จำนวนผู้เข้าชม

หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

เซิ้งสวิง

เซิ้งสวิง






ประวัติความเป็นมา

เป็นการละเล่นพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในท้องถิ่นอำเภอยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการละเล่นเพื่อ

ส่งเสริมด้านจิตใจของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งมีอาชีพในการจับสัตว์น้ำ โดยมีสวิงเป็นเครื่องมือหลัก ในปี พ.ศ. 2515

ท่านผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร จึงได้นำท่าเซิ้งศิลปะท้องถิ่นนั้นมาปรับปรุงให้เป็นท่าที่กระฉับกระเฉงยิ่งขึ้น

โดยสอดคล้องกับท่วงทำนองดนตรีที่มีลักษณะสนุกสนานร่าเริง จึงนับว่าเป็นศิลปะพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่งดงาม

แปลกตาออกไปอีกลักษณะหนึ่ง



เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง

1. กลองยาว

2. กลองเต๊ะ

3. แคน

4. ฆ้องโหม่ง

5. กั๊บแก๊บ

6. ฉิ่ง

7. ฉาบ

8. กรับ



การแต่งกาย

ผู้ชาย สวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วย มีผ้าขาวม้าโพกศีรษะและสะเอว มือถือตะข้อง



ผู้หญิง นุ่งผ้าซิ่นพื้นบ้านอีสาน ผ้ามัดหมี่มีเชิงยาวคลุมเข่า สวมเสื้อตามลักษณะของผู้หญิงชาวภูไท คือสวมเสื้อแขนกระบอก

คอปิด ผ่าอกหน้า ประดับเหรียญโลหะสีเงิน ปัจจุบันใช้กระดุมพลาสติกสีขาวแทน ขลิบชายเสื้อ คอปลายแขน และขลิบ

ผ่าอกตลอดแนวด้วยฝ้าสีติดกัน เช่น สีเขียวขลิบแดงหรือสวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า ห่มสไบเฉียงทับ

ตัวเสื้อสวมสร้อยคอโลหะทำด้วยเงิน ใส่กำไลข้อมือและกำไลข้อเท้า (ลูกปัด) ผมเกล้ามวยสูงไว้กลางศีรษะทัดดอกไม้

และ มือถือสวิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น