ได้แสดงหลายครั้ง และควบคุมอย่างใกล้ชิด ทั้งเรื่องฉาก แสดงสี แม้เรื่องการแต่งตัวละครทุกครั้งจะทรงด้วยพระองค์เอง และอีกอย่างหนึ่งที่ควรกล่าวถึงก็คือ ทรงโปรดให้พวกละครทุกคนหัดตีฆ้องใหญ่เพื่อฝึกให้มีความเข้าใจเรื่องทำนองเพลง และจังหวะ อันเป็นคุณประโยชน์อย่างมาก กิจการละครในสำนักวังเพชรบูรณ์ดำเนินไปด้วยความราบรื่นระยะเวลาอันสั้น เพียง 3 4 ขณะที่ น.ส. ลมุล มีอายุได้ประมาณ 20 ปี ทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าจุฑาธุชก็สิ้นพระชนม์ ชีวิตละครที่เคยสุขสบายมาโดยตลอดก็กับวูบลงทันที เปรียบเหมือนแพแตกต่างคนก็ต่างแยกย้ายออกจากวัง กลับไปอยู่กับญาติมิตรตามเดิม