การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ส่วนมากจะได้รับการพัฒนาขึ้นจากพื้นเพเดิมจนมีแบบอย่างที่ซับซ้อน และยากขึ้นกว่าเดิม กลายเป็นแบบบทของนาฏดุริยางค์สังคีตประจำชาติ แต่กระนั้นการแสดงแบบดั้งเดิมพื้นบ้านก็ยังมีอยู่ไม่น้อย เป็นการแสดงที่เรียบง่าย ไม่มีพิธีการมากนัก อาจจะมีการไหว้ครูตามแบบขนบประเพณีทั่วไปบ้าง
การแสดงพื้นบ้านของภาคกลาง คงจะต้องเปิดฉากกันที่ท้องถิ่นชนบท โดยเฉพาะแถบจังหวัดภาคกลาง มีชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สุพรรณบุรี กรุงเทพฯ นครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี ตลอดจนกาญจนบุรีเป็นต้น เนื่องจากท้องถิ่นเหล่านี้มีที่ราบมาก การทำไร่ทำนาจึงเป็นของคู่กับการดำเนินชีวิตตลอดมา ผลผลิตทางเกษตรกรรมจึงได้จากข้าวมากกว่าภาคอื่นๆ นอกจากนั้นก็มีผลไม้อีกหลายอย่างที่ออกจะขึ้นชื่อกว่าทุกภาค แต่ก็ยังมีสิ่งที่ด้วยหรือไม่มีอย่างที่ภาคอื่นๆ มีอีกหลายอย่างเหมือนกัน
ลักษณะทั่วไปของสังคม
ลักษณะของภูมิประเทศในภาคกลาง ได้กล่าวแล้วว่าส่วนมากจะเป็นทีราบ ซึ่งเหมาะกับการเกษตรกรรมอีกประการหนึ่งคือมีแม่น้ำดุจเส้นโลหิตสำคัญไหลผ่านหลายสาย ด้วยเป็นแหล่งซึ่งอยู่ใกล้ปากอ่าวอันเป็นที่แม่น้ำหลายสายไหลลงสู่ทะเล นอกจากนั้น ก็ยังถือว่าภาคกลางมีกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจการปกครองมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หัวเมืองอื่นๆ ที่อยู่นอกออกไปก็มีข้าราชบริพารออกไปกำกับดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ มาในปัจจุบันก็ยังมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งออกไปประจำการควบคุม ดูแลทุกข์สุขของประชาชน ย้อนขึ้นไปในสมัยโบราณตั้งแต่ระยะต้นของสมัยอยุธยาก็ปรากฏว่ากรุงศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย การปกครอง การศาสนา และอื่น ๆอีกมากมาย สงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงหงสาวดี แม้ว่าจะยืดเยื้อหลายครั้งหลายครา และกระทบไปทั่วผืนแผ่นดินไทย แต่ก็กลางก็รับศึกหนักกว่าทุกภาคเพราะว่าข้าศึกส่วนมากจะมุ่งเข้าตีเมืองหลวง คือกรุงศรีอยุธยา ดังนั้น ชาวไทยภาคกลางจึงออกจะกรำศึกสงครามจนกลายเป็นความรู้สึกหรือจิตใต้สำนึกอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องเตรียมพร้อมในการอพยพหนีเข้าป่าเข้ารก สมัยโบราณนั้นถ้าเด็กๆ ร้องไห้กันงอแงผู้ใหญ่จะขู่ว่า “ร้องไปเถอะ เดี๋ยวพม่ามาละก็โดนจับตัวแน่...” เด็กสมัยโบราณก็เงียบทันที เพราะเป็นไม้เบื่อไม่เมากันมานาน หัวเมืองที่ออกจะมีชื่อเสียงในการรบทัพจับศึกแบบชาวบ้านๆ ก็ได้แก่ กลุ่มชาวบ้านบางระจัน เป็นต้น ตั้งค่ายสู้รบจนตายกันทั้งค่ายก็เพราะจะรักษาอธิปไตยของชาติ
ภาคกลางมักเป็นที่ปรารถนาของคนในชนบท ที่จะได้เข้ามาเยี่ยมชมหรือเข้ามาสัมผัสไม่ว่าจะด้านใด เช่น พระสงฆ์ที่สนใจเล่าเรียนพระธรรมวินัยใคร่สอบเอาเปรียญ ก็มักเข้ามาศึกษาในกรุงเทพฯ จนมีคำพูดกันว่า “คนในเมืองหลวงใกล้ปืนเที่ยง” คือจะมีการยิงปืนกันในตอนเที่ยงตรง หากไกลออกไปจนถึงชนบทก็ไม่มีโอกาสได้ยินเสียงปืนจนพูดกันว่า “ข้ามันอยู่ไกลปืนเที่ยง” การจัดชั้นของผู้คนก็มีมากกว่าในชนบท เพราะว่าใกล้ชิดกับขุนนางข้าราชการหรือผู้มีบรรดาศักดิ์ตลอดจนราชสำนัก จนมีคำพูดว่า “ชาววัง” ซึ่งก็ได้แก่ผู้คนหรือสตรีที่ได้มีโอกาสเข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เป็นข้าหลวง เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายใน ซึ่งจะได้รับการฝึกทั้งการเขียนการอ่าน กิริยามารยาท การฝีมือต่าง ๆ เป็นอย่างดี สามารถยกระดับตัวเองให้สูงขึ้นได้ โดยเป็นที่ปรารถนาของชนชั้นสูงจะได้ไว้เป็นแม่ศรีเรือน
กิริยา การแต่งกายของสาวชาววัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น